หลักการแก้สมการตัวแปรเดียว
คณิตศาสตร์ ม.4 เพื่อให้แน่นเนื้อหาก่อนไปฝึกทำโจทย์เพิ่มทักษะ เพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย TCAS พร้อมฝึกตะลุยโจทย์ สามัญ(ปัจจุบันเป็น A-Level) และฝึกตะลุยโจทย์แนวหลักสูตรใหม่ โจทย์แนวประยุกต์ แนวสสวท..
1.สมบัติสมมาตร
ถ้า a = b แล้ว b = a เมื่อ a และ b แทนจำนวนจริงใดๆ
เราอาศัยสมบัติสมมาตรเขียนแสดงการเท่ากันของจำนวนได้สองแบบ ดังตัวอย่าง
1) a + b = c หรือ c = a + b
2) x – 3 = 2x + 7 หรือ 2x + 7 = x – 3
2.สมบัติถ่ายทอด
ถ้า a = b และ b = c แล้ว a = c เมื่อ a , b และ c แทนจำนวนจริงใดๆ
เราใช้สมบัติถ่ายทอด ดังตัวอย่าง
1) ถ้า x = 5 + 7 และ 5 + 7 = 12 แล้วจะสรุปได้ว่า x = 12
2) ถ้า x = -3y และ -3y = 0.5 แล้วจะสรุปได้ว่า x = 0.5
3.สมบัติการบวก
ถ้า a = b แล้ว a + c = b + c เมื่อ a , b และ c แทนจำนวนจริงใดๆ
เราใช้สมบัติการบวก ดังตัวอย่าง
1) ถ้า a = 5 แล้ว a + 3 = 5 + 3
2) ถ้า x + 7 = 2 แล้ว ( x + 7 ) – 7 = 2 – 7
4.สมบัติการคูณ
ถ้า a = b แล้ว ca = cb เมื่อ a , b และ c แทนจำนวนจริงใดๆ
เราใช้สมบัติการคูณ ดังตัวอย่าง
1) ถ้า m + 1 = 2n แล้ว 3( m + 1 ) = 3 ( 2n )
การแยกตัวประกอบโดยใช้สมบัติการแจกแจง
ถ้า a , b และ c แทนจำนวนเต็มใด ๆ แล้ว
a(b + c) = ab + ac หรือ (b + c)a = ba + ca
เราอาจเขียนสมบัติการแจกแจงข้างต้นใหม่เป็นดังนี้
ab + ac = a(b + c) หรือ ba + ca = (b + c)a
ถ้า a , b และ c เป็นพหุนาม เราก็สามารถใช้สมบัติการแจกแจงข้างต้นได้ด้วย และเรียก a ว่า
ตัวประกอบร่วมของ ab และ ac หรือตัวประกอบร่วมของ ba และ ca
พิจารณาวิธีการแยกตัวประกอบของ 15x2y – 18xy2 โดยใช้สมบัติการแจกแจงดังนี้
15x2y – 18xy2 = 3(5x2y – 6xy2) [3 เป็น ห.ร.ม. ของ 15 และ 18]
= 3x(5xy – 6y2) [x เป็นตัวประกอบร่วมของ 5x2y และ 6xy2]
= 3xy(5x – 6y) [y เป็นตัวประกอบร่วมของ5xy และ 6y2]
ดังนั้น 5x2y – 18xy2 = 3xy(5x – 6y)
ตัวอย่างที่ 1 จงแยกตัวประกอบของ 5xy + 6×2 วิธีทำ 5xy + 6×2 = (x)(5y) + (x)(6x)
= x(5y + 6x)
ข้อสังเกต x เป็นตัวประกอบร่วมของ 5xy และ 6×2 ดึง x ที่เป็นตัวประกอบร่วมออกมา
ตัวอย่างที่ 2 จงแยกตัวประกอบของ 12y2z + 20yz
วิธีทำ 12y2z + 20yz = (4yz)(3y) + (4yz)(5)
= 4yz(3y + 5)
ตัวอย่างที่ 3 จงแก้สมการ 5( x + 3 ) – ( 2x + 5 ) = 5x + 10
วิธีทำ 5( x + 3 ) – ( 2x + 5 ) = 5x + 10
5x + 15 – 2x -5 = 5x + 10
3x + 10 = 5x + 10
-2x = 0
x = 0
5( x + 3 ) – ( 2x + 5 ) = 5x + 10
5( 0 + 3 ) – [2(0) + 5] = 5(0) + 10
15 – 5 = 10
10 = 10 เป็นจริง
ดังนั้น คำตอบของสมการคือ x = 0