ทำให้ประเทศต่าง ๆ ออกมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้โดยออกกฎ ระเบียบ และข้อบังคับให้ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นำส่วนประกอบหรือวัตถุสำหรับใช้ในอุปกรณ์ให้ไม่เกินค่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ เพื่อป้องกันการกระจายหรือปนเปื้อนแก่ผู้ใช้งาน
มาตรฐาน RoHS คืออะไร
RoHS ย่อมาจาก Restriction of Hazardous Substances จุดกำเนิดทำให้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด โดยแรกเริ่ม RoHS เกิดขึ้นในสหภาพยุโรปในปี ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) โดยมีข้อจำกัดปริมาณในการใช้วัสดุอันตราย 6 ชนิด ที่พบในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้ทั้งหมดในตลาดสหภาพยุโรป โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 (ค.ศ. 2006) ซึ่งจะต้องผ่านข้อกำหนด RoHS โดยสังเกตเวลาเลือกดูสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ หรือใน เอกสารที่รวบรวมข้อมูล คุณสมบัติต่าง ๆ ของอุปกรณ์ชิ้นนั้น (Datasheet) ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ จะเห็นสัญลักษณ์วงกลม ที่มีตัวอักษร “Pb” แล้วคาดด้วยเส้นเฉียง หรือมีเขียนคำว่า “RoHS Compliant” หรือจะเขียนว่า “Pb-Free”, “Green” (สัญลักษณ์ของแต่ละยี่ห้อจะแตกต่างกัน เนื่องจากไม่มีสัญลักษณ์ที่เป็นทางการ) ซึ่งสามารถเข้าศึกษาข้อมูลมาตรฐานล่าสุด ได้จาก https://www.rohsguide.com
วัสดุที่ถูกจำกัดปริมาณภายใต้มาตรฐาน RoHS แรกเริ่มมีอะไรบ้าง
- ตะกั่ว (lead) : ส่วนใหญ่พบใน แบตเตอรี่ ผสมในพีวีซี แผ่นวงจรพิมพ์ ไอซี และส่วนผสมในสี
- ปรอท (mercury) : เครื่องมือวัด สวิตช์ หลอดไฟ ตัวปรับอุณหภูมิ รีเลย์ และส่วนผสมในพลาสติก (กันเชื้อรา)
- แคดเมียม (cadmium) : พบในแบตเตอรี่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หน้าสัมผัส IR detector จอภาพ(รุ่นเก่า) ส่วนผสมในพีวีซี และส่วนผสมในสี
- โครเมียม-6 (hexavalent chromium-VI) : เคลือบป้องกันการกัดกร่อน ส่วนผสมในสีแบตเตอรี่ และในอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน
- โพลิโบรมิเนทไบฟินิล (polybrominated biphenyls) : ซึ่งไม่ค่อยพบในปัจจุบัน และเลิกผลิตตั้งแต่ พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000)
- โพลิโบรมิเนทไดฟินิลอีเทอร์ (polybrominated diphenyl ethers) : ส่วนผสมในพลาสติกเพื่อป้องกันการลุกเป็นไฟ พบในแผ่นวงจรพิมพ์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สายไฟ และขั้วสายไฟ
วัตถุประสงค์
– เพื่อสามารถจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ได้ปลอดภัยยิ่งขึ้น
– เพื่อลดต้นทุนการจัดการกำจัดซาก และรีไซเคิลวัสดุได้ง่ายขึ้น
– เพื่อได้วัสดุรีไซเคิลที่มีพิษน้อยลง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายยิ่งขึ้น
– เพื่อลดอุปสรรคทางการค้า
สินค้าที่อยู่ในข้อตกกำหนดของมาตรฐาน RoHS
- เครื่องใช้ในครัวเรื่อนขนาดใหญ่ เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า
- เครื่องใช้ในครัวเรือนขนาดเล็ก เช่น เครื่องดูดฝุ่น เครื่องปิ้่งขนมปัง
- อุปกรณ์ไอที และโทรคมนาคม เช่น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
- อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเสียง
- อุปกรณ์ให้แสงสว่่าง
- เครื่องมือไฟฟ้า เช่น สว่านไฟฟ้า จักรเย็บผ้า
- ของเด็กเล่น เช่น วิดีโอเกม รถไฟฟ้า
- เครื่องมือแพทย์
- เครื่องมือวัดหรือควบคุม เช่น ตัวปรับอุณหภูมิ เครื่องจับควัน
- เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ
มาตรฐาน RoHS มีผลกับใครบ้าง
ในประเทศอื่น ๆ เช่น สหรัฐอมริกา จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ นอร์เวย์ อินเดีย ยูเครน สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี รัสเซีย และบราซิล เริ่มมีข้อกำหนดในลักษณะนี้เช่นกัน ดังนั้น ถ้าผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายดังกล่าว ก็ควรจะเริ่มศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อกำหนดนี้ให้มากขึ้น เพราะในอนาคต ข้อกำหนดนี้ก็คงจะแผ่ขยายครอบคลุมไปทั่วโลก