นิโคลา เทสลา อัจฉริยะสติเฟื่อง ที่โลกลืม และตกอับ
นิโคลา เทสลา เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวโครเอเชีย สัญชาติอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1856 (พ.ศ. 2399) และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1943 (พ.ศ. 2486) ในขณะที่มีอายุ 86 ปี โดยมีฉายาว่า “นักประดิษฐ์ที่โลกลืม” เพราะเป็นนักประดิษฐ์คนสำคัญแต่กลับมีน้อยคนที่รู้จัก หรือถูกรู้จักในฐานะนักวิทยาศาสตร์เพี้ยนจากการที่เขามีปัญหาในการเข้าสังคม มากกว่าจะสนใจผลงานของเขาที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้คนอื่น ๆ ซึ่งเขาเป็นผู้ประดิษฐ์ขดลวดเทสลา หรือ Tesla coil ซึ่งเป็นหม้อแปลงที่สามารถสร้างแรงดันไฟฟ้าสูง แถมยังเป็นผู้ค้นพบวิธีการเปลี่ยนสนามแม่เหล็กเป็นสนามไฟฟ้า จึงเป็นที่มาของหน่วยวัดสนามแม่เหล็กเทสลา อีกทั้งยังเป็นผู้ค้นพบวิธีการสื่อสารแบบไร้สายอีกด้วย
ประวัติ
นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla) เกิดเมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2399 – ถึงแก่กรรม 7 มกราคม พ.ศ. 2486 (86 ปี) เป็นนักประดิษฐ์ นักฟิสิกส์ วิศวกรเครื่องกล และวิศวกรไฟฟ้าที่เปี่ยมด้วยอัจฉริยภาพ
เทสลาถือเป็นวิศวกรที่สร้างนวัตกรรมล้ำยุคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สิทธิบัตรของเทสลาและผลงานเชิงทฤษฎีของเขากลายเป็นพื้นฐานของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ได้แก่ ระบบจ่ายกำลังหลายเฟส และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งเขามีส่วนผลักดันเป็นอย่างมากในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง
เขาไม่เพียงเป็นอัจฉริยะเจ้าของสิทธิบัตรกว่า ๓๐๐ รายการ หากยังเป็นบิดาแห่งวงการวิศวกรรมศาสตร์ไฟฟ้า มีชื่อเสียงโด่งดังทัดเทียมเอดิสันในครึ่งแรกของชีวิต เป็นผู้ประดิษฐ์และค้นพบสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย อาทิ มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เวสติงเฮาส์เอาชนะเอดิสันในสงครามคลื่นได้) ขดลวดเทสลา (Tesla coil) เครื่องวัดความเร็วติดรถยนต์ การกระจายเสียงผ่านวิทยุ และวิธีการเปลี่ยนสนามแม่เหล็กเป็นสนามไฟฟ้า อันเป็นที่มาของหน่วยวัดสนามแม่เหล็กเทสลาซึ่งวิศวกรรุ่นหลังตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา
การค้นพบเหล่านี้ล้วนเป็น “ฟันเฟือง” สำคัญที่ทำให้สังคมได้รับประโยชน์อย่างยั่งยืนจากงานของเอดิสัน มาร์โคนี เวสติงเฮาส์ และนักประดิษฐ์อีกจำนวนมาก จนกล่าวได้ว่าวิถีชีวิตสมัยใหม่ที่เราคุ้นเคยไม่อาจสัมฤทธิผลได้ถ้าปราศจากงานของเทสลา
นิโคลา เทสลา ในห้องทดลองของเขาที่เมืองโคโลราโด สปริงส์ วันที่ 31 ธันวาคม 1899
ถ่ายคู่กับเครื่องส่งกระแสไฟฟ้ายักษ์ ซึ่งมีความถี่สูงมากจนสามารถส่งกระแสไฟนับล้านวัตต์
มอเตอร์กระแสไฟฟ้าสลับของเทสลา
ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ ๑๐ ชิ้นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
อัจฉริยะจอมเพี้ยน หรือผู้มีพลังจิต ?
นอกจากเขาจะ เกิดมาพร้อมสมองอันชาญฉลาดแล้ว เขายังมีพลังจิตอีกด้วย โดยตั้งแต่เด็กเขามักจะเห็นแสงไฟแวบเข้าตาตามด้วยภาพหลอน และหลายครั้งที่เพียงแค่เขาได้ยินชื่อของสิ่งของ เขาก็จะเกิดภาพรายละเอียดของสิ่งของชิ้นนั้นๆ ขึ้นในใจ และนั่นคือสิ่งที่สร้างความรำคาญใจให้เขาเป็นอย่างมาก
ครั้งหนึ่งเขาเคยล้มป่วยเป็นโรคประหลาดที่หาสาเหตุไม่ได้ โรคนั้นทำให้ประสาทรับรู้ต่างๆ ของเขาไวต่อสิ่งเร้ามากกว่าปกติ อีกทั้งการอยู่ในสถานที่ที่มีแสงจ้า นอกจากจะทำให้เขาปวดตาแล้ว มันยังแผดเผาผิวหนังของเขาจนเป็นแผลผุผองอีกด้วย
ด้วยอาการประหลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเขา ทำให้เขากลัวการสัมผัสทางร่างกายกับบุคคลอื่น เขาจึงปฏิเสธความสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม และการแตะเนื้อต้องตัวหรือการจับมือกับใคร ได้แต่โกหกว่ามือของเขาได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในห้องทดลอง
พฤติกรรมเพี้ยน ๆ อีกเรื่องของนิโคลา ก็คือ เขามักจะทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันซ้ำ ๆ หลายครั้ง จนกว่าจำนวนครั้งที่ทำจะหารด้วย 3 ได้ลงตัว ถ้าไม่ลงตัวเขาจะทำใหม่จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ เช่น การนับก้าวเดิน จำนวนครั้งที่นิโคลาชอบเป็นพิเศษคือ 27 เพราะว่ามันเท่ากับ 3 ยกกำลัง 3 ( 3x3x3 ) เทสลาพูดได้หลายภาษาและอ่านหนังสืออย่างกว้างขวาง
นอกจากนั้นเขายังกำหนดกะเกณฑ์ปริมาณอาหารที่เขากินในแต่ละมื้อ ด้วยการนำเอาไม้บรรทัดมาวัดดูว่า
ภาชนะที่ใช้บรรจุอาหารของเขานั้นมีปริมาตร ความจุเท่าใด
ในบั้นปลายของชีวิต นิโคลาเสียชีวิตอย่างเงียบๆ ที่โรงแรมในนครนิวยอร์ค ตลอดชีวิตเขาถูกคนในวงการวิทยาศาสตร์ดูถูกในความคิดที่ดูเพี้ยน ๆ ขณะที่ประชาชนทั่วไปแทบจะไม่มีใครรู้จักเขาเลย
ชีวิตของเขาจึงแตกต่างจาก โทมัส เอดิสัน มาก ในขณะที่ เอดิสัน กลายเป็นบุคคลสำคัญของโลกที่ได้รับการเชิดชูว่าเป็นสุดยอดนักประดิษฐ์ แต่เขากลับเป็นเพียงนักวิทยาศาสตร์สติเพี้ยนในสายตาของคนทั่วไป เขาจึงได้ชื่อว่าเป็น “นักประดิษฐ์ที่โลกลืม” ซ้ำร้ายกว่านั้นชื่อและสิ่งประดิษฐ์ของเขาถูกนำมาแต่งเป็นผู้ร้ายในการ์ตูนยอดฮิต ซูเปอร์แมน ( Superman ) มีอยู่ตอนหนึ่ง ซูเปอร์แมนต้องต่อสู้กับนักวิทยาศาสตร์สติเฟื่องชื่อ ” เทสลา ” ที่พยายามทำลายล้างโลกด้วยอาวุธลำแสงมหาประลัย ( Death Ray )
แต่ทว่า เทสล่ามีความคิดที่น่ายกย่องนั้นก็คือ ทำอย่างไร ผู้คนถึงจะใช้ไฟฟ้าได้โดยไม่ต้องพึ่งสายไฟ ซึ่งเป็นที่มาของ เทคโนโลยี wireless ที่เราใช้กันในปัจจุบัน
คู่ปรับตลอดกาลของโทมัส อัลวา เอดิสัน
เมื่อนึกถึงนักประดิษฐ์ ผู้คนมักจะนึกถึง โทมัส เอดิสัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ นิโคลา เทสลา นั้นดูเหมือนว่าทั้งสองจะมีแนวคิดที่ต่างกันคนละขั้วเลยทีเดียว เทสลานั้นเป็นเจ้าของแนวความคิดเรื่องไฟฟ้ากระแสสลับ ที่สามารถให้พลังไฟฟ้าในขอบเขตที่กว้างกว่าไฟฟ้ากระแสตรง ที่เป็นแนวคิดของเอดิสัน
โดยเอดิสันได้เห็นแย้งกับความคิดของนิโคลา โดยการสาธิตการคิดค้นเก้าอี้ไฟฟ้าที่ใช้ในการประหารนักโทษขึ้นมา เพียงเพื่อแสดงให้เห็นอันตรายจากการใช้ไฟฟ้ากระแสสลับเท่านั้น ซึ่งว่ากันว่าอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ เอดิสันนั้นไม่เข้าใจหลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับตามที่เทสลาอธิบาย นี่จึงเป็นการประกาศว่าเอดิสันไม่ยอมรับสิ่งประดิษฐ์ของเทสลานั่นเอง
เทสล่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้บุกเบิกวิศวกรรมไฟฟ้ายุคใหม่ ซึ่งทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจคณิตศาสตร์อย่างถ่องเเท้ทำให้เขาสามารถทำนายได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เขาศึกษาคณิตศาสตร์เเละผลงานต่างๆของนักวิทยาศาสตร์รุ่นก่อนๆที่เคยศึกษามาก่อนทำให้สามารถเข้าใจว่าไฟฟ้ามีการทำงานอย่างไร เทสล่าไม่ได้ทำงานเเบบเดาสุ่ม (trial and error) เเบบที่เอดิสันชอบทำ เขาจะใช้ความคิดเเก้ปัญหาให้ได้ก่อนที่จะสร้างสิ่งประดิษฐ์ใดๆ
ดังนั้นเมื่อเทสล่าพบเอดิสันครั้งเเรกเขาจึงรู้สึกไม่ค่อยประทับใจในความไม่มีระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ของชายผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้ เทสล่ากล่าวว่า ‘ถ้าให้เอดิสันหาเข็มเเท่งหนึ่งที่ตกอยู่ในกองฟาง เขาจะเริ่มหาในทันที อย่างบากบั่น ขยัน พากเพียร เหมือนผึ้ง โดยเขาจะหาโดยละเอียดจากฟางที่ละเส้นๆ จนพบเข็ม ‘