ความแตกต่าง หลักสูตรนานาชาติ VS หลักสูตรไทย
ดังนั้น การเลือกเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรนานาชาติ หรือมีหลักสูตรภาคอินเตอร์ จึงได้รับความนิยามเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้สถาบันการศึกษาของไทยก็ได้มีการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบนานาชาติ หรือวิทยาลัยนานาชาติเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เพื่อรองรับความต้องการของผู้เรียนและตลาดแรงงานโลก.
คำถามที่น้องๆ ถามมาบ่อยมากๆ คือ ระหว่างเรียนภาคภาษาไทย (ภาคปกติ) กับ หลักสูตรนานาชาติ เรียนแบบไหนดีกว่ากัน และต่างกันยังไง มาดูความแตกต่างกันค่ะ
หลักสูตรการเรียน แน่นอนว่าความต่างคือเรื่องของภาษา 99-100% ของหลักสูตรนานาชาติใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน โดยจะมีทั้งครูไทยและครูชาวต่างชาติค่ะ สำหรับหนังสือ เอกสารการเรียนต่างๆ ก็จะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ในข้อนี้ ถือว่าเป็นจุดต่างที่ใหญ่ที่สุด ที่คนอยากเรียนนานาชาติต้องเข้าใจและเตรียมฝึกภาษามาให้พร้อม แม้ว่าจะมีการปูพื้นฐานก่อน แต่หลายคนก็ยังพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดค่ะ
บรรยากาศการเรียน นอกจากเรื่องของภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอนแล้ว หลักสูตรนานาชาติบางแห่งก็กำหนดให้นักศึกษาต้องพูดภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนด้วย แต่ข้อนี้ไม่ได้กำหนดทุกสถาบันนะคะ บางที่ออกจากห้องเรียนก็สามารถคุยภาษาไทยกับเพื่อนได้ปกติ และบรรยากาศอีกอย่างหนึ่งคือ สามารถพบเจอนิสิตนักศึกษาต่างชาติมาเรียนกับเราด้วย ถือว่าได้ฝึกภาษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไปในตัว
ค่าเทอม ขึ้นชื่อว่าหลักสูตรนานาชาติแล้ว ค่าเทอมก็จะแพงกว่าหลักสูตรไทยหลายเท่าตัว แต่จะค่าเทอมเท่าไหร่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับประเภทของสาขาวิชาด้วยค่ะ แต่ทั้งนี้หากน้องๆ หาข้อมูลเพิ่มเติม จะพบว่าหลักสูตรนานาชาติหลายที่ ก็มีสอบชิงทุนออกมาเรื่อยๆ นะคะ
การฝึกงาน มีโอกาสได้ฝึกงานหรือไปแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ เพราะบางหลักสูตรได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย องค์กรหรือบริษัทต่างๆ ในต่างประเทศด้วยนั่นเอง ซึ่งจริงๆ แล้วข้อนี้หลักสูตรไทยบางแห่งก็อาจทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศหรือองค์กรจากต่างประเทศด้วยเช่นกัน แต่มีน้อยมากๆ ค่ะ
นี่คือมุมมองความแตกต่างของหลักสูตรนานาชาติเมื่อเทียบกับหลักสูตรไทยค่ะ หลักๆ แล้วก็จะเป็นเรื่องของการใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน ซึ่งน้องๆ ที่มักเข้ามาเรียนในหลักสูตรนี้ ส่วนมากเพราะต้องการหาประสบการณ์ ฝึกการใช้ภาษาอังกฤษ สร้าง Connection ในการทำงาน บางคนมองถึงการเรียนต่อต่างประเทศในอนาคตจึงเริ่มต้นด้วยการเรียนหลักสูตรนานาชาตินั่นเองค่ะ
หลักสูตรนานาชาติมีที่ไหนบ้าง
สำหรับหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วิทยาลัยนานาชาติ และ หลักสูตรนานาชาติ ที่เปิดสอนภายใต้คณะค่ะ
วิทยาลัยนานาชาติ ในมหาวิทยาลัยรัฐ
1.หลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯ
EBA เศรษฐศาสตร์
BSAC เคมีประยุกต์
BBTech Biotechnology
INDA การออกแบบสถาปัตยกรรม
CommDe การออกแบบนิเทศศิลป์
COMMARTS การจัดการการสื่อสาร
BAScii นวัตกรรมบูรณาการ
BALAC ภาษาและวัฒนธรรม
PGS การเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา
JIPP วิทยาศาสตร์จิตวิทยา
BBA พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
- BBA การบัญชี
- BBA การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
ISE (International school of Engineering)
- AERO วิศวกรรมอากาศยาน
- ICE วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร
- RAIE วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
- ADME วิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์
- NANO วิศวกรรมนาโน
2.หลักสูตรอินเตอร์ ธรรมศาสตร์
BBA พาณิชยศาสตร์และการบัญชี
BEC ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
BAS หลักสูตรอังกฤษและอเมริกันศึกษา
BE เศรษฐศาสตร์
BIR การเมืองและการระหว่างประเทศ
BJM วารสารศาสตร์
BSI นวัตกรรมการบริการ
DBTM การจัดการออกแบบ ธุรกิจ และเทคโนโลยี
ISC วิทยาศาสตร์อุตสาหการและการจัดการ
SIIT สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
TEP/TEPE วิศวกรรมศาสตร์
IAC วิเทศคดีศึกษา(อาเซียน-จีน)
SPD สังคมสงเคราะห์
LLB นิติศาสตร์
GSSE โลกคดีศึกษาและการประกอบการสังคม
UDDI การออกแบบพัฒนาชุมชนเมืองบัณฑิต
CDT เทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์
PBIC วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์
IDD นวัตกรรมการออกแบบดิจิทัล
3.วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล MUIC
B.B.A. บริหารธุรกิจ
B.A.Sc. เทคโนโลยีสร้างสรรค์
B.F.A. ออกแบบ
B.Eng. วิศวกรรม
B.A. มนุษยศาสตร์และภาษา
B.A. สังคมศาสตร์
B.Com.Arts. สื่อและการสื่อสาร
B.Sc. วิทยาศาสตร์
B.M. ผู้ประกอบการธุรกิจการ
4.หลักสูตรอินเตอร์ เกษตรศาสตร์
B.S. (Tropical Agriculture) เกษตรเขตร้อน
B.B.A. การตลาด
B.A.(Communicative Thai Language for Foreigners) ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ
B.A. (Integrated Tourism Management) การจัดการการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ
B.A. (Entrepreneurial Economics) เศรษฐศาสตร์การประกอบการ
B.S. (Integrated Chemistry) เคมีบูรณาการ
B.S. (Bioscience and Technology) วิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยี
B.Eng. (Mechanical Engineering) วิศวกรรมเครื่องกล
B.Eng. (Electrical-Mechanical Manufacturing Engineering) วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต
B.Eng. (Software and Knowledge Engineering) วิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้
5.วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
B.A. (Language for Careers) ภาษาเพื่ออาชีพ
B.A. (Language for Communication) ภาษาเพื่อการสื่อสาร
B.Eng. (Concert Engineering and Multimedia)วิศวกรรมคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย
B.Eng. (Petroleum Engineering) วิศวกรรมปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ
B.Eng. (Computer Security and Forensics Computing Engineering) วิศวกรรมด้านความปลอดภัยและการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์
B.Econ. เศรษฐศาสตร์
B.A. (Sustainable Hospitality and Tourism Management)การจัดการภาคบริการและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
B.A. (Language and Intercultural Communication)ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
6.วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร SUIC
B.B.A. in Hotel Management การจัดการโรงแรม
B.F.A. การออกแบบสื่อสารดิจิทัล
B.B.A. in Luxury Brand Management จัดการตราสินค้าหรูหรา
7.หลักสูตรอินเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL)
SIIE วิศวกรรมศาสตร์
- Biomedical Engineering
- Chemical Engineering
- Civil Engineering
- Electrical Engineering
- Engineering Management and Entrepreneurship
- Energy Engineering
- Financial Engineering
- Industrial Engineering and Logistics Management
- Mechanical Engineering
- Computer Innovation Engineering
- Robotics & AI Engineering
- Software Engineering
B.B.A. บริหารธุรกิจ
B.Sc. (Logistics Management) การจัดการโลจิสติกส์
MD (Doctor of Medicine) แพทยศาสตร์บัณฑิตนานาชาติ
B.Sc. (Architecture) สถาปัตยกรรม
IAAI วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ
Culinary Science and Foodservice Management วิทยาศาสตร์การประกอบอาหาร
8. หลักสูตรอินเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT)
B.Arch. (Architecture) สถาปัตยกรรมB
Arch. (Interior Architecture) สถาปัตยกรรมภายใน
B.F.A. (Industrial Design) ออกแบบอุตสาหกรรม
B.F.A. (Communication Design) ออกแบบนิเทศศิลป์
B.Eng. (Chemical Engineering) วิศวกรรมเคมี
B.Eng. (Civil Engineering) วิศวกรรมโยธา
B.Eng. (Computer Engineering)วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
B.Eng. (Automation Engineering) วิศวกรรมอัตโนมัติ
B.Eng. (Electrical Communication and Electronic Engineering) วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์
B.Eng. (Environmental Engineering) วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
B.Sc. (Computer Science) วิทยาการคอมพิวเตอร์
9.หลักสูตรอินเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
TFL (Thai as a Foreign Language) ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ
SS (Social Science) สังคมศาสตร์
ES (Environmental Science) วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
IDEA (Integrated Design in Emerging Architecture) สถาปัตยกรรม
SE (Software Engineering) วิศวกรรมซอฟแวร์
DIN (Digital Innovation) นวัตกรรมดิจิทัล
ME (Mechanical Engineering) วิศวกรรมเครื่องกล
ISNE (Information Systems and Network Engineering) วิศวกรรมระบบสารสนเทศและเครือข่าย
NSC (Nursing Science) พยาบาลศาสตร์
ECON (Economics) เศรษฐศาสตร์
ขอบคุณข้อมูล https://theplannereducation.com/