ความน่าจะเป็น ม.5 (Probability)
ความหมายของความน่าจะเป็น
ในชีวิตประจำวันของทุกคนต้องได้ยินคำว่า ความน่าจะเป็น หรือ โอกาส เช่น โอกาสที่วันนี้แดดจะออกมีมาก ความน่าจะเป็นที่โยนเหรียญแล้วจะได้หัว มีเท่ากับได้ก้อย
การทดลองสุ่ม (Random Experiment)
การทดลองสุ่มคือการทดลองที่เราสามารถจะคาดคะเนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ “โดยรวม” ซึ่งผลลัพธ์โดยรวมนี้คือความน่าจะเป็น แต่ว่าไม่สามารถคาดคะเนผลลัพธ์ได้เฉพาะเจาะจงเป็นรายครั้ง ว่า แต่ละครั้งที่เกิดการทดลอง จะเกิดผลลัพธ์อะไร
แซมเปิลสเปซ (Sample Space)
คือ เซตที่มีสมาชิกเป็นผลลัพธ์ ที่เป็นไปได้ทั้งหมดของการทดลองสุ่ม เป็นขอบเขตที่เราสนใจในการทดลองแต่ละครั้ง นิยมใช้สัญลักษณ์ S แทนแซมเปิลสเปซ มีความหมายว่า ในการทดลองหรือการกระทำใดๆก็ตาม ผลลัพธ์มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ จะต้องเป็นสมาชิกของแซมเปิลสเปซ
การทดลองสุ่ม (random experiment) คือ การทดลองหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งทราบว่าผลลัพธ์อาจจะเป็นอะไรได้บ้าง แต่ไม่สามารถบอกได้อย่างถูกต้องแน่นอนว่า ในแต่ละครั้งที่ทดลองผลที่เกิดขึ้นจะเป็นอะไรในบรรดาผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้เหล่านี้
ตัวอย่างที่ 1 จงพิจารณาว่าการกระทำต่อไปนี้ เป็นการทดลองสุ่มหรือไม่ เพราะเหตุใด
1) การโยนเหรียญ 1 เหรียญ หนึ่งครั้ง
ตอบ เป็นการทดลองสุ่ม เพราะว่าในการโยนเหรียญ 1 เหรียญ หนึ่งครั้ง อาจจะออกหัวหรือก้อย แต่ไม่สามารถระบุได้แน่นอนว่าจะออกหัวหรือก้อย
2) การทอดลูกเต๋า 1 ลูก หนึ่งครั้งลงในถ้วย
ตอบ เป็นการทดลองสุ่ม เพราะว่าในการทอดลูกเต๋า 1 ลูก หนึ่งครั้งลงในถ้วย ลูกเต๋าจะหงายหน้าที่มีแต้ม 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 แต่ไม่สามารถระบุได้แน่นอนว่าลูกเต๋าจะหงายหน้าที่มีแต้มใด
3) การเดินทางไปโรงเรียน
ตอบ ไม่เป็นการทดลองสุ่ม เพราะว่าในการเดินทางไปโรงเรียน เราไม่สามารถตอบได้เลยว่าผลลัพธ์เป็นอะไรบ้าง
4) การแข่งขันฟุตบอลในแต่ละนัด
ตอบ เป็นการทดลองสุ่ม เพราะว่าในการแข่งขันฟุตบอลในแต่ละนัด มีผล แพ้ ชนะ หรือ เสมอ แต่ไม่สามารถระบุได้แน่นอนว่าผลการแข่งขันจะเป็นแบบใด
5) การถอนเงินจากธนาคาร
ตอบ ไม่เป็นการทดลองสุ่ม เพราะว่าในการถอนเงินจากธนาคาร เราไม่สามารถตอบได้เลยว่าผลลัพธ์เป็นอะไรบ้าง
จากตัวอย่างข้างต้น สรุปได้ว่า
เราไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จากแต่ละการกระทำจะเป็นอะไร แต่สามารถบอกได้ว่ามีผลลัพธ์อะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นได้ เรียกการกระทำเหล่านี้ว่า การทดลองสุ่ม
เหตุการณ์ (Event)
คือผลลัพธ์ของการทดลองสุ่ม เป็นสับเซตของแซมเปิลสเปซ เป็นสิ่งที่เราสนใจว่าจะเกิดอะไร
ข้อสังเกตุ: เนื่องจากเหตุการณ์เป็นสับเซตของแซมเปิลสเปซ ดังนั้น เซตว่าง ก็ถือเป็น เหตุการณ์ๆ หนึ่งด้วยครับ
การทดลองสุ่ม แซมเปิลสเปช และเหตุการณ์
การทดลองสุ่ม (random experiment) หมายถึง การทดลองใดๆ ที่ยังไม่สามารถทำนาย
หรือรู้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น แต่สามารถบอกได้ว่า ผลลัพธ์ทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง
แซมเปิลสเปซ (sample space) หมายถึง เซตของผลลัพธ์ทั้งหมดเท่าที่จะเกิดขึ้นได้จากการทดลองสุ่ม
เหตุการณ์ (event) หมายถึง สับเซตใดๆ ของแซมเปิลสเปซ
เหตุการณ์ที่ประกอบด้วยผลลัพธ์เพียงผลลัพธ์เดียวเราเรียกว่า เหตุการณ์อย่างง่าย ( simple event )
คุณสมบัติของความน่าจะเป็น
ให้ S แทนเซมเปิลสเปซ และ A แทนเหตุการณ์ จะได้ว่า 1. 0 P(A) 1 3. P(A) = 1 ก็ต่อเมื่อ A = S 2. P(A) = 0 ก็ต่อเมื่อ A = f 4. ถ้า A B แล้ว P(A) P(S)
เหตุการณ์อิสระ ( independent events )
นิยาม เหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ จะได้ชื่อว่าเป็นเหตุการณ์อิสระก็ต่อเมื่อ การเกิดหรือไม่เกิดเหตุการณ์หนึ่ง จะไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อความน่าจะเป็นของอีกเหตุการณ์หนึ่ง
เหตุการณ์ไม่อิสระ ( dependent events )
นิยาม เหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ จะได้ชื่อว่าเป็นเหตุการณ์ไม่อิสระ ก็ต่อเมื่อ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์หนึ่งจะไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับว่าเหตุการณ์อีกเหตุการณ์หนึ่งจะเกิดขึ้นหรือไม่
สูตร ถ้า A และ B จะเป็นเหตุการณ์ไม่อิสระแล้ว | P( A ว B ) = P(A) . P(B/A) | ||
P( A ว B ) = P(A) . P(A/B) | |||
หมายเหตุ | สัญลักษณ์ P(B/A) | หมายถึง ความน่าจะเป็นของ B หลังจากเกิดเหตุการณ์ A | |
สัญลักษณ์ P(A/B) | หมายถึง ความน่าจะเป็นของ A หลังจากเกิดเหตุการณ์ B |
นิยามของความน่าจะเป็น
ถ้าการทดลองอย่างสุ่มหนึ่ง มีสมาชิกของ แซมเปิลสเปซ เป็นจำนวนเท่ากับ N
และจำนวนสมาชิกของเหตุการณ์ E ที่เราสนใจ มีค่าเท่ากับ n
โดยที่แต่ละสมาชิกของแซมเปิลสเปซนั้น มีโอกาสเกิดขึ้นได้เท่าๆกัน
ความน่าจะเป็นของ การเกิดเหตุการณ์ E เขียนแทนด้วย P(E) จะมีค่าเท่ากับ n/N หรือ P(E)
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ คือ จำนวนที่แสดงให้ทราบว่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งมีโอกาสเกิดขึ้น มากหรือน้อยเพียงใด ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ใด ๆ เท่ากับอัตราส่วนของจำนวนเหตุการณ์ที่เราสนใจ (จะให้เกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้) ต่อจำนวนผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งมีสูตรในการคิดคำนวณดังนี้
โดยที่ n(E) แทน จำนวนผลลัพธ์ทั้งหมดของเหตุการณ์ที่เราสนใจ
n(S) แทน จำนวนผลลัพธ์ทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นได้
P(E) แทน ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
ดังนั้น P(E) = n(E) / N(S)
ข้อควรจำ
- 0 ≤ P(E) ≤ 1
- ถ้า P(E) = 0 เหตุการณ์นั้นๆ จะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย
- ถ้า P(E) = 1 เหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นแน่นอน
สูตรความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
เมื่อผลทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทดลองสุ่มแต่ละตัวมีโอกาสเกิดขึ้นได้เท่าๆ กัน
กำหนดให้
E แทน เหตุการณ์ที่เราสนใจ
P(E) แทน ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
n แทน จำนวนสมาชิกของเหตุการณ์
S แทน ผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้
N แทน จำนวนสมาชิกของผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ตัวอย่างที่ 1
ตัวอย่างที่ 1 จากการโยนลูกเต๋า 2 ลูก 1 ครั้ง จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้
1) เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 11
2) เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็นจำนวนคู่
3) เหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้ม 1 อย่างน้อยหนึ่งลูก
วิธีทำ หา S จากการทอดลูกเต๋า 2 ลูก 1 ครั้ง ได้ดังนี้
S = { (1,1), (1,2), (1,3), (1,4), (1,5), (1,6), (2, 1), (2, 2), (2, 3), (2, 4), (2, 5), (2, 6),
(3, 1), (3, 2), (3, 3), (3, 4), (3, 5), (3, 6), (4, 1), (4, 2), (4, 3), (4, 4), (4, 5), (4, 6),
(5, 1), (5, 2), (5, 3), (5, 4), (5, 5), (5, 6), (6, 1), (6, 2), (6, 3), (6, 4), (6, 5), (6, 6)}
n(S) = 36
1) เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 11
อธิบายเพิ่มเติม : ผลรวมของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 11 หมายความว่า เมื่อนำแต้มของลูกเต๋า 2 ลูกมาบวกกัน แล้วได้ผลลัพธ์เท่ากับ 11 และมากกว่า 11
ให้ E1 แทน เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มมากกว่าหรือเท่ากับ 11
E1 = { (5, 6) , (6, 5 ) , ( 6, 6) }
n (E1) = 3
P (E1) = n(E) / N(S) = 3/36 = 1/12
ปริภูมิตัวอย่าง
ปริภูมิตัวอย่าง หรือแซมเปิลสเปซ (S) คือ เซตของผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งหมดจากการทดลองสุ่ม
ตัวอย่างที่ 3 จงเขียนแซมเปิลสเปซ และหาจำนวนของผลลัพธ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้ จากการทดลองสุ่มต่อไปนี้
1) การโยนเหรียญเที่ยงตรง 1 เหรียญ 2 ครั้ง
ตอบ แซมเปิลสเปซที่เป็นไปได้ทั้งหมด ได้แก่ HH, HT, TH, TT
จำนวนของแซมเปิลสเปซหรือผลลัพธ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้ เท่ากับ 4
2) สุ่มหยิบลูกปิงปอง 2 ลูกพร้อมกัน จากกล่องใบหนึ่ง ที่มีลูกปิงปอง สีม่วง 1 ลูก, สีส้ม 1 ลูก และสีเขียว 1 ลูก
ตอบ แซมเปิลสเปซที่เป็นไปได้ทั้งหมด ได้แก่ ม่วงส้ม, ม่วงเขียว และส้มเขียว
จำนวนของแซมเปิลสเปซหรือผลลัพธ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้ เท่ากับ 3
ตัวอย่างที่ 4 มีแป้นวงกลมอยู่หนึ่งแป้นได้จาการแบ่งวงกลม ออกเป็น 10 ส่วน มีหมายเลขกำกับ 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9 ตามลำดับ หมุนแป้น 1 ครั้ง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
-
- ผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เป็นอย่างไร
ตอบ มี 10 แบบ คือ 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9
-
- ผลลัพธ์ที่เข็มชี้ในช่องจำนวนคู่ เป็นอย่างไร
ตอบ มี 5 แบบ คือ 0,2,4,6,8
-
- ผลลัพธ์ที่เข็มชี้ในช่องจำนวนคี่ เป็นอย่างไร
ตอบ มี 5 แบบ คือ 1,3,5,7,9
-
- ผลลัพธ์ที่เข็มชี้ในช่องมากกว่า 7 เป็นอย่างไร
ตอบ มี 2 แบบ คือ 8,9
-
- ผลลัพธ์ที่เข็มชี้ในช่องเป็นจำนวนเฉพาะ เป็นอย่างไร
ตอบ มี 4 แบบ คือ 2,3,5,7