ฟังก์ชัน
ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
- ความสัมพันธ์
- โดเมนและเรนจ์
- ฟังก์ชัน
ความสัมพันธ์ที่กำหนดให้ในรูปแบบแจกแจงสมาชิก สามารถทำได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1จงตรวจสอบว่าความสัมพันธ์ต่อไปนี้เป็นฟังก์ชันหรือไม่
f = {(0,1),(2,3),(4,5),(0,2)}
g ={(1,2),(7,8),(5,9),(1,2)}
โดเมนและเรนจ์
ความสัมพันธ์จาก A ไป B ให้ A และ B เป็นเซตใด ๆ แล้ว r เป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B ก็ต่อเมื่อ r เป็นสับเซตของ AB เขียนได้ว่า r = {(a,b) | (a,b) ∈ A×B}
- โดเมนของความสัมพันธ์ r คือ เซตของสมาชิกตัวหน้าในคู่อันดับของความสัมพันธ์ r
เขียนแทนด้วย Dr
- เรนจ์ของความสัมพันธ์ r คือ เซตของสมาชิกตัวหลังในคู่อันดับของความสัมพันธ์ r
เขียนแทนด้วย Rr
- การหาโดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์ สามารถทำได้ดังนี้
3.1 กรณีความสัมพันธ์สามารถเขียนในรูปแจกแจงสมาชิกได้
โดเมน คือ สมาชิกตัวหน้าในคู่อันดับของความสัมพันธ์
เรนจ์ คือ สมาชิกตัวหลังในคู่อันดับของความสัมพันธ์
3.2 กรณีความสัมพันธ์ไม่สามารถเขียนในรูปแจกแจงสมาชิกได้
3.2.1 การหาโดเมน ควรเขียนความสัมพันธ์ให้อยู่ในรูปของ
y = เทอมของ x
แล้วพิจารณาว่า ภายในเซตที่กำหนดให้ x มีค่าอะไรบ้างที่ทำให้หาค่า y ได้
โดยที่ y นั้นต้องอยู่ภายในเซตที่กำหนดให้ ค่า x เหล่านั้นจะเป็นสมาชิก
ในโดเมน
3.2.2 การหาเรนจ์ ควรเขียนความสัมพันธ์ให้อยู่ในรูปของ
x = เทอมของ y
แล้วพิจารณาว่า y มีค่าเป็นอะไรบ้างที่ทำให้หาค่า x ได้ โดยที่ x นั้น
ต้องอยู่ภายในเซตที่กำหนดให้ ค่า y เหล่านั้น จะเป็นสมาชิกในเรนจ์
การเขียนกราฟความสัมพันธ์แบบบอกเงื่อนไข
รูปแบบการเขียนแบบบอกเงื่อนไขจะเป็นเหมือนกับการเขียนเซตแบบบอกเงื่อนไข เช่น A = {x : x ∈ R} และ B = {y : y ∈ } เป็นต้น เรามักจะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถเขียนแจกแจงสมาชิกทั้งหมดได้ กรณีที่ไม่สามารถแจกแจงสมาชิกได้ทั้งหมด เช่น x เป็นจำนวนจริง จะเห็นได้ว่าจำนวนจริงนั้นมีเยอะมาก บอกไม่หมดแน่ๆ จึงต้องเขียนแบบบอกเงื่อนไขนั่นเอง
เรามาดูตัวอย่างการเขียนกราฟกันค่ะ
ให้ A = {x : x ∈ R} และ B = {y : y ∈ R}
กำหนด r ⊂ A × B และ r = {(x, y) ∈ A × B : y = 2x²+1}
ขั้นที่ 1 ให้ลองแทนค่าของจำนวนเต็มบวก x ลงในสมการ y = x² ที่ต้องแทน x เป็นจำนวนเต็มบวก เพราะเงื่อนไขในเซต A นั่นเอง
แทน x = 0, 1, 2, 3, 4
x = 0 ; y = 1
x = 1 ; y = 2(1)²+1 = 3
x = 2 ; y =2 (2)² +1= 9
x = 3 ; y = 2(3)² +1= 19
x = 4 ; y = 2(4)² +1= 33
ขั้นที่ 2 เมื่อเราแทนค่า และได้ค่า y มาแล้ว ให้เราเขียนคู่อันดับที่เราได้จากขั้นที่ 1
จะได้คู่อันดับ ดังนี้ (0, 1), (1, 3), (2, 9), (3,19), (4, 33)
กราฟของความสัมพันธ์ ในรูปแบบกำลังสอง
ให้ x, y เป็นจำนวนจริงใดๆ สมการ y = ax² + bx +c เป็นสมการกำลังสอง ซึ่งเป็นสมการพาราโบลาที่เราเคยเรียนมาตอนม.ต้นนั่นเอง
ให้ = {(x, y) : y = 3x²+1}
หรือ ถ้าให้ = {(x, y) : y = x² + 2x + 9}
นิยาม 3 ให้ R เป็นความสัมพันธ์ บนเซต A จะเรียก R ว่า มีสมบัติสะท้อน(reflexive )
ถ้า (a,a) ฮ R สำหรับทุก ๆ สมาชิก a ฮ A
ตัวอย่างที่ 7 พิจารณาความสัมพันธ์บน {1, 2, 3, 4} ต่อไปนี้
R1 = {(1,1),(1,2),(2,1),(2,2),(3,4),(4,1),(4,4)}
R2 = {(1,1),(1,2),(2,1)}
R3 = {(1,1),(1,2),(1,4),(2,1),(2,2),(3,3),(4,1),(4,4)}
R4 = {(2,1),(3,1),(3,2),(4,1),(4,2),(4,3)}
R5 ={(1,1),(1,2),(1,3),(1,4),(2,2),(2,3),(2,4),(3,3),(3,4),(4,4)}
R6 = {(3,4)}
ความสัมพันธ์ใดมีสมบัติสะท้อน ?
วิธีทำ
ความมสัมพันธ์ R3และ R5 มีสมบัติการสะท้อน เพราะทั้งคู่มีคู่ลำดับ
(a,a) ทุก a ใน {1, 2, 3, 4} คือ (1,1), (1,2), (3,3) และ (4,4)
ส่วนความสัมพันธ์อื่นนั้นไม่มีสมบัติการสะท้อน
ตัวอย่างที่ 8 ความสัมพันธ์ใดจากตัวอย่างที่ 5 มีสมบัติสะท้อน ?
วิธีทำ
ความสัมพันธ์ที่มีสมบัติสะท้อน คือ R1 , R3 และ R4
ความสัมพันธ์อื่นนั้นไม่มีสมบัติการสะท้อน
ตัวอย่างที่ 9 ความสัมพันธ์ภายใต้การหาร บนเซตของจำนวนเต็มบวกมีสมบัติสะท้อน หรือไม่
วิธีทำ
จาก a | a ทุก a ที่เป็นจำนวนเต็มบวก
ดังนั้น ความสัมพันธ์ดังกล่าว มีสมบัติสะท้อนนิยาม 4 ความสัมพันธ์ R บนเซต A เรียกว่า
มีสมบัติสมมาตร ( Symmetric) ถ้า (a,b) ∈R แล้ว (b,a) ∈ R
มีสมบัติปฎิสมมาตร (Antisymmetric) ถ้า (a,b) ∈ R และ (b,a) ∈ R แล้ว a = b
ตัวอย่างที่ 10 ความสัมพันธ์ใดในตัวอย่างที่ 7 มีสมบัติสมมาตร ( Symmetric) และ
ความสัมพันธ์ใดมีสมบัติปฎิสมมาตร (Antisymmetric)?
วิธีทำ ความสัมพันธ์ R2 และ R3 มีสมบัติสมมาตร ( Symmetric)
ความสัมพันธ์ R4 ,R5 และ R6 มีสมบัติปฎิสมมาตร (Antisymmetric)
ตัวอย่างที่ 11 ความสัมพันธ์ใดในตัวอย่างที่ 5 มีสมบัติสมมาตร ( Symmetric) และ
ความสัมพันธ์ใดมีสมบัติปฎิสมมาตร (Antisymmetric)?
วิธีทำ
ความสัมพันธ์ R3 ,R4 และ R6 มีสมบัติสมมาตร ( Symmetric)R3 มีสมบัติสมมาตร ( Symmetric) เพราะ ถ้า a = b หรือ a = -b แล้ว b= a หรือb = – a
R4 มีสมบัติสมมาตร ( Symmetric) เพราะ ถ้า a = b แล้ว b = a
R6 มีสมบัติสมมาตร ( Symmetric) เพราะ ถ้า a + b ฃ 3 แล้ว b + a ฃ 3
ผู้อ่านควรตรวจสอบดูว่าความสัมพันธ์อื่นไม่มีสมบัติสมมาตร
ความสัมพันธ์ R1 ,R2 , R4 และ R5 มีสมบัติปฎิสมมาตร (Antisymmetric)
R1 มีสมบัติปฎิสมมาตร เพราะ ถ้า a ฃ b และ b ฃ a แล้ว a = b
R2 มีสมบัติปฎิสมมาตร เป็นไปไม่ได้ที่ a > b และ b > a จะเป็นจริง
R4 มีสมบัติปฎิสมมาตร เพราะ ทั้ง 2 ค่า (a และ b) มีความสัมพันธ์บน R4 แล้ว a = b
R5 มีสมบัติปฎิสมมาตร เพราะจะเป็นไปไม่ได้ที่ a = b + 1 และ b = a +1
ผู้อ่านควรตรวจสอบว่าความสัมพันธ์อันอื่นไม่มี สมบัติปฎิสมมาตรตัวอย่างที่ 12 ความสัมพันธ์ภายใต้การหาร บนเซตของจำนวนเต็มบวกมีสมบัติสมมาตร และ
ปฎิสมมาตร หรือไม่
วิธีทำ
ความสัมพันธ์นี้ ไม่มีสมบัติสมมาตร เพราะ 1 หาร 2 แต่ 2 ไม่หาร 1
แต่ มีสมบัติปฎิสมมาตร เพราะ สำหรับ a และ b เป็นจำนวนเต็มบวก
ถ้า a | b และ b | a แล้ว a = b
นิยาม 5 ความสัมพันธ์ R บนเซต A จะเรียกว่ามีสมบัติถ่ายทอด
ถ้า (a ,b) ∈ R และ (b ,c) ∈ R แล้ว (a ,c) ∈ R ทุก a, b, c ∈ A
ตัวอย่างที่ 16 จงหาจำนวนความสัมพันธ์ที่มีสมบัติสะท้อน บนเซตที่มีจำนวนสมาชิก n ตัว
วิธีทำ
ถ้า R เป็นความสัมพันธ์ที่มีสมบัติสะท้อนดังนั้น R ต้องมีสมาชิกอย่างน้อย n คู่อันดับ
คือ (a,a) ทุก a ฮ A ดังนั้นยังเหลืออีก n(n-1) คู่อันดับอื่น ๆ ในรูป (a,b) ซึ่ง a น b
อาจจะอยู่หรือไม่อยู่ใน R ก็ได้ ซึ่งจะมี 2n(n-1) เซตย่อยที่ต่างกัน นำมา ผนวกกับ R
ดังนั้น จึงมี 2n(n-1) ความสัมพันธ์ที่มีสมบัติสะท้อน
ผลคูณคาร์ทีเชียน
เป็นการกระทำกันระหว่างเซต 2 เซต โดยผลคูณคาร์ทีเชียนระหว่างเซต A และ B เขียนแทนด้วย A×B คือ เซตของคู่อันดับ (a,b) ทั้งหมด โดยที่ a เป็นสมาชิกของเซต A และ b เป็นสมาชิกของเซต B เขียนอยู่ในรูปแบบ
A×B = {(a,b) | a ∈ A และ b ∈ B}
สมบัติของผลคูณคาร์ทีเชียน
ให้ A, B และ C เป็นเซตใด ๆ และ n(A) คือ จำนวนสมาชิกของเซต A
- A×{} = {}
- {}×A = {}
- A×(B∪C) = (A×B)∪(A×C)
- A×(B∩C) = (A×B)∩(A×C)
- A×(B-C) = (A×B) – (A×C)
- n(A×B) = n(A).n(B)
พิจารณาความสัมพันธ์
r1 = {(1,2),(2,3),(3,4),(4,5)}
r2 = {(x,y) ∈ I+x I+ | y = x }
เซตสมาชิกตัวหน้าของความสัมพันธ์ r 1 คือ {1,2,3,4} เรียกเซตนี้ว่า โดเมนของ r1
เซตสมาชิกตัวหลังของความสัมพันธ์ r 1 คือ {2,3,4,5} เรียกเซตนี้ว่า เรนจ์ของ r1
ส่วน r2 มีโดเมนและเรนจ์เท่ากับจำนวนเต็มบวก
บทนิยาม ให้ r เป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B
โดเมนของ r คือเซตของสมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับใน r เขียนแทนด้วย Dr
เรนจ์ของ r คือเซตของสมาชิกตัวหลังของคู่อันดับใน r เขียนแทนด้วย R r