จำนวนและการดำเนินการ
ห.ร.ม. และ ค.ร.น.
ตัวหารร่วมมากหรือ ห.ร.ม. คือ ตัวหารร่วมที่มีค่ามากที่สุดของจำนวนนับตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไป
ตัวคูณร่วมน้อยหรือ ค.ร.น. คือ จำนวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยที่สุด ซึ่งนำไปหารด้วยจำนวนเต็มบวกอื่นๆ ตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไป แล้วจะได้ผลลัพธ์ลงตัวพอดี
ความสัมพันธ์ระหว่าง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ของจำนวนนับสองจำนวน
จํานวนจริง ( Real number ) ประกอบด้วยจํานวนตรรกยะและจํานวนอตรรกยะ
1. จํานวนตรรกยะ ( Rational number ) ประกอบด้วย จํานวนเต็ม ทศนิยมซ้ํา และเศษส่วน
1. จํานวนเต็ม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1.1 จํานวนเต็มบวก(I+)หรือจํานวนนับ (N)
∴ I+ = N = {1, 2, 3, …}
1.2 จํานวนเต็มศูนย์ มีจํานวนเดียว คือ {0}
1.3 จํานวนเต็มลบ (I-)
∴ I– = {-1, –2, –3, …}
2. เศษส่วน เช่น
3. ทศนิยมซ้ํา เช่น 0.6, 0.12, 0.532 เป็นต้น
2. จํานวนอตรรกยะ( irrational number ) คือ จํานวนที่ไม่ใช่จํานวนตรรกยะ เขียนได้ในรูปทศนิยมไมซ้ํา เช่น
π มีค่าเท่ากับ 3.14159265…
0.1010010001… มีค่าประมาณ 1.101
สมบัติของจำนวนเต็ม
กำหนดให้ a,b และc แทนจำนวนเต็มใดๆ
- สมบัติการสลับที่สำหรับการบวก a + b = b + a
- สบบัติการสลับที่สำหรับการคูณ a × b = b × a
- สมบัติการเปลี่ยนหมู่ (a + b) + c = a + (b + c) (a × b) × c = a × (b × c)
- สมบัติการแจกแจง a × (b + c) = (a × b) + (a × c)
- สมบัติของศูนย์ a + 0 = 0 + a = a เรียกว่า เอกลักษณ์การบวก a × 0 = 0 × a = 0 ถ้า a × b = 0 แล้ว a = 0 หรือ b = 0
- สมบัติของหนึ่ง 1 × a = a × 1 เรียกว่า เอกลักษณ์การคูณ a/1 = a
สมบัติการบวก การลบ การคูณ การหาร
ทฤษฎีบทที่ 1 กฎการตัดออกสําหรับการบวก
เมื่อ a, b, c เป็นจํานวนจริงใดๆ
ถ้า a + b = a + c แล้ว b = c
ทฤษฎีบทที่ 2 กฎการตัดออกสําหรับการคูณ
เมื่อ a, b, c เป็นจํานวนจริงใดๆ
ถ้า ac = bc และ c ≠0 แล้ว a = b
ถ้า ab = ac และ a ≠0 แล้ว b = c
ทฤษฎีบทที่ 3 เมื่อ a เป็นจํานวนจริงใดๆ
a · 0 = 0
0 · a = 0
ทฤษฎีบทที่ 4 เมื่อ a เป็นจํานวนจริงใดๆ
(-1)a = -a
a(-1) = -a
ถ้า ab = 0 แล้ว a = 0 หรือ b = 0
a(-b) = -ab
(-a)b = -ab
(-a)(-b) = ab
บทนิยาม เมื่อ a, b เป็นจํานวนจริงใดๆ เมื่อ b ≠0
a/b = a( b-1 )
การเท่ากันของจำนวนจริง
การเท่ากันของจำนวน เราใช้ “ = ” แทนการเท่ากัน เช่น
1 + 2 = 3 ; 6 x 2 = 12
5 – 3 = 2 ; 24 ÷ 3 = 8
การเท่ากันในระบบจำนวนจริงมีสมบัติพื้นฐาน ดังนี้
1. สมบัติการสะท้อน
ถ้า a เป็นจำนวนจริงใด ๆ แล้ว a = a
เช่น 3 = 3
2. สมบัติการสมมาตร
เมื่อ a และ b เป็นจำนวนจริงใด ๆ ถ้า a = b แล้ว b = a
เช่น ถ้า 3 + 4 = 7 แล้ว 7 = 3 + 4
3. สมบัติการถ่ายทอด
เมื่อ a , b , c เป็นจำนวนจริงใด ๆ ถ้า a = b และ b = c แล้ว a = c
เช่น ถ้า 15 = 5 x 3 และ 5 x 3 = 10 + 5 แล้ว 15 = 10 + 5
4. สมบัติการบวกด้วยจำนวนที่เท่ากัน
เมื่อ a , b , c เป็นจำนวนจริงใด ๆ ถ้า a = b แล้ว a + c = b + c
เช่น ถ้า 9 + 1 = 10 แล้ว ( 9 + 1 ) + 2 = 10 + 2
5. สมบัติการคูณด้วยจำนวนที่เท่ากัน
เมื่อ a , b , c เป็นจำนวนจริงใด ๆ ถ้า a = b แล้ว ac = bc
เช่น ถ้า 18 = 9 x 2 แล้ว 18 x 3 = ( 9 x 2 ) x 3
สมบัติการไม่เท่ากันของจำนวนจริง
สมบัติเกี่ยวกับการไม่เท่ากันของจำนวนจริง มีดังนี้ ( ให้ a , b , c , d ∈ R )
การไม่เท่ากันของจำนวนจริง ไม่มีสมบัติการสะท้อน ไม่มีสมบัติการสมมาตร แต่มีสมบัติอื่นดังนี้
1. สมบัติการถ่ายทอด ถ้า a > b และ b > c แล้ว a > c
2. สมบัติการบวกด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a > b แล้ว a + c > b + c
3. สมบัติการคูณจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a > b และ c > 0 แล้ว ac > bc ถ้า a > b และ c < 0 แล้ว ac < bc
4. สมบัติการตัดออกสำหรับการบวก ถ้า a + c > b + c แล้ว a > b
5. สมบัติการตัดออกสำหรับการคูณ ถ้า ac > bc และ c > 0 แล้ว a > b ถ้า ac > bc และ c < 0 แล้ว a < b
ค่าสัมบูรณ์
ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนจริงใดๆ คือ ค่าของตัวเลขที่ไม่มีเครื่องหมาย (บวก หรือ ลบ) มาเกี่ยวข้อง ดังนั้น ค่าสัมบูรณ์จะเป็นบวกเสมอ “│ │” เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนค่าสัมบูรณ์ ค่าสัมบูรณ์ของ -5 และ +5
|-5| = |+5|= 5
การใช้แนวคิดนี้ในการแก้โจทย์ปัญหาต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1
จงหาค่าของ |-7| และ |7|
│-7 │= 7
│ 7 │= 7
ตัวอย่างที่ 2
จงหาค่าของ |-150| และ |150|
│-150 │= 150
│150 │= 150
ตัวอย่างที่ 3
จงหาค่าของ
│5 -7 │= ?
=│-2│
= 2 เพราะค่าสัมบูรณ์ คือ จำนวนที่มีระยะห่างจากเลขศูนย์เท่ากันบนเส้นจำนวน