คณิตศาสตร์ออนไลน์ เรื่อง เศษส่วนและจำนวนคละ
วิธีใช้งานเครื่องคิดเลขเศษส่วนและจำนวนคละ
1คลิกเลือกเศษส่วน หรือจำนวนคละ
2ใส่เศษส่วนหรือจำนวนคละที่ต้องการ
3เลือกว่าจะ +, -, × หรือ ÷
4กดปุ่ม “กดคำนวณ”
5โปรแกรมจะแสดงคำตอบและวิธีคิดให้ดังตัวอย่าง
เศษส่วน
เศษส่วน เป็นตัวเลขที่แทนปริมาณที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม เกิดจากการแบ่งจำนวนเต็มออกเป็นส่วน ๆ ส่วนละเท่า ๆ กัน โดยตัวเศษเป็นตัวเลขที่แสดงถึงส่วนหนึ่งของทั้งหมด และตัวส่วนเป็นตัวเลขที่แสดงถึงจำนวนชิ้นส่วนทั้งหมดของวัตถุนั้น ซึ่งตัวส่วนห้ามเป็นศูนย์ (0) เช่น มีวงกลม 1 วง ตัดแบ่งออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆกัน 1 ชิ้นที่ถูกตัดออกมานั้นจะเขียนได้ว่ามีค่าเป็น 1/4
เศษส่วนแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
1. เศษส่วนแท้ คือ เศษส่วนที่มีค่าน้อยกว่า 1 หรือตัวเศษมีค่าน้อยกว่าส่วน
2. เศษส่วนเกิน คือ เศษส่วนที่มีค่ามากกว่า 1 หรือตัวเศษมีค่ามากกว่าส่วน
3. เศษส่วนคละ คือ เศษส่วนที่มีจำนวนเต็มและเศษส่วนแท้คละกัน
4. เศษส่วนซ้อน คือ เศษส่วนที่เศษหรือส่วนเป็นเศษส่วน หรือทั้งเศษและส่วนเป็นเศษส่วน
การหาค่าเฉลี่ยในชีวิตจริง
การหาค่าเฉลี่ยในชีวิตจริงสามารถทำได้ เช่น รายได้ฉลี่ยของคนในครอบครัว หรือกำไรจากการค้าขายต่อปี ก็สามารถทำได้
วิธีหารายได้เฉลี่ยของคนในครอบครัว
ครอบครัวหนึ่งมี 4 คน ได้แก่ พ่อ แม่ และลูก 2 คน โดยพ่อมีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือน แม่มีรายได้ 25,000 บาทต่อเดือน ส่วนลูก 2 คนมีรายได้เดือนละ 10,000 บาท ก็ให้คำนวณด้วยการนำรายได้ของทุกคนมาบวกกัน และหารด้วยจำนวนคนในครอบครัว
(50,000 + 25,000 + 10,000 + 10,000) ÷ 4 = 23,750 บาท
วิธีหากำไรเฉลี่ยต่อปี
ในแต่ละเดือนผู้ค้าขายจะได้กำไร-ขาดทุน ดังนี้
- เดือนมกราคม กำไร 5,000 บาท
- เดือนกุมภาพันธ์ กำไร 8,000 บาท
- เดือนมีนาคม กำไร 15,000 บาท
- เดือนเมษายน ขาดทุน 2,000 บาท
- เดือนพฤษภาคม กำไร 10,000 บาท
- เดือนมิถุนายน กำไร 12,000 บาท
- เดือนกรกฎาคม ขาดทุน 3,000 บาท
- เดือนสิงหาคม กำไร 5,000 บาท
- เดือนกันยายน กำไร 13,000 บาท
- เดือนตุลาคม กำไร 7,000 บาท
- เดือนพฤศจิกายน กำไร 15,000 บาท
- เดือนธันวาคม ขาดทุน 4,000 บาท
วิธีหาค่าเฉลี่ยผู้ค้าขาย ให้นำกำไรของแต่ละเดือนมาบวกกัน ส่วนเดือนที่ขาดทุนก็ให้ไปลบแทน จากนั้นนำผลรวมไปหารด้วยจำนวนเดือนทั้งหมด ฉะนั้น ผู้ค้าจึงมีกำไรเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่
( 5,000 + 8,000 + 15,000 – 2,000 + 10,000 + 12,000 – 3,000 + 5,000 + 13,000 + 7,000 + 15,000 – 4,000) ÷ 12 = 6,750 บาท