การแก้สมองล้าจากการอ่านหนังสือ
ภาวะสมองล้าคืออะไร
ภาวะสมองล้า (Brain Fog Syndrome) เป็นภาวะที่สมองทำงานหนักมากเกินไปเป็นเวลานานจนส่งผลต่อสมองในส่วนของสารเคมีที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบไฟฟ้าระหว่างเซลล์ระบบประสาททำงานไม่เต็มประสิทธิภาพเหมือนกับการมีหมอกมาบดบังการทำงานของสมองเป็นที่มาของชื่อ “Brain Fog Syndrome” ถึงแม้อาการจะไม่อันตรายแต่หากปล่อยให้เกิดขึ้นบ่อยครั้งจะทำให้เสี่ยงโรคอื่น ๆ ตามมา และสามารถส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้
สาเหตุของภาวะสมองล้า
ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยทั้งจากการทำงานในแต่ละวัน และภาวะร่างกาย ได้แก่
- มีสภาวะความเครียดมากเกินไปส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดเสี่ยงภาวะสมองล้า
- พักผ่อนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และขาดการออกกำลังกาย
- รับคลื่นแม่เหล็กจากการเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือใช้งานคอมพิวเตอร์มากเกินไป
- เกิดจากการทำงานของฮอร์โมนที่ไม่สมดุล เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นต้น
- โรคเรื้อรังบางชนิดจะเพิ่มความเสี่ยงภาวะสมองล้าได้เช่นกัน
- เกิดจากสารพิษในร่างกาย เช่น สารโลหะหนัก การปนเปื้อนในอาหาร หรือมลพิษ เป็นต้น
การแก้อาการของภาวะสมองล้า
- พยายามไม่รับข่าวสารที่ส่งผลให้เกิดความเครียด เช่น พักการเล่นโซเชียลในบางจังหวะ หรือเมื่อเครียดจากงานมาแล้วหากเล่นโซเชียลแล้วยังเจอข่าวสารที่ทำให้ไม่สบายตลอดทั้งวันควรงดการเล่นโซเชียลแล้วทำกิจกรรมอื่นที่ตนเองชื่นชอบเพื่อผ่อนคลายตนเอง
- ดูแลตนเองให้มากขึ้น นอนหลับพักผ่อนวันละ 7 ชั่วโมงขึ้นไป ทานอาหารที่มีประโยชน์เน้นผักผลไม้เพื่อรับสารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินต่าง ๆ รวมไปถึงการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดูแลสุขอนามัย สิ่งพื้นฐานเหล่านี้สามารถช่วยรักษาและต่อต้านภาวะสมองล้าได้เป็นอย่างดี
- ผ่อนคลายตนเองให้มากขึ้น พยายามพักผ่อนร่างกายระหว่างทำงานพักสายตาหรือลุกเดินเปลี่ยนท่านั่งทุก 1-2
- พยายามไม่รับข่าวสารที่ส่งผลให้เกิดความเครียด
มองล้าส่งผลอย่างไร
1. อุณภูมิของสมองสูงขึ้น
เมื่อสมองความร้อนกว่าปกติ เซลล์ประสาทสมองรวมถึงวงจรประสาทจะทำงานได้ไม่เต็มที่ เราจึงรู้สึกสดชื่นเมื่อได้ล้างหน้า หรืออาบน้ำสระผม เพราะได้ลดอุณภูมิของสมองลง
2. สารสื่อประสาทบกพร่อง
สารสื่อประสาทสำคัญทั้ง5 คือโดพามีน (สารสำเร็จ) ชิโรโทนิน(สารสงบ) นอร์อะดรีนาลิน (สารขาลุย) กาบา (สารยับยั้ง) และเอนดอร์ฟิน (สารสำราญ) จะหมดไปเมื่อสมองดึงมาใช้ตลอดเวลา โดยไม่ได้หยุดพักดังนั้นหากสารสื่อประสาทหมดลง สมองจึงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
3. ระบบประสาทสัมผัสผิดปกติ
เมื่อสมองล้าประสาทสัมผัสทั้งหมดของเรามักเกิดความผิดปกติ เช่นสายตาพร่ามัว หูอื้อ เบื่ออาหาร ผิวหนังไวต่อสิ่งเร้า ฯลฯ ความเจ็บป่วยทางกายแบบเรื้อรังก็เป็นสาเหตุสำคัญของอาการเหนื่อยของสมองเช่นกัน
4. ไฮโพทาลามัส (ศูนย์กลางสัญชาตญาณ) ได้รับความเสียหาย
สมองส่วนนี้คือหัวใจหลักของสมองล้า เมื่อกลไกของส่วนนี้เสียสมดุลจึงก่อให้เกิดปัญหามากมาย เช่นโรคหวัดที่มาในช่วงที่ร่างกายอ่อเพลีย