สรุปเนื้อหา ปริมาณสารสัมพันธ์
การศึกษาเรื่องปริมาณสารสัมพันธ์ (Stoichiometry) จะช่วยให้สามารถคาดคะเนหรือคำนวณปริมาณของสารที่ต้องใช้เป็นสารตั้งต้น (reactant) เพื่อให้ได้ปริมาณสารผลิตภัณฑ์ (product) ตามต้องการ หรือใช้บอกว่าสารตั้งต้นจะทำปฏิกิริยาหมดหรือมีเหลือ และปฏิกิริยาจะได้ผลผลิตอย่างมากที่สุดเท่าใด ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องรู้เรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นมวลอะตอม มวลโมเลกุล โมล สูตรเคมี สมการเคมี และการคำนวณจากสมการเคมี ดังนี้
มวลอะตอม คือ มวลหรือน้ำหนักเปรียบเทียบ (relative mass หรือ relative weigh)โดยเปรียบเทียบกับมวลของอะตอมมาตรฐาน กล่าวคือ เป็นการบอกให้ทราบว่า 1 อะตอมของธาตุนั้นหนักเป็นกี่เท่าของธาตุมาตรฐานนั่นเอง ซึ่งหน่วยของมวลเปรียบเทียบ คือ หน่วยมวลอะตอม (amu) หรือดาลตัน (D) โดยที่
1 amu = 1.66 x 10-24
โมเลกุลของธาตุเกิดจากอะตอมชนิดเดียวกันมาอยู่รวมกัน ส่วนโมเลกุลของสารประกอบเกิดจากอะตอมต่างชนิดกันมารวมกัน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโมเลกุลมีขนาดเล็กมาก การหามวลโมเลกุลจึงใช้วิธีการเปรียบเทียบกับธาตุมาตรฐานเช่นเดียวกับมวลอะตอม ดังนั้น มวลโมเลกุล จึงเป็นมวลเปรียบเทียบว่าสารนั้น 1 โมเลกุล มีมวลเป็นกี่เท่าของ 1/12 มวลของคาร์บอน – 12 1 อะตอม เช่น ก๊าซไนโตรเจนมีมวลโมเลกุล 28 หมายความว่า ก๊าซไนโตรเจน 1 โมเลกุลมีมวลเป็น 28 เท่าของ 1/12 มวลของคาร์บอน – 12 1 อะตอม
มวลโมเลกุลของสาร สามารถหาได้จากผลบวกของมวลอะตอมของธาตทั้งหมดในโมเลกุลนั้น เช่น
โมล (Mole)
โมล (mole , mol . n)
คือหน่วยที่ใช้ในการบอกปริมาณสารที่อาโวกาโดร (พ.ศ.2319-2399) เป็นผู้กำหนดขึ้น กำหนดว่า สารใด ๆ จำนวน 1 โมล จะประกอบด้วยอนุภาคของสารนั้น ๆ จำนวน 6.02 x 1023 อนุภาค จึงเรียกตัวเลขดังกล่าวนี้ว่าเลขอาโวกาโดร (Avogadro’s number) สารใด ๆ จำนวน 1 โมลจะมีหน้ำหนักเป็นกรัมเท่ากับมวลโมเลกุล หรือมวลอะตอม หรือมวลสูตรของสารเหล่านั้น เช่น คาร์บอน-12 (12C) ซึ่งมีมวลอะตอมเท่ากับ 12 ถ้ามีอะตอมของคาร์บอนชนิดนี้จำนวน 6.02 x 1023 อะตอม จะมีน้ำหนัก 12 กรัม หรือเรียกว่ากรัม โมเลกุล หรือ กรัม/โมล (The amount of a substance that contains as many atoms, molecules, ions, or other elementary units as the number of atoms in 12 gram of carbon -12. The number is 6.0225 × 1023, or Avogadro’s number. Also called gram molecule. The mass in grams of this amount of a substance, numerically equal to the molecular weight of the substance. Also called gram-molecular weight.)
ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนโมลกับปริมาณต่าง ๆ ของสาร
จำนวนโมลของสารเป็นปริมาณต้นแบบของสาร ที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณสารในรูปอื่น ๆ อีกมากมาย ได้แก่
1. จำนวนโมลกับจำนวนอนุภาคของสาร คำว่าอนุภาคเป็นคำกลาง ๆ ที่อาจจะหมายถึง อะตอม โมเลกุล ไอออน อิเล็กตรอน โปรตอน นิวตรอน หรืออื่น ๆ ตามที่อาโวกาโดรกำหนดว่าสารใด ๆ จำนวน 1 โมล มีจำนวนอนุภาค 6.02 x 1023 อนุภาค จึงหมายความว่าสารทุกชนิดเมื่อมีจำนวนโมลเท่ากันก็จะมีจำนวนอนุภาคเท่ากันเสมอ (สารที่มีจำนวนอนุภาคเท่ากันมีจำนวนโมลเท่ากัน) ดังตัวอย่าง
สาร |
จำนวนโมล |
จำนวนอนุภาค |
Na |
1 |
6.02×1023 อะตอม |
K |
1 |
6.02×1023 อะตอม |
O2 |
1 |
จำนานโมเลกุล = 6.02×1023 โมเลกุล |
O3 |
1 |
จำนานโมเลกุล = 6.02×1023 โมเลกุล |
N2 |
1 |
จำนานโมเลกุล = 6.02×1023 โมเลกุล |
0 |
1 |
6.02×1023 ไอออน |
K+ |
1 |
6.02×1023 ไอออน |
Na |
0.5 |
3.01×1023 อะตอม |
K |
0.5 |
3.01×1023 อะตอม |
O2 |
0.5 |
จำนานโมเลกุล = 3.01×1023 โมเลกุล |
N2 |
0.5 |
จำนานโมเลกุล = 3.01×1023 โมเลกุล |
Na+ |
0.5 |
3.01×1023 ไอออน |
กำหนดให้ ; n = จำนวนโมล
N = จำนวนอนุภาค
สมการ จำนวนโมล = จำนวนอนุภาค/เลขอาโวกาโดร
หรือ n = N/6.02 x 1023
ตัวอย่างที่ 1
สารตัวอย่าง |
จำนวนโมล |
จำนวนอนุภาค |
|
จำนวนโมเลกุล |
จำนวนอะตอม |
||
Fe |
1 |
– |
6.02×1023 |
H2 |
1 |
6.02×1023 |
2x(6.02×1023) |
O3 |
1 |
6.02×1023 |
3x(6.02×1023) |
P4 |
1 |
6.02×1023 |
4x(6.02×1023) |
S8 |
1 |
6.02×1023 |
8x(6.02×1023) |
ตัวอย่างที่ 2
สารตัวอย่าง |
จำนวนโมล |
จำนวนโมเลกุล |
จำนวนอะตอม |
||
C |
H |
O |
|||
CH2O |
1 |
6.02×1023 |
6.02×1023 |
2(6.02×1023) |
6.02×1023 |
C3H8O3 |
1 |
6.02×1023 |
3x(6.02×1023) |
8(6.02×1023) |
3(6.02×1023) |
C2H4O2 |
1 |
6.02×1023 |
2x(6.02×1023) |
4(6.02×1023) |
2(6.02×1023) |
C2H6O |
1 |
6.02×1023 |
2x(6.02×1023) |
6(6.02×1023) |
6.02×1023 |
C2H6O2 |
1 |
6.02×1023 |
2x(6.02×1023) |
6(6.02×1023) |
2(6.02×1023) |
แบบฝึกหัด
1. คำว่า โมล หมายถึงอะไร
2. เลขอาโวกาโดรา(Avogadro’s number) คืออะไร เกี่ยวข้องกับจำนวนโมลอย่างไร
3. น้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) จำนวนหนึ่ง มี C เป็นองค์ประกอบอยู่ 4.0 x 1022อะตอมจงพิจารณาว่า
3.1 มีไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบอยู่กี่อะตอม
3.2 น้ำตาลกลูโคสจำนวนนี้มีกี่โมเลกุล
3.3 น้ำตาลกลูโคสจำนวนนี้คิดเป็นกี่โมล
3.4 น้ำตาลกลูโคสจำนวนนี้หนักกี่กรัม
4. estradiol เป็นฮอร์โมนเพศหญิง มีสูตรโมเลกุลเป็น C18H24O เมื่อนำฮอร์โมนดังกล่าวมาจำนวนหนึ่งพบว่ามี H เป็นองค์ประกอบอยู่ 3.0 x 1020 อะตอม จงพิจารณาว่า
4.1 ฮอร์โมนจำนวนนี้มี C เป็นองค์ประกอบอยู่กี่อะตอม
4.2 ฮอร์โมนจำนวนนี้มีกี่โมเลกุล
4.3 ฮอร์โมนจำนวนนี้คิดเป็นกี่โมล
4.4 ฮอร์โมนจำนวนนี้หนักกี่กรัม
5. How many moles are present in 2.45 x 1023 molecules of CH4?
(มี CH4 จำนวน 2.45 x 1023 โมเลกุล คิดเป็นกี่โมล)
6. How many atoms are in 36 g of bromine? (โบรมี, Br2 36 g ประกอบด้วยอะตอมของ Br กี่อะตอม)
7. How many moles of O atoms do you have when you have 1.20 x 1025 N2O5 molecules?
(ถ้ามี N2O4 จำนวน 1.20 x 1025 โมเลกุล จะมีอะตอมของ O อยู่กี่โมล)
8. How many copper atoms are in 5.33 mol of CuCl2? (ถ้ามี CuCl2 5.33 mol จะมีอะตอมของ Cu อยู่กี่อะตอม)
9. How many moles of Cl atoms are in 5.33 mol of CuCl2?
(ถ้ามี CuCl2 5.33 mol จะมีอะตอมของ Cl กี่อะตอม)
10. How many O atoms are in 3.15 mol of SnO2? (ถ้ามี SnO2 3.15 โมล จะมีอะตอมของ O อยู่กี่อะตอม)
*******************
2. จำนวนโมลกับมวลของสาร
ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนโมลกับปริมาณของสารอีกรูปแบบหนึ่งคือ จำนวนโมลกับมวลของสาร ความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้กล่าวได้ว่า ‘ สารใด ๆ จำนวน 1 โมล
จะมีน้ำหนักเป็นกรัมเท่ากับมวลอะตอม หรือมวลโมเลกุล หรือมวลสูตรของสารนั้น ๆ’ ดังตัวอย่าง
สารที่กำหนด |
มวลอะตอมหรือมวลโมเลกุล หรือมวลสูตร |
จำนวนโมล |
น้ำหนัก (กรัม) |
Na |
มวลอะตอม = 23 |
1 |
23 กรัม หรือ 23 กรัม/โมล หรือ 23 g/mol |
Cl2 |
มวลโมเลกุล = 71 |
1 |
71 กรัม หรือ 71 กรัม/โมล หรือ 71 g/mol |
NaCl |
มวลสูตร = 58.5 |
1 |
58.5 กรัม หรือ 58.5 กรัม/โมล หรือ 58.5 g/mol |
ตัวอย่าง 23Na จำนวน 1 โมล หนักกี่กรัม
วิธีทำ (ไม่ใช้สูตร)
23Na จำนวน 1 อะตอม มีมวล = 23 x (1.66 x 10-24) กรัม
23Na จำนวน 6.02 x 1023 อะตอม มีมวล = 23 x (1.66 x 10-24) x (6.02 x 1023)
= 22.98 กรัม
= 23 กรัม
หรือ 23 กรัม/โมล หรือ 23 g/mol
(ใช้สูตร)
n = จำนวนโมล
W = มวลสาร (กรัม)
M = มวลอะตอม หรือมวลโมเลกุลหรือมวลสูตร
สูตร n = W/M
1 mol = W/23 g/mol
W = 23 g
** ถ้าจำนวนโมลหรือ n คงที่ ; n = N/6.02 x 1023 = W/M
ตัวอย่าง ธาตุโซเดียม 3.01 x 1023 อะตอม มีมวลกี่กรัม (Na=23)
วีธีทำ
วีธีที่ 1 (ไม่ใช้สูตร) โซเดียม 1 อะตอมมีน้ำหนัก = 23 x (1.66 x 10-24) กรัม
โซเดียม 3.01×1023 อะตอมมีน้ำหนัก = 23 x (1.66 x 10-24)/3.01 x 1023
= 11.50 กรัม ตอบ
วิธีที่ 2 (ใช้สูตร) N/6.02 x 1023 = W/M
3.01×1023/6.02×1023 = W/23
W = 3.01×1023/6.02×1023x23
= 11.50 กรัม ตอบ