สถิติศาสตร์
สถิติศาสตร์ (อังกฤษ: Statistics มาจากคำในภาษาละตินใหม่ statisticum (เกี่ยวกับรัฐ)) คือศาสตร์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างความรู้จากข้อมูล ที่ได้เก็บรวบรวมมา (หรือเรียกว่าเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์) ที่อยู่ในรูปของข้อมูลเชิงเลข พื้นฐานของสาขานี้คือ ทฤษฎีสถิติ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของคณิตศาสตร์เชิงประยุกต์ ในทฤษฎีสถิติ ความสุ่มและความไม่แน่นอนจะถูกจำลองโดยทฤษฎีความน่าจะเป็นเนื่องจากเป้าหมายหนึ่งของสถิติศาสตร์คือการสร้างสารสนเทศที่ดีที่สุดจากข้อมูลที่มีอยู่ หลายคนจึงจัดให้สถิติศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของทฤษฎีการตัดสินใจ แนวปฏิบัติทางสถิตินั้นรวมถึงการวางแผน, การสรุปย่อ, และการตีความผลการสังเกต ที่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนได้
ความหมาย
ความหมายของสถิติ มีอยู่ 2 นิยามคือ
ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข (Numberical fact) หรือข้อความที่เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ที่เราสนใจหรืออยู่รอบๆ ตัวที่ได้รวบรวมไว้ทั้งที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น
ศาสตร์วิชาที่เกี่ยวข้องกับทษฏีและระเบียบวิธี ว่าด้วยการเก็บรวมรวมข้อมูลการประมวลผล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปและการตีความของข้อมูล
ประเภทของสถิติ
สถิติพรรณนา (Descriptive Statistice) คือ สถิติที่ว่าด้วยระเบียบวิธี เพื่อแสดงลักษณะของกลุ่มข้อมูลที่เก็บข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถอ้างอิงลักษณะที่ได้ไปยังกลุ่มอื่น
สถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) คือ สถิติที่ว่าด้วยระเบียบวิธี แต่ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง แล้วนำผลที่ได้ไปสรุปอ้างอิงประชากรได้
ระเบียบวิธีทางสถิติ
การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection)
การนำเสนอข้อมูล (Data Presentation)
การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
การตีความหมายข้อมูล (Data Interpretation)
ประโยชน์ของสถิติ
ประโยชน์ในระดับบุคคล
ประโยชน์ในระดับครัวเรือน
ประโยชน์ในระดับหน่วยงานธุรกิจเอกชน
ประโยชน์ในระดับประเทศ
ผลการศึกษา
จากการศึกษาประสิทธิภาพ ของอุปกรณ์ปอกเปลือกมะพร้าวแบบง่าย ได้ใช้ผู้เข้ารวมทั้งหมด 6 คนซึ่งแต่ละคนทำการทดลอง 2 วิธี 1 การปอกเปือกมะพร้าวด้วยมีดพร้า และวิธีที่ 2 การปอกเปลือกมะพร้าวโดยใช้เครื่องที่ประดิษฐ์ขึ้น ได้ผลการศึกษา ดังนี้
ชื่อ-สกุล |
การปอกเปลือกมะพร้าว 1 ลูกต่อ นาที |
||||
|
มะพร้าวจำนวน ลูก |
วิธีที่1 (ผ่าด้วยมีพร้า) นาที |
มะพร้าวจำนวนลูก |
วิธีที่2 (เครื่องปอกมะพร้าว) นาที |
|
1 |
นายประสพโชค บรรทุจันทร์ |
1 |
2 |
1 |
1 |
2 |
นายชัยยะสิทธิ์ บุตรวงศ์ |
1 |
2 |
1 |
1 |
3 |
นายอภิวัฒน์ พลอาษา |
1 |
2 |
1 |
1 |
4 |
นางสาวปฏิมากร อ้วนออร์ |
1 |
3 |
1 |
1.5 |
5 |
นางสาวสายฤทัย ปรือทอง |
1 |
3 |
1 |
1.5 |
6 |
นางสาวพรไพริน ลิจันทร์ |
1 |
3 |
1 |
1.5 |
ค่าเฉลี่ย รวม |
6ลูกต่อ 15นาที |
6ลูกต่อ 7.5นาที |
วิธีที่ 1 = กรปอกเปลือกมะพร้าวด้วยมีดพร้า
วิธีที่ 2 = การปอกเปลือกมะพร้าวโดยใช้เครื่องที่ประดิษฐ์ขึ้น
จากตารางที่ 1 เมื่อให้ผู้ทำการทดลองทั้งหมด 6 คน ทำการทดลองการปอกเปลือกมะพร้าวคนละ 2 วิธี จากการเปรียบเทียบจาตาราง พบว่า วิธีที่ 1 การปอกเปลือกมะพร้าวโดยใช้มีดพร้า ใช้เวลามากกว่าวิธีที่ 2 คือ ได้ค่าเฉลี่ย จำนวนมะพร้าว จำนวน 6 ลูก ต่อ15นาที และ วิธีที่ 2 การปอกเปลือกมะพร้าวโดยใช้อุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นปรากฏว่าได้ค่าเฉลี่ยของปริมาณ ลูกมะพร้าว 6 ลูก ต่อ 7.5 นาที