ระบบสมการสองตัวแปร คือ สมการที่มีตัวแปรสองตัว เลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นหนึ่งและไม่มีการคูณกันของตัวแปร
โดย คำตอบของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรที่มี x และ y เป็นตัวแปร คือ ค่า x และ y ที่ทำให้สมการเป็นจริง โดย จากสมการ y = mx + b
กราฟสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
สมการเชิงเส้น คือสมการที่แต่ละพจน์มีเพียงค่าคงตัว หรือเป็นผลคูณระหว่างค่าคงตัวกับตัวแปรยกกำลังหนึ่ง ซึ่งจะมีดีกรีของพหุนามเท่ากับ 0 หรือ 1 สมการเหล่านี้เรียกว่า “เชิงเส้น” เนื่องจากสามารถวาดกราฟของฟังก์ชันบนระบบพิกัดคาร์ทีเซียนได้เป็นเส้นตรง รูปแบบทั่วไปของสมการเชิงเส้นในตัวแปร x และ y คือ
y = ax+b
โดยที่ a คือค่าคงตัวที่แสดงความชันหรือเกรเดียนต์ของเส้นตรง และพจน์ b แสดงจุดที่เส้นตรงนี้ตัดแกน y สำหรับสมการที่มีพจน์ x2, y1/3, xy ฯลฯ ที่มีดีกรีมากกว่าหนึ่งไม่เรียกว่าเป็นสมการเชิงเส้น
รูปแบบทั่วไป
สมการเชิงเส้นที่ซับซ้อน อย่างเช่นตัวอย่างข้างบน สามารถเขียนใหม่โดยใช้กฎเกณฑ์ของพีชคณิตมูลฐานให้อยู่ในรูปแบบที่ง่ายขึ้น ในสิ่งที่จะอธิบายต่อไปนี้ อักษรตัวใหญ่ใช้แทนค่าคงตัว (ที่ไม่ระบุจำนวน) ในขณะที่ x และ y คือตัวแปร
Ax+By+C=0
เมื่อ A กับ B ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน สมการในรูปแบบนี้มักเขียนให้ A ≥ 0 เพื่อความสะดวกในการคำนวณ กราฟของสมการจะเป็นเส้นตรง และทุกๆ เส้นตรงสามารถนำเสนอให้อยู่ในรูปแบบข้างต้นนี้ได้ เมื่อ A ไม่เท่ากับ 0 ระยะตัดแกน x จะอยู่ที่ระยะ −C/A และเมื่อ B ไม่เท่ากับ 0 ระยะตัดแกน y จะอยู่ที่ระยะ −C/B ส่วนความชันของเส้นตรงนี้มีค่าเท่ากับ −A/B
รูปแบบมาตรฐาน
Ax+By=C
เมื่อ A และ B ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน และทั้ง A, B, C จะต้องเป็นจำนวนเต็มที่มีตัวหารร่วมมากเท่ากับ 1 และมักเขียนให้ A ≥ 0 เพื่อความสะดวกเช่นกัน รูปแบบมาตรฐานนี้สามารถแปลงให้เป็นรูปแบบทั่วไปได้ไม่ยากนัก
ข้อสังเกต
- สมการเชิงเส้นสองตัวแปร เป็นสมการที่มีตัวแปรสองตัวเลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็น1 และไม่มีการคูณกันของตัวแปร
- คำตอบของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ที่มีx และ y เป็นตัวแปรได้แก่ค่าของ x และ y ที่ทำให้สมการเป็นจริง นิยมเขียนในรูปคู่อันดับ ( x , y ) เช่น (4,8) จะได้ว่า x = 4 , y = 8
**สมการในรูป y = ax b เรียกว่า รูปมาตรฐานของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดย a เรียกว่าความชันของเส้นตรง ซึ่งค่าของ a และ b จะทำให้ทราบลักษณะกราฟดังนี้คือ
- ค่าของa บอกให้ทราบว่ากราฟทำมุมอย่างไรกับแกน x ดังนี้
a > 0 กราฟจะทำมุมแหลมกับแกน x
a < 0 กราฟจะทำมุมป้านกับแกน x
a = 0 กราฟจะขนานกับแกน x - ค่าของb จะบอกให้ทราบว่ากราฟตัดแกน y ที่จุดใด โดยกราฟจะตัดแกน y ที่ ( 0 , b)
- ถ้าสมการใด ๆ ที่มีค่าa เท่ากัน จะได้กราฟที่ขนานกัน
- ถ้าสมการใด ๆ ที่มีค่าa คูณกันได้ –1 จะได้กราฟ 2 เส้นตั้งฉากกัน
- เนื่องจากกราฟของสมการy = ax b เป็นเส้นตรง ดังนั้นในการเขียนกราฟของสมการดังกล่าวจึงสามารถทำได้โดยการหาจุดเพียง 2 จุด ที่แทน (x, y) แล้วทำให้สมการนั้นเป็นจริง
กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
โดย จากสมการ y = mx + b เมื่อ m เป็นความชันของเส้นตรง และ b เป็นระยะที่กราฟตัดแกน y เมื่อ x = 0
เช่น y = 2x -3
ความชันของเส้นตรงคือ 2
และกราฟ ตัดแกน y ที่จุด (0,3)
ดังนั้น ความชันของเส้นตรง คือ –A
คำตอบของระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร คือ คู่อันดับ (x,y) ที่ทำให้สมการทั้งสองเป็นจริง
วอย่าง
จงแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
x – 2y = 9 (1)
4x – 3y = 6 (2)
วิธีทำ
จากสมการ (1) หาค่า x ในรูปของ y จะได้
x = 2y + 9 (3)
นำค่า x จาก (3) ไปแทน x ใน (2) จะได้
4(2y + 9) – 3y = 6 (4)
แก้สมการ (4) จะได้
8y + 36 – 3y = 6
y = -6
นำค่า y ไปแทนใน (3) จะได้
x = 2(-6) + 9
x = -3
ดังนั้น y = -6, x = -3 จะได้คู่อันดับ (-3, -6)
การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรโดยการกำจัดตัวแปร
การแก้สมการเชิงเส้นโดยการกำจัดตัวแปรนั้น เป็นวิธีการที่ทำให้สัมประสิทธิ์ของตัวแปรที่ต้องการกำจัดเป็นจำนวนเดียวกัน หรือเป็นจำนวนตรงข้าม แล้วอาศัยสมบัติของการลบ หรือการบวกตามลำดับ จะทำให้ตัวแปรนั้นหมดไป จะได้สมการใหม่ที่เหลือตัวแปรเดียว แล้วแก้สมการหาค่าตัวแปรตัวนั้น
การแก้ระบบสมการเชิงเส้นด้วยวิธีการดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยการดำเนินเบื้องต้น เพื่อสร้างระบบสมการเชิงเส้นชุดใหม่ ซึ่งเป็นระบบสมการเชิงเส้นที่มีคำตอบเหมือนกับระบบสมการเชิงเส้นเดิมในทางคณิตศาสตร์ เราเรียกระบบสมการเชิงเส้นเดิมกับระบบสมการเชิงเส้นใหม่ที่ได้จากการใช้การดำเนินการเบื้องต้นนี้ว่า เป็นระบบสมการที่สมมูลกัน
การดำเนินการเบื้องต้น ที่กล่าวถึง ประกอบด้วย
– การสลับกันระหว่างสมการสองสมการ
– การคูณสมการใดสมการหนึ่งด้วยค่าคงที่ที่ไม่เท่ากับศูนย์(คูณทั้งสองข้างของสมการ)
– การบวกหรือการลบระหว่างสมการสองสมการ
จงแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
x – 2y = 9 (1)
4x – 3y = 6 (2)
นำ 4 ไปคูณในสมการ (1) เพื่อให้สัมประสิทธ์ที่นำหน้า x มีค่าเท่ากันทั้งสองสมการ จะได้
4(x – 2y) = 4(9)
4x – 8y = 36 (3)
นำสมการ (2) มาลบกับสมการ (3) จะได้
4x – 3y = 6
-(4x – 8y = 36)
จะได้
5y = -30
y = -6
นำ Y ไปแทนในสมการไหนก็ได้ ในที่นี้จะแทนสมการ (1) จะได้
x – 2(-6) = 9
x + 12 = 9
x = -3
ดังนั้น y = -6, x = -3 จะได้คู่อันดับ (-3, -6)