เลสิก (LASIK) คือ การผ่าตัดแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติด้วยแสงเลเซอร์ โดยวิธีการผ่าตัดจะมีการแยกชั้นกระจกด้านบน ให้ได้ความหนาตามที่ต้องการ แล้วยกชั้นกระจกตาที่แยกแล้วนี้ขึ้น เพื่อใช้เลเซอร์ ที่เรียกว่า “เอ็กไซเมอร์เลเซอร์” ยิงไปบนชั้นกระจกตาชั้นกลาง เพื่อปรับเปลี่ยนความโค้ง แล้วจึงปิดกระจกตากลับลงไปโดยไม่ต้องเย็บ กระจกตาสามารถติดกันเองตามธรรมชาติ
การรักษาด้วยวิธี LASIK โดยการแยกชั้นกระจกตา มี 2 วิธี ดังนี้
1. การแก้ไขสายตาด้วยโปรแกรมเลสิค (LASIK) : การใช้ใบมีด (Microkeratome) แยกชั้นกระจกตาและใช้เลเซอร์ (Excimer Laser)ในการแก้ไขสายตา
2. การแก้ไขสายตาด้วยโปรแกรมไอเลสิค (iLASIK) : การใช้เลเซอร์ (IFS FemtoSecond Laser) แยกชั้นกระจกตาและใช้เลเซอร์ (Excimer Laser)ในการแก้ไขสายตา
ผู้ที่เหมาะสมในการทำเลสิก
- ผู้ที่ไม่อยากใส่แว่น หรือคอนแทคเลนส์ เพราะทำให้เสียบุคลิคภาพ เช่น การใส่แว่นตาหนาเตอะ หรือใส่คอนแทคเลนส์นานเกินไปตาก็จะแดง
- ผู้ที่ชอบออกกำลังกาย หรือ เล่นกีฬาบางประเภทที่ไม่สะดวกในการใส่แว่น หรือคอนแทคเลนส์ เช่นการว่ายน้ำ ดำน้ำ, วิ่งระยะไกล
- ผู้ที่ต้องทำงานในบางอาชีพ ที่ห้ามใส่แว่น เช่น แอร์ฮอสเตส นักบิน ซึ่งถึงแม้จะให้ใส่คอนแทคเลนส์ได้ แต่ก็ไม่สะดวก และมีระยะเวลาที่ต้องใส่นาน ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
สิ่งที่ได้รับจากการทำเลสิก
ความมุ่งหวังหลักของคนไข้และหมอ คือ ต้องการให้ หายจากภาวะสายตาสั้น หรือ เอียงโดยสิ้นเชิง และ ถาวร เป็นอิสระจากการใช้แว่นตา หรือ เลนส์สัมผัสตลอดไป แต่ในบางครั้งเราไม่สามารถทำให้ได้ตามจุดประสงค์หลัก ก็จะมีจุดประสงค์ที่รองลงมาก็คือ ช่วยให้สายตาสั้นหรือเอียงลดลงจากเดิมให้มากที่สุด เพื่อจะไม่ จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยแว่นตาหรือเลนส์สัมผัสตลอดเวลา
-ขอบคุณข้อมูล https://lasikcenter.eent.co.th/ และ http://www.supremeilasik.com/