กราฟความสัมพันธ์
วิธีการหนึ่งสำหรับการนำเสนอความสัมพันธ์โดยไม่ผ่านภาษาหรือสัญลักษณ์ของคู่อันดับคือการใช้กราฟ หรือ แผนผัง โดยที่หางลูกศรแทนสมาชิกของเซตแรกที่สัมพันธ์กับสมาชิกของเซตที่สองตรงตำแหน่งหัวลูกศรในที่นี้จะนำเสนอการใช้กราฟและแผนผังแสดงความสัมพันธ์ทวิภาคแบบเต็มหน่วยซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการศึกษาความสัมพันธ์ของข้อมูล
กราฟความสัมพันธ์แบบเต็มหน่วย
ความสัมพันธ์แบบ one to one เป็นความสัมพันธ์ที่สมาชิกแต่ละตัวของเซตที่สองจะสัมพันธ์กับสมาชิกของเซตแรกได้เพียงตัวเดียวเท่านั้นนั้นคือถ้า y R x1 และ y R x2 แล้ว x1 = x2
ภาพที่ 2 แผนผังความสัมพันธ์แบบ one to one
เซตความสัมพันธ์ของรูปที่ 2 เขียนแทนด้วย
{ ( A , 3 ), ( B , 2 ), ( C , 1 ), ( D , 4 ) }
จะเห็นว่าสมาชิกของเซตแรกสัมพันธ์กับสมาชิกเซตที่ 2 ตัวใดตัวหนึ่งตัวอย่างเช่นนักเรียนหนึ่งคนจะมีรหัสนักเรียนแค่รหัสเดียวซึ่งไม่ซ้ำกับนักเรียนคนอื่น
ความสัมพันธ์แบบ one to many เป็นความสัมพันธ์ที่สมาชิกของเซตที่แรกมีความสัมพันธ์กับสมาชิกของเซตที่สองได้มากกว่า 1 ตัว
ภาพที่ 3 ความสัมพันธ์แบบ one to many
เซตความสัมพันธ์ของรูปที่ 3 เขียนแทนด้วย
{ ( A , 1 ), ( A , 3 ), ( C, 2 ), ( C , 4 ) }
จะเห็นว่ามีสมาชิกของเซตแรกสัมพันธ์กับสมาชิกเซตที่ 2 อย่างน้อย 1 ตัว ตัวอย่างของความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เป็นแบบ one to many อาทิในการแข่งขันกีฬาสี เซตแรกเป็นเซตของนักเรียนและเซตที่ 2 เป็นเซตของประเภทกีฬาโดยแต่ละสีส่งนักกีฬาได้เพียงคนเดียว แต่นักเรียนแต่ละคนสามารถเล่นกีฬาได้มากกว่า 1 ประเภท
ความสัมพันธ์แบบ many to one เป็นความสัมพันธ์ที่สมาชิกของเซตที่แรกมีความสัมพันธ์กับสมาชิกของเซตที่สองได้มากกว่า 1 ตัว
ภาพที่ 4 แผนผังความสัมพันธ์แบบ many to one
กราฟของอินเวอร์ส
จากหัวข้อที่แล้ว อินเวอร์สของความสัมพันธ์ จะได้จากการสลับที่ 𝑥 กบ 𝑦 ในคอันดับ
เช่น คู่อันดับ (2, −1) ใน 𝑟 จะกลายเป็น (−1, 2) ใน 𝑟−1 เป็นต้น
เนื่องจาก 𝑟 กับ 𝑟−1 จะมี 𝑥 กับ 𝑦 สลับกัน
ดังนั้น กราฟของ 𝑟 กับ 𝑟−1
ดังนั้น ถาให้กราฟของ 𝑟 มา เราจะวาดกราฟของ 𝑟−1 ได้โดยการสะท้อน 𝑟 ไปตามแนว 45องศา
เช่น
-ขอบคุณข้อมูล https://www.scimath.org/