ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) คือ
เครื่องจักร(machine) ที่มีฟังก์ชันทีมีความสามารถในการทำความเข้าใจ เรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ อาทิเช่น การรับรู้ การเรียนรู้ การให้เหตุผล และการแก้ปัญหาต่างๆ เครื่องจักรที่มีความสามารถเหล่านี้ก็ถือว่าเป็น ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) นั่นเอง
เพราะฉะนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า AI ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเครื่องจักรมีความสามารถที่จะเรียนรู้นั่นเอง ซึ่ง AI ก็ถูกแบ่งออกเป็นหลายระดับตามความสามารถหรือความฉลาด โดยจะวัดจากความสามารถในการ ให้เหตุผล การพูด และทัศนคติของ AI ตัวนั้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์อย่างเราๆ
AI ถูกจำแนกเป็น 3 ระดับตามความสามารถหรือความฉลาดดังนี้
1 ) ปัญญาประดิษฐ์เชิงแคบ (Narrow AI ) หรือ ปัญญาประดิษฐ์แบบอ่อน (Weak AI) : คือ AI ที่มีความสามารถเฉพาะทางได้ดีกว่ามนุษย์(เป็นที่มาของคำว่า Narrow(แคบ) ก็คือ AI ที่เก่งในเรื่องเเคบๆหรือเรื่องเฉพาะทางนั่นเอง) อาทิ เช่น AI ที่ช่วยในการผ่าตัด(AI-assisted robotic surgery) ที่อาจจะเชี่ยวชาญเรื่องการผ่าตัดกว่าคุณหมอยุคปัจจุบัน แต่แน่นอนว่า AIตัวนี้ไม่สามารถที่จะทำอาหาร ร้องเพลง หรือทำสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากการผ่าตัดได้นั่นเอง ซึ่งผลงานวิจัยด้าน AI ณ ปัจจุบัน ยังอยู่ที่ระดับนี้
2 ) ปัญญาประดิษฐ์ทั่วไป (General AI ) : คือ AI ที่มีความสามารถระดับเดียวกับมนุษย์ สามารถทำทุกๆอย่างที่มนุษย์ทำได้และได้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับมนุษย์
3) ปัญญาประดิษฐ์แบบเข้ม (Strong AI ) : คือ AI ที่มีความสามารถเหนือมนุษย์ในหลายๆด้าน
จะเห็นได้ว่าวิทยาการของมนุษย์ปัจจุบันอยู่ที่จุดเริ่มต้นของ AI เพียงเท่านั้น
ปัจจุบัน ได้มีการนำ AI มาใช้ในอุตสาหกรรมจำนวนมาก โดย “แมคคินซีย์แอนด์คอมปะนี (McKinsey & Company) ” (บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารชั้นนำของโลก ) ได้กล่าวไว้ว่า ” AI มีศักยภาพในการทำเงินได้ถึง 600 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในการขายปลีก สร้างรายได้มากขึ้น 50 เปอร์เซนต์ในการธนาคารเมื่อเทียบกับการใช้เทคนิควิเคราะห์เเบบอื่นๆ และสร้างรายได้มากกว่า 89 เปอร์เซนต์ ในการขนส่งและคมนาคม ”
ยิ่งไปกว่านั้น หากฝ่ายการตลาดขององค์กรต่างๆ หันมาใช่ AI จะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับการทำงานด้านการตลาดอย่างมาก เพราะว่า AI สามารถที่จะทำงานที่ซ้ำซากได้อย่างอัตโนมัติ ส่งผลให้ตัวแทนจำหน่าย สามารถที่จะโฟกัสไปที่การสนทนากับลูกค้า อาทิเช่น บริษัทนามว่า ” Gong ” มีบริการที่เรียกว่า “conversation intelligence” , โดยทุกๆครั้งที่ตัวแทนจำหน่ายต่อสายคุยโทรศัพท์กับลูกค้า AIจะทำหน้าที่ในการบันทึกเสียงเเละวิเคราะห์ลูกค้าในขณะเดียวกัน มันสามารถแนะนำได้ว่าลูกค้าต้องการอะไร ควรจะคุยเเบบไหน ถือเป็นการซื้อใจลูกค้าอย่างหนึ่ง
โดยสรุป , ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยที่สามารถรับมือกับปัญหาที่ซับซ้อนเกินกว่าที่มนุษย์จะสามารถรับมือได้ เเละ AI ยังเป็นเครื่องมือที่สามารถทำงานที่ซ้ำซากน่าเบื่อแทนมนุษย์ได้อย่างดีเยี่ยม ช่วยให้เราสามารถมีเวลาไปโฟกัสงานที่สำคัญและสามารถสร้างมูลค่าได้มากกว่า นอกจากนี้การประยุกต์ใช้ AI ในระดับอุตสาหกรรม ยังช่วยลดต้นทุนเเละเพิ่มรายได้มหาศาล
ปัจจุบัน ได้มีการนำ AI มาประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง อาทิเช่น
การนำเอา AI ไปประยุกต์ใช้ในงานที่ซ้ำซ้อน ยกตัวอย่างเช่น AI ในกระบวนการผลิตต่างๆ ซึ่งเป็นงานต้องใช้ความปราณีต เเละ ทำเหมือนเดิมตลอดเวลา(จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต ) การนำ AI มาประยุกต์ใช้จะช่วยเพิ่มผลผลิต เเละ ยังลดตวามผิดพลาดในการผลิต เพราะว่า AI ไม่จำเป็นต้องพักและไม่มีความรู้สึกเหนื่อยล้าอีกทั้งยังไม่มีความรู้สึกเบื่อหน่ายต่องานที่ทำ
การนำเอา AI มาพัฒนาผลิตภัณฑ์(product)ที่มีอยู่แล้ว ก่อนจะถึงยุคของ machine learning , product มักจะอยู่ในรูปแบบของโค้ดเเต่เพียงอย่างเดียว อยากได้อะไร มีฟังก์ชันเเบบไหน ก็ต้องลงมือทำขึ้นมาเองทั้งสิ้น ( hard-code rule ) . ลองนึกถึง facebook สมัยก่อน ที่เวลาเราอัพโหลดรูปภาพ เราต้องเสียเวลามานั่งแท็กเพื่อนทีละคนๆ แต่ปัจจุบัน facebook มี AI ที่ช่วยในการแท็กรูปได้อย่างอัตโนมัติ
ปัจจุบัน AI ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในเกือบทุกอุตสาหกรรม ตั้งแต่ระดับการตลาด(marketing) ไปถึงระดับห่วงโซ่อุปทาน(supply chain ) , การเงิน (finance ) , การกระบวนการทำอาหาร (food-processing sector ) จากผลสำรวจของบริษัท McKinsey พบว่า การให้บริการให้การเงิน (financial services ) และการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย ( high tech communication ) เป็นด้านที่มีการใช้ AI เป็นระดับแนวหน้า
การนำมาประยุกต์ใช้ของ Bigdata และ AI ในอุตสาหกรรม
หลังจากที่เราเข้าใจหลักการคร่าวๆ ของ Bigdata และ AI ว่ามันคืออะไรแล้ว ? เราลองไปดูกันครับว่าในปัจจุบันมีการนำระบบเหล่านี้มาประยุกต์ใช้อะไรแล้วบ้าง ? (ซึ่งจริงๆก็วงการนี้ไปกันไกลมากๆเลยครับ) ยกตัวอย่างจากในชีวิตประจำวัน เช่น โปรแกรมแต่งภาพ เปลี่ยนภาพคนเป็นการ์ตูนที่คล้ายกันมากๆ ที่เราเจอใน TikTok , หรือ Recommend Model ที่คอยเลือกเพลง หรือ หนัง ที่คิดว่าเราจะชอบได้อย่างตรงใจใน Spotifiy หรือ Netflix,
ส่วนในวงการอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น การสร้าง Predictive Model ที่สามารถทำนายความเสียหายของเครื่องจักรในอนาคตได้อย่างแม่นยำ (กว่าการใช้ Standard และ ISO-10XXX ต่างๆ) , การทำนายราคาสินค้าและบอกจุดคุ้มทุนที่ดีที่สุด ต้นทุน-ราคาขาย , สินค้าคงคลัง , กำลังการผลิต