สมบัติของผลคูณคาร์ทีเชียน
ให้ A, B และ C เป็นเซตใด ๆ และ n(A) คือ จำนวนสมาชิกของเซต A
- A×Ø = Ø
- Ø×A = Ø
- A×(B∪C) = (A×B)∪(A×C)
- A×(B∩C) = (A×B)∩(A×C)
- A×(B-C) = (A×B) – (A×C)
- n(A×B) = n(A).n(B)
ความสัมพันธ์จาก A ไป B ให้ A และ B เป็นเซตใด ๆ แล้ว r เป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B ก็ต่อเมื่อ r เป็นสับเซตของ AB เขียนได้ว่า r = {(a,b) | (a,b) ∈ A×B}
คุณสมบัติของเซตว่าง
ในทางคณิตศาสตร์ เซตว่างคือ เซตพิเศษที่ไม่มีองค์ประกอบหรือสมาชิกใด ๆ ในเซตเลย จำนวนสมาชิกในเซตของมันคือ 0 เขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ { } หรือ Ø
ตัวอย่างเช่น
A = {x | x เป็นจำนวนเต็มบวก และ x < 0} ∴ A = Ø
B = {x | x เป็นจำนวนเต็มลบ และ x – 1 > 0} ∴ A = Ø
- ∀A : ∅ ⊆ A
- ∀A : A ∪ ∅ = A
- ∀A : A ∩ ∅ = ∅
- ∀A : A × ∅ = ∅
- ∀A : A ⊆ ∅ ⇒ A = ∅
- 2∅ = {∅}
- |∅| = 0 ดังนั้นเซตว่างเป็นเซตจำกัด
คุณสมบัติของผลคูณคาร์ทีเซียน