เซตเบื้อต้น
ตัวอย่างที่ 1 ก าหนดให้ A เป็นเซตของสระในภาษาอังกฤษนั่นคือ A = {a, e, i, o, u} จะได้ว่า
a ∈ A อ่านว่า a เป็นสมาชิกของเซต A
o ∈ A อ่านว่า o เป็นสมาชิกของเซต A
u ∈ A อ่านว่า u เป็นสมาชิกของเซต A
m ∉ A อ่านว่า m ไม่เป็นสมาชิกของเซต A
y ∉ A อ่านว่า y ไม่เป็นสมาชิกของเซต A
และ n(A) = 5 อ่านว่า จ านวนสมาชิกของเซต A เท่ากับ 5 ตัว
สับเซตคืออะไร
การที่เราจะบอกว่า เซต A เป็นสับเซต(subset)ของเซต B ได้นั้น สมาชิก “ทุกตัวของ A” จะต้องเป็นสมาชิกของ B ด้วย เขียนแทนด้วย A ⊂ B … ตัวอย่างเช่น A = {1,3,5,7} , B = {1,2,3,4,5,6,7,8,9}
เซตว่างเป็นสับเซตของทุกเซต
สับเซต (subset) หรือ “เซตย่อย” คือ เซตที่เล็กกว่าหรือเท่ากันกับเซตที่กำหนด โดยต้องใช้สมาชิกร่วมกับเซตที่กำหนดเท่านั้น
สัญลักษณ์ที่ใช้แทนประโยค “ A เป็นสับเซตของ B” คือ A B และจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ สมาชิกทุกตัวของเซต A นั้นเป็นสมาชิกของเซต B ด้วย หรือเมื่อ A เป็นเซตว่างก็ได้
เช่น {1,2}{1,2,3}เนื่องจากทั้ง 1 และ 2 เป็นสมาชิกของ {1,2,3}
รูปแบบ เซต (เล็ก) ⊂ เซต(ใหญ่)
สมบัติของซับเซต
1. A ⊂ A (เซตทุกเซตเป็นสับเซตของตัวมันเอง)
2. A ⊂ U (เซตทุกเซตเป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์)
3. Ø ⊂ A (เซตว่างเป็นสับเซตของทุกๆ เซต)
4. ถ้า A ⊂ ø แล้ว A = ø
5. ถ้า A ⊂ B และ B ⊂ C แล้ว A ⊂ C (สมบัติการถ่ายทอด)
6. A = B ก็ต่อเมื่อ A ⊂ B และ B ⊂ A
7. ถ้า A มีจำนวนสมาชิก n ตัว สับเซตของเซตจะมีทั้งสิ้น 2n สับเซต
ตัวอย่าง จงหาสับเซตทั้งหมดของ A เมื่อ A = {2, 4, 6, 8}
A จะมีสับเซตทั้งหมด 24 =16 สับเซต เมื่อแจกแจงสับเซตทั้งหมดจะได้ดังนี้
Ø
{2} {4} {6} {8}
{2, 4} {2, 6} {2, 8} {4, 6} {4, 8} {6, 8}
{2, 4, 6} {2, 6, 8} {2, 4, 8} {4, 6, 8}
{2, 4, 6, 8}
ซับเซตและเพาเวอร์เซต ( subset & power set)
เพิ่มเรื่อง สับเซต หรือ เซตย่อย
การที่เราจะบอกว่า เซต A เป็นสับเซต(subset)ของเซต B ได้นั้น สมาชิก “ทุกตัวของ A” จะต้องเป็นสมาชิกของ B ด้วย เขียนแทนด้วย A ⊂ B
ตัวอย่างเช่น A = {1,3,5,7} , B = {1,2,3,4,5,6,7,8,9}
เราจะสังเกตเห็นว่า สมาชิกทุกตัวของ A เป็นสมาชิกของ B ดังนั้น A เป็นสับเซตของ B (A⊂B) แต่ B ไม่เป็นสับเซตของเซต A (B ⊄ A) เพราะ สมาชิกบางตัวของB ไม่อยู่ใน A
เราอาจจะวาดรูปเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น
จากรูป เราจะเห็นได้ชัดเลยว่า สมาชิกทุกตัวของเซต A อยู่ในเซต B แต่สมาชิกบางตัวของเซต B ไม่อยู่ในเซต A
และเรายังสามารถบอกได้อีกว่า Ø, {1}, {3}, {5}, {7} ⊂ A และ Ø, {1}, {2}, {3} {4}, {5}, {6}, {7}, {8}, {9}⊂ B
- ∅ ∈ P ( A ) เพราะ ∅ ⊂ A เสมอ
- ∅ ⊂ P ( A ) เพราะเซตว่างเป็นสับเซตของทุกเซต แล้ว ก็เป็นเซตเช่นกัน
- A ∈ P ( A ) เพราะ A ⊂ A เสมอ
- ถ้า เป็นเซตจำกัด และ คือจำนวนสมาชิกของ แล้ว จะมีสมาชิก 2 n ( A ) ตัว (เท่ากับจำนวนสับเซตของ )
- A ⊂ B ก็ต่อเมื่อ
- P ( A ) ∩ P ( B ) = P ( A ∩ B )
- P ( A ) ∪ P ( B ) ⊂ P ( A ∪ B )