เนื้อหาที่สอน เลข ม.4 เทอม 1 เรื่องเซต
เซต
(1) เซต
(2) เอกภพสัมพัทธ์
(3) สับเซตและเพาเวอร์เซต
(4) ยูเนียน อินเตอร์เซกชันและคอมพลีเมนต์ของเซต
ตอนที่ 1 : พื้นฐานของเซต
ประเภทของเซต เอกภพสัมพัทธ์ และ คุณสมบัติพื้นฐาน
การหาจำนวนสมาชิกในเซต n(A)
ให้A เป็นเซตจำกัด เราจะใช้ n(A) แทนจำนวนสมาชิกของเซต A
เช่น A = {a,b,c,d} จะได้ n(A) = 4
B = {5,6,7,8,9,10} จะได้ n(B) = 6
จำนวนสมาชิกของเซตจำกัดสองเซต
กรณีที่ 1 ถ้า A และ B เป็นเซตที่ไม่มีสมาชิกร่วมกัน
จะได้ว่า n(A∪B) = n(A)+n(B)
เช่น ให้ A = {1,2,3,4,5}, B = {6,7,8,9,10} จะได้ n(A) = 5, n(B) = 5
พิจารณา A∪B = {1,2,3,4,5,6,7,8,9,10} จะได้ n(A∪B) = 10
พิจารณา n(A)+n(B) = 5+5 = 10
สับเซต ⊂
เพาเวอร์เซต P(A)
พาวเวอร์เซต
หมายถึง เซตของสับเซต จะเขียนแทนเพาเวอร์เซตของเซต A ด้วย P(A)
วิธีหาเพาเวอร์เซต จะต้องหาสับเซตทั้งหมดให้ได้ก่อน จากนั้นจึงใส่เซตครอบลงไป
ตัวอย่าง จงหาสับเซตทั้งหมดของ A = {2, 4, 6, 8}
ขั้นแรก : หาสับเซตก่อน ได้แก่
Ø , {2} , {4} , {6} , {8} , {2, 4} , {2, 6} , {2, 8} , {4, 6} , {4, 8} , {6, 8} , {2, 4, 6} , {2, 6, 8} , {2, 4, 8} , {4, 6, 8} , {2, 4, 6, 8}
ดังนั้น P(A) = {Ø, {2},{4},{6},{8},{2, 4},{2, 6},{2, 8},{4, 6},{4, 8},{6, 8}, {2, 4, 6}, {2, 6, 8},{2, 4, 8},{4, 6, 8},{2, 4, 6, 8}
กำหนดให้ A เป็นเซตจำกัด ถ้าเซต A มีจำนวนสมาชิก ตัวแล้วจำนวนสมาชิกของเพาเวอร์เซต A จะเท่ากับ 2nตัว
ตัวอย่าง
1. ถ้า P(P(A)) มีสมาชิก 256 ตัว แล้วเซต A จะมีสมาชิกกี่ตัว
วิธีทำ
P(P(A)) = 256 = 2^8
P(A) = 8= 2^3
n(A) = 3
2. ถ้า n(P(A)) – n(P(B)) = 63 และn(P(A∩B)) + n(P(A∪B)) = n(P(C∩B)) + n(P(C∪B)) แล้ว จงหาค่าของ n(A) + n(B) + n(C)
ตะลุยโจทย์รวม สมาชิก สับเซต เพาเวอร์เซต
ตอนที่ 2 : ตัวดำเนินการเซต และ แผนภาพเวนน์
แผนภาพเวนน์ ออยเลอร์
ตัวดำเนินการของเซต∩,∪,−,′
สมบัติของการดำเนินการทางเซต
โจทย์ปัญหานับจำนวนสมาชิกโดยใช้แผนภาพเวนน์
สับเซต และ เพาเวอร์เซต
สับเซต (subset) หรือ “เซตย่อย” คือ เซตที่เล็กกว่าหรือเท่ากันกับเซตที่กำหนด โดยต้องใช้สมาชิกร่วมกับเซตที่กำหนดเท่านั้น
สัญลักษณ์ที่ใช้แทนประโยค “ A เป็นสับเซตของ B” คือ A Ì B และจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ สมาชิกทุกตัวของเซต A นั้นเป็นสมาชิกของเซต B ด้วย หรือเมื่อ A เป็นเซตว่างก็ได้
เช่น {1,2}Ì{1,2,3}เนื่องจากทั้ง 1 และ 2 เป็นสมาชิกของ {1,2,3}
รูปแบบ เซต (เล็ก) Ì เซต(ใหญ่)
สมบัติของซับเซต
1. A ⊂ A (เซตทุกเซตเป็นสับเซตของตัวมันเอง)
2. A ⊂ U (เซตทุกเซตเป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์)
3. Ø ⊂ A (เซตว่างเป็นสับเซตของทุกๆ เซต)
4. ถ้า A ⊂ ø แล้ว A = ø
5. ถ้า A ⊂ B และ B ⊂ C แล้ว A ⊂ C (สมบัติการถ่ายทอด)
6. A = B ก็ต่อเมื่อ A ⊂ B และ B ⊂ A
7. ถ้า A มีจำนวนสมาชิก n ตัว สับเซตของเซตจะมีทั้งสิ้น 2n สับเซต
การหาสับเซตทั้งหมดของA
จำนวนสับเซตทั้งหมดหาได้จาก 2n เมื่อ n = จำนวนสมาชิกในเซต
ตัวอย่าง จงหาสับเซตทั้งหมดของ A เมื่อ A = {2, 4, 6, 8}
A จะมีสับเซตทั้งหมด 24 =16 สับเซต เมื่อแจกแจงสับเซตทั้งหมดจะได้ดังนี้
Ø
{2} {4} {6} {8}
{2, 4} {2, 6} {2, 8} {4, 6} {4, 8} {6, 8}
{2, 4, 6} {2, 6, 8} {2, 4, 8} {4, 6, 8}
{2, 4, 6, 8}
ยูเนียน อินเตอร์เซกชันและคอมพลีเมนต์ของเซต
ยูเนียน (Union)
ยูเนียน (Union) มีนิยามว่า เซต A ยูเนียนกับเซต B คือเซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A หรือ เซต B หรือทั้ง A และ B สามารถเขียนแทนได้ด้วย สัญลักษณ์ A ∪ B
ตัวอย่างเช่น
A ={1,2,3}
B= {3,4,5}
∴ A ∪ B = {1,2,3,4,5}
เราสามารถเขียนการยูเนี่ยนลงในแผนภาพได้ดังนี้
อินเตอร์เซกชัน (Intersection)
อินเตอร์เซกชัน (Intersection) มีนิยามคือ เซต A อินเตอร์เซกชันเซต B คือ เซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A และเซต B สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A ∩ B
ตัวอย่างเช่น
A ={1,2,3}
B = {3,4,5}
∴ A ∩ B = {3}
เราสามารถเขียนการอินเตอร์เซกชันลงในแผนภาพได้ดังนี้
คอมพลีเมนต์ (Complements)
คอมพลีเมนต์ (Complements) มีนิยามคือ ถ้าเซต A ใดๆ ในเอกภพสัมพัทธ์ U แล้วคอมพลีเมนต์ของเซต A คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของ U แต่ไม่เป็นสมาชิกของ A สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A’
ตัวอย่างเช่น
U = {1,2,3,4,5}
A ={1,2,3}
∴ A’ = {4,5}
เราสามารถเขียนการคอมพลีเมนต์ของเซตลงในแผนภาพได้ดังนี้