ฟิสิกส์ แรงและกฎการเคลื่อนที่
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแรง
1 แรงชนิดต่าง ๆ
2 การแตกแรง
3 การรวมแรง
4 แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
แรงและกฎการเคลื่อนที่ มีหน่วยย่อย ดังนี้
การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวตรง พบว่า วัตถุอาจมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว หรือมีการเปลี่ยนแปลงความเร็ว ซึ่งอะไรคือสาเหตุที่ทำให้วัตถุมีการเคลื่อนที่เป็นแบบดังกล่าว โดยปริมาณที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวตรง ได้แก่ ระยะทาง, การกระจัด, อัตราเร็ว, ความเร็ว, ความเร่ง และช่วงเวลา
แรงเป็นปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง จึงจัดได้ว่าแรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยคือ นิวตัน (N)
การเขียนเวกเตอร์ของแรง
การเขียนใช้ความยาวของส่วนเส้นตรงแทนขนาดของแรง และหัวลูกศรแสดงทิศทางของแรง
การออกแรงทำกิจกรรมต่างๆ นั้น เราจะสังเกตพบว่า การหิ้วกระเป๋าจะออกแรงน้อยกว่าการผลักรถยนต์ให้เคลื่อนที่หรือการถือสมุด 1 เล่ม จะออกแรงน้อยกว่าการยกกองสมุด 20 เล่ม การใช้ความรู้สึกบอกขนาดของแรง เป็นการคาดคะเนความรู้สึกของแต่ละบุคคล ซึ่งไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน วิธีการง่ายๆ ในการวัดขนาดของแรงที่กระทำต่อวัตถุก็ คือ การใช้เครื่องชั่งสปริงเกี่ยววัตถุไว้แล้วออกแรงดึงเครื่องชั่งสปริงเข็มชี้บนสเกลของเครื่องชั่งจะบอกขนาดของแรง สำหรับหน่วยของแรงตามระบบเอสไอ (SI) คือ นิวตัน (N)
แรง 1 นิวตัน (N) คือ แรงที่ทำให้มวล 1 กิโลกรัม เคลื่อนที่ ด้วยความเร่ง 1 เมตร/วินาที2
ดังนั้น 1 นิวตัน = 1 กิโลกรัม- เมตร/วินาที2 หรือ 1 N = 1 kg m/s2