คณิตศาสตร์เรื่องพหุนาม
พหุนามคืออะไร
พหุนาม ในคณิตศาสตร์ หมายถึง นิพจน์ที่สร้างจากตัวแปรอย่างน้อยหนึ่งตัวและสัมประสิทธิ์ โดยใช้การดำเนินการแค่ การบวก การลบ การคูณ และการยกกำลังโดยที่เลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นลบเท่านั้น ตัวอย่างของพหุนามตัวแปรเดียวที่มี x เป็นตัวแปร เช่น x2 − 4x + 7 ซึ่งเป็นพหุนามกำลังสอง
พหุนาม คือ เอกนามหรือจำนวนที่เขียนอยู่ในรูปการบวก ของเอกนาม ตั้งแต่สองเอกนามขึ้นไป
เอกนามในพหุนาม เรียกว่า พจน์
เช่น x2 − 4x + 7 หรือ x2 +( -4x ) + 7
เป็นพหุนาม
พจน์ที่ 1 คือ x2
พจน์ที่ 2 คือ -4x
พจน์ที่ 3 คือ 7 ตัวอย่างเช่น
5x−(−4x)5x−(−4x) == 5x+4x=9x ( เปลี่ยนเครื่องหมายลบที่อยู่หน้า −4xเป็นเครื่องหมายบวก และเปลี่ยนตัวที่อยู่ข้างในวงเล็บเป็นจำนวนตรงข้าม เช่นจากตัวอย่างจาก −4x กลายเป็น 4x )
ตัวอย่างที่ 1 จงหาผลลบของ (2x−13)−(−9x)
วิธีทำ
(2x−13)−(−9x)=(2x−13+9x) (ต่อไปก็จับพจน์ที่คล้ายกันมาบวกหรือมาลบกันครับ)
=2x+9x−13
=11x−13
ตัวอย่างที่ 2 จงหาผลลบของ 8x−(10x−5)
วิธีทำ
8x−(10x−5)=8x+(−10x+5)
=8x+(−10x)+5
=[8+(−10)]x+5
=−2x+5
ตัวอย่างที่ 3 จงหาผลลบของ (−14x−1)−(6x−12)
วิธีทำ
(−14x−1)−(6x−12)=(−14x−1)+(−6x+12)
=−14x−1+(−6x)+12
=−14x+(−6x)+12−1
=[(−14)+(−6)]x+11
=−20x+11