สายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 มีการกลายพันธุ์
สายพันธุ์ด้วยกัน คือ
- สายพันธุ์ B.1.1.7 หรือ N501Y จากประเทศอังกฤษ
- สายพันธุ์ B.1.351 หรือ 501Y.2 จากประเทศแอฟริกาใต้
- สายพันธุ์ P1 จากประเทศบราซิล โดยพบครั้งล่าสุดในผู้โดยสารที่เดินทางในสนามบินประเทศญี่ปุ่น
จากข้อมูลในฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมของไวรัสโคโรนา 2019 ใน GISAID พบว่าประเทศไทยมีการรายงานรหัสพันธุกรรมของไวรัสแบบทั้งจีโนม (Whole Genome) รวม 460 sequences จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วประเทศทั้งสิ้น 13,302 คน หรือร้อยละ 3.46 (ข้อมูล ณ วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564) สายพันธุ์ส่วนใหญ่ที่พบคือ กลุ่ม clade S โดยได้ตัวอย่างมาจากผู้ป่วยที่พบการระบาดในประเทศไทยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนและได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธี PCR เพื่อการรักษาโรคแต่ไม่ได้นำมาถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อศึกษาสายพันธุ์ไวรัสการกลายพันธุ์ของไวรัสจึงจำเป็นต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะบางกรณีอาจจะส่งผลต่อการกระจายตัวของไวรัสตลอดจนระดับความรุนแรงของโรค อีกทั้งการวินิจฉัยยังทำได้จากการตรวจทางห้องปฏิบัติกาเท่านั้น ดังนั้นการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 อย่างใกล้ชิดจึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญ
เหตุใดไวรัสกลายพันธุ์ชนิดใหม่จึงน่ากังวล
มีปัจจัย 3 อย่างที่ทำให้ต้องจับตามองไวรัสชนิดนี้อย่างใกล้ชิด
- แพร่ระบาดแทนที่เชื้อโรคโควิด-19 อีกชนิดอย่างรวดเร็ว
- เกิดการกลายพันธุ์ที่น่าจะส่งผลสำคัญต่อเชื้อไวรัสชนิดนี้
- การกลายพันธุ์บางอย่างได้แสดงให้เห็นในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (ห้องแล็บ) แล้วว่า ทำให้เชื้อชนิดใหม่นี้มีความสามารถทำให้เซลล์ติดเชื้อได้มากขึ้น
ปัจจัยที่ประกอบกันข้างต้น บ่งชี้ว่าเชื้อโรคโควิด-19 ชนิดใหม่นี้สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม เรายังไม่สามารถสรุปเรื่องนี้ได้แน่นอน เพราะเชื้อไวรัสชนิดใหม่นี้อาจกลายเป็นชนิดที่พบได้แพร่หลายขึ้นเพียงเพราะ “อยู่ถูกที่ถูกเวลา”
ด้านนักคณิตศาสตร์ต่างคำนวณข้อมูลการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 สายพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อหาว่าเชื้อกลายพันธุ์ที่พบในอังกฤษนั้นแพร่ระบาดได้รวดเร็วเพียงใด
แต่การจะบ่งชี้ว่าการระบาดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมของมนุษย์ หรือจากเชื้อไวรัสนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก
สำหรับตัวเลขที่นายกรัฐมนตรีจอห์นสันระบุก็คือ เชื้อกลายพันธุ์ชนิดใหม่นี้อาจสามารถแพร่สู่กันได้ง่ายขึ้นถึง 70% และอาจทำให้ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน (R number) เพิ่มขึ้นอีก 0.4 ซึ่งค่าดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้ว่าการระบาดของโรคเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ขอบคุณข้อมูล https://www.bbc.com/