แรงเสียดทาน (Frictional force)
คนทั่วไปรู้จักแรงเสียดทานดี โดยเฉพาะบุคคลผู้ที่เรียนอยู่ในสายวิทยาศาสตร์และสายเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรม แรงเสียดทานเป็นแรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ เกิดระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุกับ
พื้น แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าแรงเสียดทานเกิดขึ้นได้อย่างไร และสิ่งใดบ้างที่เป็นผลหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อ ขนาดของแรงเสียดทาน “แรงเสียดทานเป็นแรงองค์ประกอบย่อยของแรงปฏิกิริยาลัพธ์ในแนวขนานกับพื้น” เราพิจารณา
แรงเสียดทานได้ดังนี้ เมื่อว่างวัตถุบนพื้นวัตถุจะถูกโลกออกแรงดึงดูดกดลงบนพื้น (W) พื้นจะสร้างแรง ปฏิกิริยาโต้กลับ ด้วยขนาด (N)
รูปที่ 1 แสดงแรงกระท าต่อวัตถุขณะวางอยู่นิ่ง ๆ
ที่เท่ากันตามกฎของนิวตัน ขณะนั้นเราพบว่าไม่มีแรงเสียดทานเกิดขึ้นแต่เมื่อเราวางวัตถุบนพื้น และออก
แรงดึงหรือผลักวัตถุ แรงกระท าลัพธ์จะอยู่ในแนวเอียง เกิดแรงปฏิกิริยาต่อต้านแรงกระท าในทิศตรงกันข้าม
แรงเสียดทานในของไหล (Fluid Friction)
คือแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของวัตถุในของไหล (Fluid) หรือการเคลื่อนที่ของวัตถุในสสารที่มีสถานะเป็นของเหลวและก๊าซ เช่น ความต้านทานของอากาศที่กระทำต่อเครื่องบินหรือการต้านทานของน้ำที่กระทำต่อเรือ เป็นต้น
แรงเสียดทานจากการหมุน (Rolling Friction)
คือแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของวัตถุทรงกลมหรือมีพื้นผิวกลมมนบนพื้นผิวสัมผัส เช่น การเคลื่อนที่ของลูกบอลหรือล้อรถบนถนน
ประโยชน์ของ แรงเสียดทาน
แรงเสียดทานมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์มายาวนาน ตั้งแต่ยุคสมัยของการริเริ่มจุดไฟ การนำหินมากระทบกัน หรือการนำกิ่งไม้แห้งมาขัดสีเพื่อสร้างประกายไฟ ต่างเป็นผลมาจากการใช้ประโยชน์ของแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุ ทำให้พลังงานการเคลื่อนที่บางส่วนถูกแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน
แรงเสียดทานจากการหมุน (Rolling Friction) คือแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของวัตถุทรงกลมหรือมีพื้นผิวกลมมนบนพื้นผิวสัมผัส เช่น การเคลื่อนที่ของลูกบอลหรือล้อรถบนถนน
ประโยชน์ของแรงเสียดทาน
แรงเสียดทานมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์มายาวนาน ตั้งแต่ยุคสมัยของการริเริ่มจุดไฟ การนำหินมากระทบกัน หรือการนำกิ่งไม้แห้งมาขัดสีเพื่อสร้างประกายไฟ ต่างเป็นผลมาจากการใช้ประโยชน์ของแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุ ทำให้พลังงานการเคลื่อนที่บางส่วนถูกแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน
แรงเสียดทาน
แรงเสียดทาน (friction) เป็นแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุหนึ่งพยายามเคลื่อนที่ หรือกำลังเคลื่อนที่ไปบนผิวของอีกวัตถุ เนื่องจากมีแรงมากระทำ มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ
2. มีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่วัตถุเคลื่อนที่หรือตรงข้ามทิศทางของแรงที่พยายามทำให้วัตถุเคลื่อนที่ดังรูป
รูปแสดงลักษณะของแรงเสียดทาน
ถ้าวาง A อยู่บนวัตถุ B ออกแรง ลากวัตถุ วัตถุ A จะเคลื่อนที่หรือไม่ก็ตาม จะมีแรงเสียดทานเกิดขึ้นระหว่างผิวของ A และ B แรงเสียดทานมีทิศทางตรงกันข้ามกับแรง ที่พยายามต่อต้านการเคลื่อนที่ของ A
ประเภทของแรงเสียดทาน
แรงเสียดทานมี 2 ประเภท คือ
1. แรงเสียดทานสถิต (static friction) คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ ในสภาวะที่วัตถุได้รับแรงกระทำแล้วอยู่นิ่ง
2. แรงเสียดทานจลน์ (kinetic friction) คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ ในสภาวะที่วัตถุได้รับแรงกระทำแล้วเกิดการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่
ปัจจัยที่มีผลต่อแรงเสียดทาน
แรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสจะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
1. แรงกดตั้งฉากกับผิวสัมผัส ถ้าแรงกดตัวฉากกับผิวสัมผัสมากจะเกิดแรงเสียดทานมาก ถ้าแรงกดตั้งฉากกับผิวสัมผัสน้อยจะเกิดแรงเสียดทานน้อย ดังรูป
รูป ก แรงเสียดทานน้อย รูป ข แรงเสียดทานมาก
- ลักษณะของผิวสัมผัสถ้าผิวสัมผัสหยาบ ขรุขระจะเกิดแรงเสียดทานมาก ดังรูป ก ส่วนผิวสัมผัสเรียบลื่นจะเกิดแรงเสียดทานน้อยดังรูป ข
รูป ก แรงเสียดทานมาก รูป ข แรงเสียดทานน้อย
- ชนิดของผิวสัมผัสเช่น คอนกรีตกับเหล็ก เหล็กกับไม้ จะเห็นว่าผิวสัมผัสแต่ละคู่ มีความหยาบ ขรุขระ หรือเรียบลื่น เป็นมันแตกต่างกัน ทำให้เกิดแรงเสียดทานไม่เท่ากัน