การใช้ (Pronoun)คำสรรพนามและ (Noun) คำนาม
NOUNS AND PRONOUNS
บทเรียนย่อย :
– การออกเสียงที่ลงท้ายด้วย s/-es
– รูปพหูพจน์ของคำนาม
– ประธาน กริยา และกรรม
– รูปกรรมของบุพบท (objects of prepositions)
– คำบุพบทบอกเวลา (prepositions of time )
– การเรียงลำดับคำ (word order) สถานที่ (place) และเวลา (Time)
– การสอดคล้องคำระหว่างประธาน-กริยาในประโยค (Subject-verb agreement)
– การใช้คำคุณศัพท์เพื่อขยายคำนาม
– การใช้คำนามเป็นคำคุณศัพท์
– Pronouns
– บุรุษสรรพนาม (personal pronouns) ในรูปประธานและกรรม
– คำนามแสดงความเป็นเจ้าของ ( possessive nouns )
– คำสรรพนามและคำคุณศัพท์แสดงความเป็นเจ้าของ
– Reflexive pronouns
– รูปเอกพจน์ของ other, another และ the other
– รูปพหูพจน์ของ other, other(s) และ the other(s)
คำนาม (Noun)
คำนาม คือ ชื่อเรียกคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ และสิ่งที่เป็นนามธรรม
เวลาพูดถึงคำนาม ให้เรานึกถึง ตัวเองก่อนอันดับแรกว่า ตัวเราเป็นอะไร ตัวเราเป็นคน แล้วให้สมมติ(หรือไม่สมมติก็ได้) ว่าเรามีสัตว์เลี้ยงตัวโปรดอยู่ สัตว์เลี้ยงนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ แล้วก็มีสิ่งของ มีสถานที่ที่เราชอบ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้นึกถึงทั้งหมดนี้ คือคำนามในภาพรวม ตัวเรา(ซึ่งเป็นคน) เลี้ยงสัตว์ มีสิ่งของ มีสถานที่ และมีความชอบในสิ่งของหรือสถานที่นั้น(นามธรรม) ก็จะสามารถช่วยให้เราเข้าใจคำนามได้ในมุมกว้างๆ
พอจะเจาะลึกเข้าไปอีก เป็นคำนามทั่วไป กับคำนามเฉพาะ ก็ให้เราเอาตัวเองเป็นหลักก่อนว่า ตอนแรกคิดว่าเราเป็นคน ซึ่งเป็นแค่คนทั่วๆไป แต่พอเรามาดูอีกที เรามีชื่อเฉพาะของเรา การมีชื่อขึ้นมาเจาะจงว่าเป็นตัวเราเนี่ยแหละ ก็เลยกลายให้คนธรรมดา กลายเป็นคนที่มีชื่อเรียกเฉพาะเจาะจง มีคนเดียวในโลกที่ชื่อแบบนี้ หน้าตาแบบนี้ แล้วเวลาเขียนชื่อเราทุกครั้ง ก็ต้องเขียนเป็นตัวอักษรใหญ่ ไม่ว่าจะชื่อเล่นหรือชื่อจริง พอคิดได้แบบนี้แล้ว เข้าใจแล้ว มันก็จะนำไปสู่การเข้าใจในเรื่องของความแตกต่างระหว่างคำนามทั่วไป กับ คำนามเฉพาะ
นอกจากนี้แล้ว เมื่อนึกถึงจำนวนของคำนามที่ยังไม่นับ ก็ให้นึกถึงอยู่สองพวกคือ มีเพียงหนึ่ง (เอกพจน์) และ มากกว่าหนึ่ง หรือสองขึ้นไป (พหูพจน์) ซึ่งก็จะมีกฏการทำคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ตามด้านล่างนี้แล้ว แต่ถ้านึกถึงจำนวนของคำนามในเรื่องของจำนวนนับให้นึกถึง นับได้ (countable) กับ นับไม่ได้ (uncountable) ซึ่งมีรายละเอียดตามข้างล่างนี้ (ก่อนที่จะอ่านเนื้อหาข้างล่าง ขอให้เข้าใจภาพรวมของคำนามที่ได้เกริ่นไว้ข้างต้นนี้ก่อน)
ชนิดของคำนาม (Types of Noun)
1. คำนามทั่วไป (Common Nouns) – กล่าวถึงคำนามที่เป็นคน สัตว์ สิ่งของ และสิ่งที่เป็นนามธรรมโดยไม่เฉพาะเจาะจง
คำนามทั่วไป เป็นได้ทั้งคำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้
คำนามนับได้ คือ คำนามที่สามารถนับเป็นจำนวนนับได้ เป็นได้ทั้งคำนามเอกพจน์และคำนามพหูพจน์
กฎในการเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์ มีดังนี้
1. เติม –s ได้เลย
2. เติม – es หลังคำนามที่ลงท้ายด้วย s, z, x, sh, and ch
3. คำนามที่ลงท้ายด้วย y
3.1 เปลี่ยน y เป็น ies ในกรณีที่หน้า y เป็นพยัญชนะ
3.2 เติม –s ได้เลย ในกรณีที่หน้า y เป็นสระ
4. คำนามที่ลงท้ายด้วย o
4.1 เติม – es หลังคำนาม ในกรณีที่หน้า o เป็นพยัญชนะ
4.2 เติม – s ได้เลย ในกรณีที่หน้า o เป็นสระ
5. เปลี่ยน f หรือ fe เป็น ves หลังคำนามที่ลงท้ายด้วย f or fe
*หมายเหตุ คำนามที่ลงท้ายด้วย f หรือ fe บางคำที่สามารถเติม – s ได้เลย
6. เปลี่ยนรูปเมื่อเป็นพหูพจน์
คำนามนับไม่ได้ คือ คำนามที่ไม่สามารถนับได้ โดยปกติจะเป็นสสารหรือความคิด พจน์ของคำนามเป็นเอกพจน์ได้เท่านั้น
2. คำนามเฉพาะ (Proper Nouns) – ชื่อเฉพาะของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ
หน้าที่ของคำนาม (Functions of Noun)
1. ประธานของประโยค
2. กรรมของประโยค
3. กรรมของคำบุพบท
คำสรรพนาม (Pronoun)
คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนาม ส่วนเรื่องคำสรรพนามที่ไม่มีอะไรมาก เห็นคำนี้เมื่อไหร่ ให้นึกทันที ว่าเค้าทำหน้าที่แทนคำนาม ก็จะมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็ทำงานตามหน้าที่ตามชื่อ ไม่ยาก แต่อาศัยท่องจำในตอนแรกบวกกับ ความเข้าใจในเรื่องของตำแหน่งประเภทของคำที่เราต้องทราบ ซึ่งจะได้อธิบายไว้ในการใช้ของแต่ละข้อ
ชนิดของคำสรรพนาม (Types of Pronoun)
1. บุรุษสรรพนาม (Personal Pronoun)
คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคน สถานที่ สิ่งของ และความคิด
1.1 คำสรรพนามที่ทำหน้าที่เป็นประธาน (Subject Pronouns) ให้สังเกตคำนามที่อยู่หน้ากริยา แล้วเลือกใช้คำสรรพนามแทนให้เหมาะสมตามความหมายของคำนามนั้น ว่าแปลแล้ว เป็นคนที่เป็นผู้ชาย ผู้หญิง หรือสัตว์ หรือสิ่งของ หรือเป็นคนที่มีหลายคน ซึ่งต้องพิจารณาอีกว่า คนที่มีหลายคนจะใช้คำว่าอะไร (ขึ้นอยู่กับความสามารถในการแปลคำนามนั้นๆ)
– I, You, We, They, He, She, It
1.2 คำสรรพนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรม (Object Pronouns) คำอธิบายเกือบจะเหมือนข้อ 1.1 แต่ต่างกันตรงที่ให้สังเกตคำนามที่อยู่ หลัง กริยา
– me, you, us, them, him, her, it
2. สรรพนามเจ้าของ (Possessive Pronouns)
คือ คำสรรพนามที่แสดงความเป็นเจ้าของ
2.1 คําคุณศัพท์ที่ใช้ขยายนามเพื่อบอกความเป็นเจ้าของของนาม (Possessive Adjective Pronouns) คำสรรพนามชนิดนี้ ต่างจาก 2.2 โดยต้องมีคำนามตามหลัง (อยู่หน้าคำนาม) เนื่องจาก ชื่อของมันคือ Possessive Adjective
ถ้าใครทราบว่า Adjective แปลว่า คำคุณศัพท์ ทำหน้าที่ขยายคำนาม ตำแหน่งของเค้าอยู่หน้าคำนาม ก็จะเป็นหน้าที่ของคำสรรพนามชนิดนี้ทั้งหมด ทั้งเรื่องการขยายคำนาม และตำแหน่งที่เค้าอยู่
– my, your, our, their, his, her, its
2.2 คำสรรพนามที่แสดงความเป็นเจ้าของ (Possessive Pronouns) คำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของชนิดนี้ ชื่อก็บอกยี่ห้ออยู่แล้วว่า Possessive Pronoun แสดงความเป็นเจ้าของ แต่เป็นเจ้าของแบบแทนคำนามเลย
– mine, yours, ours, theirs, his, hers, its
3. สรรพนามตนเอง (Reflexive Pronouns)
คือ สรรพนามที่แสดงตนเอง แสดงการเน้น ย้ำให้เห็นชัดเจน เป็นการเน้นย้ำว่า “ประธานกระทำกริยานั้นด้วยตนเอง” จะใช้ยังไง ให้ดูที่ประธานของประโยคเป็นหลัก ซึ่งประธานของประโยค สามารถเป็นได้ทั้งคำนามและคำสรรพนาม ต้องแปลและสังเกตได้เอง
– myself, yourself/yourselves, ourselves, themselves, himself, herself, itself