การคิดเชิงตรรกะ(Logical Thinking)
ความหมายของความคิด
ความคิด (Thinking) เป็นกระบวนกำรทิ่เกิดขึ้นภายในสมอง ซึ่งสำคัญมำกต่อกำรดำรงชีวิตของ มนุษย์ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่ำจะอยู่ในสถำนที่ใด หรืออิริยบถใด
▪ ส่วนแกนกลาง (ก้านสมอง,ทาลามัส,ซีรีเบลลัม) ส่วนทใช้ควบคุมการทำงานของร่างกาย
▪ ส่วนลิมปิก (limbic) และไฮโปทาลามัส (hypothalamus)
สัญชาตญาณพื้นฐาน (ความต้องการอาหาร ต้องการความปลอดภัย ความต้องการ ทางเพศ) และแสดงอารมณ์
▪ ซีรีบรัม (cerebrum) ความจ า(memory) ความคิด(thinking) ความฉลาดไหวพริบ (intelligence)
หลักการและเหตุผล
การคิดอย่างมีตรรกะ (Logical Thinking) มีความสำคัญมากในการสังเกตและวิเคราะห์ความแตกต่างที่ไม่เหมือนกับที่เคยผ่านมา ด้วยการคิดให้เห็นภาพที่ชัดเจน แล้วประเมินผลกระทบต่อผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในในอนาคต สร้างความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล ของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นด้วยการมองที่องค์รวม เพื่อค้นหาวิธีการที่ดีที่สุดในการบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ
การคิดอย่างมีตรรกะ (Logical Thinking) เปรียบเสมือนการรวมความคิดหลายๆอย่างเข้าไว้ร่วมกันในกระบวนการคิดทั้งหมดในการแก้ไขปัญหา & พิชิตเป้าหมาย
การคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking) เป็นการสร้างกรอบความคิด (Mindset) ที่สร้างสรรค์กับเหตุการณ์และสถานการณ์ต่างๆ ด้วยมุมมองที่เป็นเชิงบวก (Positive Thinking) เพื่อเอาชนะศัตรูตัวร้ายที่คอยสร้างกำแพงการคิดของเรา แล้วสร้างแนวความคิดใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
การคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking) ไม่เพียงแต่การสร้างแนวความคิด (Idea) ใหม่ๆ แล้ว ยังเป็นการสร้างมุมมองใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนเดิม ในการมองปัญหาต่างๆ ทำให้เกิดแนวความคิดที่เป็นอิสระจากความคิดเดิมๆ ได้อย่างสมบูรณ์
ปัจจัยพื้นฐานของการคิด
ปัจจัยพื้นฐานของการคิด ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1. คุณลักษณะของผู้คิด
2. สิ่งเร้า
3. สื่อและอุปกรณ์สำหรับช่วยคิด
1. คุณลักษณะของผู้คิด การที่มนุษย์เรามีสามารถ ในการคิดที่แตกต่างกัน ต้องอาศัยปัจจัย ที่เป็นพื้นฐานเริ่มจากตัวผู้คิดเองจะต้อง มีคุณลักษณะ ที่เอื้อต่อการคิด ได้แก่ ความปกติของสมอง ความมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ และอาศัยขอ้อมูลที่มีอยู่ ประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาแล้ว
2. สิ่งเร้า เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้คิดเกิดความสนใจเอาใจใส่ สังเกต พิจารณาไตร่ตรอง เพื่อให้เกิดกระบวนการคิด การคิดจะเกิดขึ้น เมื่อประสาทรับรู้ได้รับ การกระตุ้นจากสิ่งเร้า ซึ่งสมองจะเลือกรับรู้สิ่งที่มากระตุ้นนั้น สิ่งเร้าาที่เกิดขึ้นอาจเปน็ สภาพแวดลอ้อมต่างๆ ที่ได้จาก คน สัตว์ สิ่งของ ความต้องการ และเหตุการณ์
3. สื่อและอุปกรณ์สำหรับช่วยคิด จินตนาการตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการคิดขึ้นมา เช่น รูปทรงของเรขาคณิต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็น การสนับสนุน ทางด้านที่ทำให้เกิดทักษะการคิดเป็นต้น
ในขณะที่คิด เครื่องมือที่ใช้ในการคิดของมนุษย์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1. ภาพพจน์ในการคิด
2. ภาษา
3. สัญลักษณ์
ภาพพจน์ เป็นสิ่งที่เกิดแทนวัตถุต่างๆ หรือแทน ประสบการณ์ของผู้คิดซึ่งอาจจะเกิดขึ้นทางตาหรือทางหู
ภาษา เป็นสิ่งสำคัญของกระบวนการคิดการแก้ปญัญหา เพราะภาษาเป็นสื่อกลางความคิดของมนุษย์
สัญลักษณ์ สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องหมายหรือตัวแทนวัตถุเหตุการณ์ และการกระทำต่างๆ เช่น สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
กริยาท่าทาง การพยักหน้า การสั่นหน้า
ประเภทของการคิด
การคิดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การคิดอย่างมีจุดมุ่งหมาย
2. การคิดอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย
1. การคิดอย่างมีจุดมุ่งหมาย เป็นการคิดที่หาเหตุผล สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาอยู่ในรูปของกระบวนการ เป็นการคิดอย่างมีระบบ มีเหตุผล เป็นวิทยาศาสตร์
2. การคิดอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย คือการคิดเลื่อนลอย คิดเพ้อฝัน ไม่มีจุดหมาย ไม่มีขอบเขต เป็นการคิดแบบคล้อยตามสิ่งเร้า
ในโลกของสังคมมนุษย์ความคิดและการกระทำของบุคคล สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทด้วยกัน คือ
ประเภทที่ 1 คิดและทำ
ประเภทที่ 2 คิดแต่ไม่ทำ
ประเภทที่ 3 ทำแต่ไม่คิด
ประเภทที่ 4 ไม่คิด ไม่ทำ
ประเภทที่ 1 คิดและทำ บุคคลประเภทนี้จะเป็นนักคิด และลงมือปฏิบัติ คือ เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ปัญหาเป็น มีหลักการ มีอุดมการณ์ และมีความเป็นนักวิชาการอยู่ในตนเอง ผู้ที่เป็นนักปฏิบัติคือ ผู้ที่มีความพรอ้อมในการทำางานหรือลงมือกระทำ
ตามความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ และรับผิดชอบทุกขั้นตอนของการทำงาน
ประเภทที่ 2 คิดแต่ไม่ทำ บุคคลประเภทนี้ จะเป็นนักคิดแต่ไม่ลงมือปฏิบัติ เหตุผลของการไม่ปฏิบัติของแต่ละบุคคล แตกต่างกันออกไป บางคนไม่กระทำเพราะไม่มีบทบาทหน้าที่ บางคนไม่กระทำเพราะไม่เห็นด้วยกับแนวคิด บางคนไม่กระทำ
เพราะไม่มีกำาลังใจ ทอ้อแท้ และไม่เห็นความสำาคัญของงาน บางคนไม่ทำเพราะไม่มีโอกาสที่จะกระทำ และบางคนไม่ทำเพราะเป็นค่านิยมส่วนบุคคลที่ชอบความสะดวกสบาย
ประเภทที่ 3 ทำแต่ไม่คิด บุคคลประเภทนี้ เป็นนักปฏิบัติที่กระทำ แต่ไม่มีโอกาสใน การมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเสนอแนะ กำหนดนโยบาย และแนวทางการปฏิบัติงาน หรืออาจจะเป็นบุคคลที่ชอบทำงานตามกฎระเบียบข้อบังคับ หรืองานประจำ จนเกิดความเคยชิน และไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์
ประเภทที่ 4 ไม่คิด ไม่ทำ บุคคลประเภทนี้จะไม่เป็นทั้ง นักคิดและนักปฏิบัติ สาเหตุอาจเกิดจากค่านิยมส่วนบุคคล หรืออาจเกิดจากบุคคลประเภทที่ 2 คือ คิดแต่ไม่ทำมาก่อน เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ เข้า ความคิดเริ่มถดถอยหมดกำลังใจที่จะคิดตอ่ ไปจนกลายสภาพมาเป็น
บุคคลที่ไม่คิด ไม่ทำ
เปรียบเทียบการคิดทางบวกกับการคิดทางลบ
การคิดทางบวก | การคิดทางลบ |
+ มองโลกในแง่ดี + เอือเฟือเผือแผ่ + การให้อภัย + การคิดสร้างสรรค์ + ความศรัทธาในศาสนา + ฯลฯ |
– นินทาว่าร้าย – อิจฉาริษยา – คิดระแวง – คิดเผด็จการ – เห็นแก่ตัว – ฯลฯ |
การคิดที่ทำให้เกิดผลดีต่อสังคม สิ่งที่ควรจะเริ่มเป็นอันดับแรกก็คือ การคิดดี ซึ่งเป็น การคิดที่เป็นประโยชน์สามารถ อยู่ในสังคมได้อย่างมี ความสุข
1. เริ่มจากคิดดีแก่ตนเองก่อน
2. มองคนรอบข้างในแงด่ดี
3. ไม่เป็นคนขี้สงสัยระแวง
4. อย่ามองโลกในแง่ร้าย
5. เอาใจเขามาใส่ใจเรา
6. คิดก่อนพูด
7. อย่าใช้อารมณ์คิด
เริ่มจากคิดดีแต่ตนเองก่อน
ให้เเวลาแก่ตนเอง เช่น คิดดูแลตนเอง รักษา สุขภาพให้ด้ดี ร่างกายทีแข็งแรงสมบูรณ์ จิตใจที่ แจ่มใสเบิกบาน ย่อมจะทำาให้อารมณ์ดี และชีวี เป็นนสุข ดั่งสุภาษิตที่ว่า “ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ”
แนวคิดเชิงคำนวณ (computational Thinking) ไม่ใช่การคิดเหมือนหุ่นยนต์หรือการเขียนโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ แต่เป็นทักษะที่มุ่งเน้นการคิดเชิงตรรกะ คือ สามารถอธิบายการคิดเชิงคำนวณอย่างเป็นระบบ หรือเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน โดยการเข้าใจปัญหาและวิธีการในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาที่ทั้งมนุษย์และคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจร่วมกันได้
แนวคิดเชิงคำนวณ
1.แนงคิดการแยกย่อย (Decomposition)แนวคิดการแยกย่อย เช่น แตกปัญหากระบวนการออกเป็นส่วนย่อยเพื่อให้จัดการปัญหาได้ง่ายขึ้น
2.แนวคิดการจดจำรูปแบบ (Pattern Recognition)แนวคิดการจดจำรูปแบบ เพื่อดูความเหมือน ความแตกต่างของรูปแบบการเปลี่ยนแปลง ทำให้ทราบแนวโน้มเพื่อทำยานไปข้างหน้าได้
3.แนวคิดเชิงนามธรรม (Abstraction)แนวคิดเชิงนามธรรม เป็นทักษะสำคัญที่มุ่งเน้นความสำคัญของปัญหา โดยไม่สนใจรายละเอียดที่ไม่จำเป็น และต่อยอดให้เกิดแบบจำลองหรือสูตร
4.แนวคิดการออกแบบขั้นตอน (Algorithm Design)แนวคิดการออกแบบขั้นตอนในการแก้ปัญหา ทำให้ทราบว่าจะต้องทำอะไรก่อนอะไรหลัง