เวกเตอร์ (vector)
ทำไมต้องเรียนเรื่องเวกเตอร์แน่นอนว่าถ้าเรายังเป็นมนุษย์โบราณและยังอาศัยอยู่ในถ้า เราคงไม่มีความจำเป็นต้องเรียนเรื่องเวกเตอร์อย่างแน่นอน เพราะว่าเรื่องนี ้คงไม่จ าเป็ นส าหรับมนุษย์ถ ้า แต่เนื่องจากเรา
เกิดมาในยุคนี ้ การไม่เรียนรู้อะไรเลย คงไม่ได้ เพราะว่าวิทยาการในปัจจุบันก้าวหน้าไปอย่างมากและการเรียนรู้ เกี่ยวกับเวกเตอร์ก็มีความจ าเป็ น เพราะว่าปริมาณหลายปริมาณที่เกี่ยวข้องกับ ชีวิตประจำวันของเราเป็นปริมาณเวกเตอร์ เช่น แรง ความเร็ว ฯลฯ
เวกเตอร์ คณิตศาสตร์ ม.ปลาย ประกอบด้วย
1. ระบบพิกัดฉากในสามมิติ
2. เวกเตอร์
3. ลักษณะของเวกเตอร์
4. การบวกเวกเตอร์
5. การลบเวกเตอร์
6. การคูณเวกเตอร์ด้วยสเกลาร์
7. เวกเตอร์หนึ่งหน่วย
8. เวกเตอร์ในระบบพิกัดฉาก 2 มิติ
9. เวกเตอร์ในระบบพิกัดฉาก 3 มิติ
10. สมบัติของเวกเตอร์
11. ขนาดของเวกเตอร์
12. เวกเตอร์หนึ่งหน่วยซึ่งมีทิศเดียวกับเวกเตอร์ที่กำหนด
13. โคไซน์แสดงทิศทาง
14. ผลคูณเชิงสเกลาร์
15. ผลคูณเชิงเวกเตอร์ เวกเตอร์ในสามมิติ การบอกปริมาณ ปริมาณมี 2 รูปแบบ คือ1. ปริมาณสเกลาร์ (scalar quantity) คือ ปริมาณที่บอกเฉพาะขนาด ไม่บอกทิศทาง เช่น ระยะทาง พื้นที่ อุณหภูมิ
เวกเตอร์ในเชิงเรขาคณิตได้ด้วยส่วนของเส้นตรงและลูกศร โดยที่ทิศทางของลูกศรแทนทิศทางของเวกเตอร์ และความยาวของลูกศรแทน ขนาดของเวกเตอร์ หางลูกศรเรียกว่า จุดเริ่มต้นของเวกเตอร์ หัวลูกศร เรียกว่า จุดสิ้นสุดของเวกเตอร์
สัญลักษณ์ที่ใช้
(รูปที่ 1)
บทนิยาม 1 ถ้าเวกเตอร์ u และ v เป็นเวกเตอร์ที่ไม่ใช่เวกเตอร์ศูนย์ แล้ว ผลบวกของเวกเตอร์ u และ v เขียนแทนด้วยเวกเตอร์ u + v หาได้จากให้ตำแหน่งเวกเตอร์ v มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่จุดสิ้นสุดของเวกเตอร์ u
เวกเตอร์ u + v จะแทนด้วยลูกศรจากจุดเริ่มต้นของเวกเตอร์ u ไปยังจุดสิ้นสุดของเวกเตอร์ v ดังรูปที่ 2
(รูปที่ 2)
บทนิยาม 2 ให้เวกเตอร์ v เป็นเวกเตอร์ที่ไม่ใช่เวกเตอร์ศูนย์ และ k เป็นจำนวนจริงใดๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์ แล้ว เวกเตอร์ kv หมายถึงเวกเตอร์ที่มีขนาดเท่ากับ |k| เท่าของเวกเตอร์ v เมื่อ k>0 เวกเตอร์ kv จะมีทิศทางเดียวกับ v และเมื่อ k<0 เวกเตอร์ kv มีทิศตรงข้ามกับเวกเตอร์ v และให้เวกเตอร์ kv =0 เมื่อ k =0
จากรูปที่ 3 ได้ว่าเวกเตอร์ v กับเวกเตอร์ Kv เป็นเวกเตอร์ที่ขนานกัน
สมบัติการบวกในระนาบ
1. u + v เป็นเวกเตอร์ในระนาบ สมบัติปิด
2. u + v = v + u สมบัติการสลับที่
3. u + (v + w) = (u + (v) + w สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มได้
4. มี 0 โดยที่ 0 + u = u + 0 = u สมบัติการมีเอกลักษณ์
5. สำหรับทุก ๆ u จะมี -u โดยที่ -u + u = 0 = u + (-u) สมบัติการผกผัน
6. ถ้า u = v แล้ว w + v = w + u สมบัติการบวกด้วยเวกเตอร์ที่เท่ากัน
กราฟแสดงผลบวก u + v
ให้
u = ai + bj
v = ci + dj
u + v = (a + c)i + (b + d)j
u – v = (a – c)i + (b – d)j
เวกเตอร์ศูนย์
1. เวกเตอร์ศูนย์ 0 (0) คือเวกเตอร์ที่มีขนาดศูนย์หน่วย
2. จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของเวกเตอร์ศูนย์เป็นจุดเดียวกัน
การคูณเวกเตอร์ด้วยสเกลาร์
ให้เวกเตอร์ u จะเขียน 2u ได้ 2u = u + u
สมบัติการคูณเวกเตอร์ด้วยสเกลาร์
ให้ u และ v เป็นเวกเตอร์ใด ๆ ในระนาบ a และ b เป็นจำนวนจริง
1. au เป็นเวกเตอร์ในระบบ สมบัติปิด
2. a(bu) = (ab)u สมบัติการเปลี่ยนกลุ่ม
3. (a + b)u = au + bu สมบัติการแจกแจง
4. a(u + v) = au + av สมบัติการแจกแจง
5. 1u = u
6. ถ้า au = 0 แล้ว a = 0 หรือ u = 0
เวกเตอร์หนึ่งหน่วย (Unit vector)
เวกเตอร์หนึ่งหน่วย คือ เวกเตอร์ที่มีขนาดเท่ากับ 1
มองภาพเห็นไหม ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน
ส่วนประกอบของเวกเตอร์
เวกเตอร์หนึ่งหน่วย คือเวกเตอร์ที่มีขนาด 1 หน่วย และมีทิศทางตามเวกเตอร์ที่พิจารณา เช่น ให้ เป็นเวกเตอร์ที่มีขนาดเท่ากับ และ เป็นเวกเตอร์หนึ่งหน่วย ที่มีทิศเดียวกับเวกเตอร์ ดังรูป
ดังนั้นในระบบพิกัดแกนมุมฉาก เวกเตอร์หนึ่งหน่วยแทนด้วย
มีขนาด 1 หน่วยทิศตามแกน X
มีขนาด 1 หน่วยทิศตามแกน Y
มีขนาด 1 หน่วยทิศตามแกน Z
โดยเวกเตอร์ทั้งสามตั้งฉากซึ่งกันและกัน และเวกเตอร์ทั้งสามจะเรียงกันในทิศทวนเข็มนาฬิกา
จากตัวอย่างที่ 2.3 คำตอบที่ได้สามารถเขียนใหม่ได้เป็น เป็นการเขียนในรูปแบบมาตรฐานซึ่งมีความสะดวกมากเมื่อนำไปใช้ในการบวกและการคูณเวกเตอร์
รูปแแบบทั่ว ๆ ไปของเวกเตอร์เขียนได้ดังนี้ เมื่อ คือส่วนประกอบบนแกน ของ ; คือส่วนประกอบบนแกน ของ ; คือส่วนประกอบบนแกน ของ เป็นเวกเตอร์ใน 3 มิติ
ผลคูณเชิงสเกลาร์
ผลคูณเชิงสเกลาร์ของเวกเตอร์ หรือภาษาอังกฤษคือ dot product คือการนำเวกเตอร์มาดอทกันผลลัพธ์จากการนำเวกเตอร์มาดอทกันนี้จะเป็นสเกลาร์หรือว่าตัวเลข เรามาดูนิยามของมันเลยครับ