วิธีคิดใหม่แบบคนรู้จริง คิดแล้ว,คิดอีก – Think Again สำหรับคนทุกรุ่นด้วยวิธีการคิดใหม่ไม่ตกรุ่นแบบคนรู้จริง…
1. ลองคิดแบบนักวิทยาศาสตร์
เปลี่ยนมุมมองเข้าสู่โหมดค้นหาความจริง เริ่มต้นด้วยคำถาม ห้ามตั้งธงในใจ หรือหาเหตุผลมาสนับสนุนความเชื่อนั้น
- ตั้งคำถามในเรื่องที่รู้
- สงสัยในเรื่องที่ยังไม่รู้
- เติมความรู้ใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
2. อย่ายึดติดกับชุดความคิดเดิม
ยิ่งคุณเป็นผู้รู้หรือยิ่งประสบการณ์เยอะ มักจะมีแนวโน้มไม่อยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และมีสิทธิ์จะกลายเป็นคนหลงผิด พร้อมที่จะเชื่อแบบปิดตาข้างหนึ่งแล้วหา Confirmation Bias หรือ Design Ability Bias จนเกิดอาการต่อต้านการค้นหาความจริง ซึ่ง 3 โหมดต่อไปนี้ เป็นตัวปิดกั้นเราไม่ให้เปิดใจรับฟัง จึงต้องหมั่นเตือนตัวเอง อย่าตกอยู่ในโหมดเหล่านี้เป็นอันขาด
- คนช่างสั่งสอน (Priest Mode) เป็นไม้บรรทัดวัดโลก เขาเชื่อว่าตนถูกต้องดีงามกว่าใครจึงมีสิทธิ์จะสั่งสอนและควบคุมบงการคนอื่นได้ ทุกคนต้องเชื่อฟังสิ่งที่เขาพูดโดยไม่มีข้อโต้แย้ง
- คนช่างติ (Prosecutor Mode) ชอบตำหนิ จับผิด และกล่าวโทษโยนความผิดบาปให้กับคนอื่น
- คนช่างยุ (Political Mode) พยายามโน้มน้าวหว่านล้อมให้ทุกคนเชื่อแบบเดียวกัน เพื่อจะใช้กฎหมู่มากดดันอีกฝ่ายให้ทำตามที่ถูกใจโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง
3. ค้นคว้าข้อมูลฝั่งตรงข้ามกับความเชื่อของเราอยู่เสมอ
4. อย่าตกลงไปในหุบเหวของคนโง่
5. คิดไปข้างหน้า
6. คิดให้เป็นสุขเมื่อรู้ว่าคิดผิด
7. คิดนับถือคนอื่น
8. คิดข้ามขีดจำกัด
9. ชวนถกเถียงเรื่องคิดต่าง
ปรับวิธีคิดให้หลากหลาย
การปรับเปลี่ยนวิธีคิดที่เราคุ้นชินอาจไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนการเปิดใจ แต่ก็ไม่ยากเกินไปที่จะฝึกฝน โดยทั่วไป วิธีคิดของแต่ละคนจะถูกผูกร้อยเข้ากับชีวิตของเรามาตั้งแต่เด็ก ขึ้นอยู่กับคำสอน ประสบการณ์ และการฝึกฝน การเรียนในระบบการศึกษาสอนให้เราคิดเชิงตรรกะ (Logical Thinking) เป็นเหตุเป็นผล และฝึกให้เราคิดหาคำตอบที่มีอยู่แล้ว ด้วยวิธีการที่เป็นแนวดิ่ง (Vertical Thinking) มีแบบแผนชัดเจนตายตัว เพื่อให้เราแก้โจทย์ปัญหาได้อย่างถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว ทำให้บางครั้ง เราหลงลืมไปว่า อาจจะยังมีวิธีต่างๆ อีกมากมายที่นำเราไปสู่คำตอบของปัญหา และในการค้นหาคำตอบของปัญหาหนึ่ง เราจะอาจจะพบคำตอบของปัญหาอื่นๆ อีกมากมายแทรกอยู่ระหว่างทาง เราจึงควรเรียกคืนสมรรถนะดั้งเดิมของเรากลับมา ทั้งจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ที่เราทำหล่นหายไป ตลอดจนความกล้าหาญที่จะกระโดดออกนอกกรอบไปเผชิญสิ่งใหม่ที่ท้าทาย ลองเปิดตำราที่ว่าด้วยการคิด แล้วฝึกคิดด้วยหลากหลายกระบวนท่า เช่น
- การคิดเชิงวิพากษ์ หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)
- การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
- การคิดนอกกรอบ หรือ การคิดแนวข้าง (Thinking out of the box / Lateral Thinking)
- การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
- การคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
- การคิดเชิงจริยธรรม (Ethical Thinking)
อย่างไรก็ตาม อย่าเพิ่งด่วนตัดสินว่าการคิดแบบใดดีที่สุด เพราะการหาคำตอบในแต่ละกรณีก็มีวิธีคิดที่เหมาะสมแตกต่างกัน การมีเครื่องมือที่หลากหลายและเลือกใช้อย่างสอดคล้องกับบริบทจะนำเราไปสู่คำตอบที่เราค้นหาได้ในที่สุด
ขอบคุณข้อมูล https://creativetalklive.com/9-way-rethink-think-again/