ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกของเรามากที่สุด มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซไฮโดรเจน ที่ใจกลางของดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิและแรงดันสูงมาก จนทำให้ก๊าซไฮโดรเจนหลอมรวมกันเป็นก๊าซฮีเลียม และแผ่พลังงานออกมาอย่างมหาศาล เป็นความร้อนและแสงสว่าง เราเรียกปฏิกิริยานี้ว่า “ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน” พลังงานความร้อน และแสงสว่าง จากดวงอาทิตย์นี้เอง ที่เอื้อให้เกิดสิ่งมีฃีวิตบนโลกของเรา
องค์ประกอบของดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด และเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดของโลก ดวงอาทิตย์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.4 ล้านกิโลเมตร อยู่ห่างจากโลก 150 ล้านกิโลเมตร มีองค์ประกอบเป็นไฮโดรเจน 74% ฮีเลียม 25% และธาตุชนิดอื่น 1% โครงสร้างของดวงอาทิตย์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
แก่นปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (Nuclear burning core) มีขนาดประมาณ 25% ของรัศมี เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิวชัน เผาไหม้ไฮโดรเจนให้กลายเป็นฮีเลียม มวลบางส่วนได้เปลี่ยนเป็นพลังงาน มีอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านเคลวิน
โซนการแผ่รังสี (Radiative zone) อยู่ที่ระยะ 25-70% ของรัศมี การถ่ายโอนพลังงานในเขตนี้ต้องใช้เวลานานเป็นล้านปี
โซนการพาความร้อน (Convection zone) อยู่ที่ระยะ 70-100% ของรัศมี พลังงานจากโซนการแผร่รังสีถูกพาออกสู่ผิวดวงอาทิตย์และนำพลังงานของดวงอาทิตย์ออกสู่อวกาศโดยการแผ่รังสี
ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มดวงอาทิตย์ แบางออกเป็น 3ชั้นคือ
1.ชั้นโฟโตสเฟียร์ (photosphere) เป็นชั้นบรรยากาศชั้นในสุด เป็นบริเวณที่สว่าที่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งมีอุณหภูมิประมาณ 5,800 เคลวิน
2.ชั้นโครโมเฟียร์ (chromosphere) เป็นชั้นบรรยากาศบางๆ ที่ห่อหุ้มโฟโตสเฟียร์ เป็นชั่นที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็น 25,000 เคลวิน มีโครงสร้าเป็รแก๊สร้อน เนื่องจากมีความหนาแน่นต่ำ การเปร่งลำแสงจึงขึ้นอยู่กับความยาวคลื่นและจะมีเฉพาะบางความยาวคลื่น
3.คอโรนา (corona) เป็นชั้นบรรยากาศที่เจือจาง และแผ่กระจายจากดวงอาทิตย์ได้ไกลมาก เราเห็นแสงส่วนนี้ในช่วงที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง เนื่องจากคอโรนาที่อยู่ใกล้ชั้นโฟโตสเฟียร์มีความสว่างประมาณ 1 ในล้านของความสว่างของดวงอาทิตย์ และความสว่างลดลงตามระยะทาง แต่อุณหภูมิสูงถึง 2,000,000 เคลวิน