สมบัติของจำนวนจริง
ระบบจำนวนจริงเป็นโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยเซตของจำนวนจริง กับโอเปอเรชันบวกและคูณ ซึ่งสมบัติพื้นฐานของจำนวนจริงต้องอาศัยสมบัติการเท่ากันของจำนวนจริงก่อน
สมบัติการเท่ากันของจำนวนจริง
- สมบัติสะท้อน สำหรับจำนวนจริง a ทุกตัว a = a
- สมบัติสมมาตร ถ้า a และ b เป็นจำนวนจริงซึ่ง a = b แล้ว b = a
- สมบัติถ่ายทอด ถ้า a , b และ c เป็นจำนวนจริงซึ่ง a = b และ b = c แล้ว a = c
- สมบัติการบวกด้วยจำนวนเดียวกัน ถ้า a , b , c เป็นจำนวนจริงซึ่ง a = b แล้ว c + a = c + b
- สมบัติการคูณด้วยจำนวนเดียวกัน ถ้า a , b , c เป็นจำนวนจริงซึ่ง a = b แล้ว ca = cb
สมบัติพื้นฐานของจำนวนจริง
- สมบัติปิดสำหรับการบวก
ถ้า a และ b เป็นจำนวนจริง แล้ว a + b เป็นจำนวนจริงด้วย
- สมบัติเปลี่ยนกลุ่มสำหรับการบวก
ถ้า a , b , c เป็นจำนวนจริงแล้ว (a + b) + c = a + (b + c)
- สมบัติการมีเอกลักษณ์สำหรับการบวก
มีจำนวนจริง 0 ซึ่ง 0 + a = a = a + 0 สำหรับจำนวน a ทุกตัว เรียก 0 ว่าเป็น เอกลักษณ์สำหรับการบวก
- สมบัติการมีอินเวอร์สสำหรับการบวก
สำหรับจำนวนจริง a แต่ละตัว จะมีจำนวนจริง -a ซึ่ง -a+a = 0 = a+(-a) เรียก -a ว่าเป็น อินเวอร์สสำหรับการบวกของ a
- สมบัติการสลับที่สำหรับการบวก
ถ้า a และ b เป็นจำนวนจริงแล้ว a + b = b + a
- สมบัติปิดสำหรับการคูณ
ถ้า a และ b เป็นจำนวนจริงแล้ว ab เป็นจำนวนจริงด้วย
- สมบัติเปลี่ยนกลุ่มสำหรับการคูณ
ถ้า a , b , c เป็นจำนวนจริงแล้ว (ab)c = a(bc)
- สมบัติการมีเอกลักษณ์สำหรับการคูณ
มีจำนวนจริง1 ซึ่ง (1)a = a = a(1) สำหรับจำนวนจริง a ทุกตัว เรียก 1 ว่าเป็น เอกลักษณ์สำหรับการคูณ
- สมบัติการมีอินเวอร์สสำหรับการคูณ
สำหรับจำนวนจริง a แต่ละตัว ที่ไม่เท่ากับ 0 จะมีจำนวนจริง a –1 ซึ่ง a –1a = 1 =a a –1
เรียก a –1 ว่าเป็น อินเวอร์สสำหรับการคูณของ a
- สมบัติการสลับที่สำหรับการคูณ
ถ้า a และ b เป็นจำนวนจริงแล้ว ab = ba
- สมบัติการแจกแจง
ถ้า a , b , c เป็นจำนวนจริงแล้ว
a ( b+c ) = ab + ac
( b+c ) a = b a+ ca
- สมบัติปิดสำหรับการคูณ
ถ้า a และ b เป็นจำนวนจริงแล้ว ab เป็นจำนวนจริงด้วย
- สมบัติเปลี่ยนกลุ่มสำหรับการคูณ
ถ้า a , b , c เป็นจำนวนจริงแล้ว (ab)c = a(bc)
- สมบัติการมีเอกลักษณ์สำหรับการคูณ
มีจำนวนจริง1 ซึ่ง (1)a = a = a(1) สำหรับจำนวนจริง a ทุกตัว เรียก 1 ว่าเป็น เอกลักษณ์สำหรับการคูณ
- สมบัติการมีอินเวอร์สสำหรับการคูณ
สำหรับจำนวนจริง a แต่ละตัว ที่ไม่เท่ากับ 0 จะมีจำนวนจริง a –1 ซึ่ง a –1a = 1 =a a –1
เรียก a –1 ว่าเป็น อินเวอร์สสำหรับการคูณของ a
- สมบัติการสลับที่สำหรับการคูณ
ถ้า a และ b เป็นจำนวนจริงแล้ว ab = ba
- สมบัติการแจกแจง
ถ้า a , b , c เป็นจำนวนจริงแล้ว
a ( b+c ) = ab + ac
( b+c ) a = b a+ ca
ข้อใดต่อไปนี้จริงให้เขียนเครื่องหมาย ⁄ ข้อใดเท็จให้เขียนเครื่องหมาย × ลงหน้าข้อ
- เซตของจำนวนตรรกยะมีสมบัติปิดของการบวก
- เซตของจำนวนตรรกยะมีสมบัติปิดของการลบ
- เซตของจำนวนตรรกยะมีสมบัติปิดของการหาร
- เซตของจำนวนตรรกยะมีสมบัติปิดของการหารด้วยตัวหารที่ไม่ใช่ศูนย์
- เซตของจำนวนนับมีสมบัติปิดสำหรับการลบ
- เซตของจำนวนเต็มมีสมบัติปิดสำหรับการหาร
- เซตของจำนวนอตรรกยะมีสมบัติปิดภายใต้การบวก
- เซตของจำนวนอตรรกยะมีสมบัติปิดภายใต้การคูณ
- เซตของจำนวนคู่มีสมบัติปิดสำหรับการหาร
- เซตของจำนวนเต็มที่หารด้วย 5 ลงตัวมีสมบัติปิดสำหรับการบวก
- เซตของจำนวนที่หารด้วย 2 และ 3 ลงตัวมีสมบัติปิดสำหรับการหาร
- เซต มีสมบัติปิดสำหรับการคูณ
- เซต มีสมบัติปิดสำหรับการบวก
- เซต มีสมบัติปิดสำหรับการหาร