วิชาคณิตศาสตร์ แต่ไม่ระบุที่มาหรือหลักฐานปรากฏชัดเกี่ยวกับการเกิดขึ้นทางคณิตศาสตร์ โดยมีการสันนิษฐานกันว่า มีความเป็นไปได้ที่คณิตศาสตร์มีพื้นฐานจากธรรมชาติ นั่นคือ การนับจำนวน โดยเริ่มจากมนุษย์ชายในสมัยโบราณที่เข้าป่าเพื่อเก็บผลไม้ชนิดหนึ่ง และมีคำถามคิดขึ้นมาว่า จะต้องเก็บผลไม้ขนิดนี้กี่ผล จึงจะสามารถแบ่งให้ตนเอง ภรรยา และลูกได้พอดี คิดแล้วก็ทำทีหยิบผลไม้ผลที่ 1 ให้ตัวเอง พลันหักนิ้วหัวแม่มือเข้าหาตัว หยิบผลที่ 2 นึกถึงภรรยา นิ้วชี้หักเข้าตัว และหยิบผลที่ 3 นึกถึงลูก นิ้วกลางหักเข้าตัว โดยนับเป็นจำนวน หนึ่ง สอง สาม ตามลำดับ เค้าพบว่าการหักนิ้วทีละนิ้วคือการนับจำนวน แทนจำนวนที่นับเริ่มต้นที่ 1 นั่นเอง
มีการบันทึกเป็นประวัติโดยแบ่งเป็นยุคสมัยตั้งแต่โบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน ตามข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
คณิตศาสตร์ที่กล่าวถึงเป็นคณิตศาสตร์ยุคแรกคือ สมัยบาบิโลนและอียิปต์ (5,000 กว่าปีมาแล้ว) ซึ่งมีการใช้สัญลักษณ์แทนจำนวน รู้จักการบวก ลบ คูณ และหารตัวเลข เพื่อมาใช้กับการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายสิ่งของในการดำรงชีวิต และการเดินทางทำให้ให้มีการเรียนรู้เกี่ยวกับระยะทางและเวลา รู้จักใกล้และไกล มากและน้อย
ในสมัยต่อมาคือ สมัยกรีกและโรมัน เป็นยุคที่ชาวกรีกมีการสร้างกฎเกณฑ์ทางการคำนวณ มีการพิสูจน์ มีการพบทฤษฎีเพิ่มเติมมากมาย ที่เป็นพื้นฐานและหลักการในสมัยปัจจุบัน เช่น พิทากอรัส (ทฤษฎีพิทากอรัสหลังจากการวาดรูปสามเหลี่ยมบนพื้นทราย) ยูคลิด (พื้นฐานทางเรขาคณิต) ส่วนโรมันก็ได้นำคณิตศาสตร์ไปใช้ในด้านการก่อสร้าง ธุรกิจ และการทหาร
ความหมายของการเรียนคณิตศาสตร์ ทัศนคติของเด็ก ๆ กับคำว่า “คณิตศาสตร์” ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากตั้งแต่เริ่มต้นเสมอ จะดีกว่าไหมถ้าเราทำให้เด็กรู้สึกรักการเรียนคณิตศาสตร์ สนุกกับการเชื่อมโยงเรื่องราวต่าง ๆ กับตัวเลข เข้าใจถึงการได้มาของผลลัพธ์ มองเห็นภาพ รู้สึกท้าทายกับการเรียนคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนในขั้นสูง และตระหนักได้ว่าคณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาความคิดของคนเรา สร้างการคิดอย่างเป็นเหตุ เป็นผล เป็นระบบ มีแบบแผน มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และยังเป็นรากฐานในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
อาจไม่ใช่การมุ่งไปที่ทักษะที่เด็กจะได้รับในแต่ละบทเรียน แต่อาจหมายถึงการที่เด็กได้รับรู้เป้าหมายและสามารถนำทักษะเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตจริงได้อย่างเหมาะสม