สรุปเรื่อง โมลและสูตรเคมี
โมล (mole หรือ mol) เป็นหน่วยเรียกในระบบ SI โดยสัญลักษณ์ของโมล คือ mol หมายถึง ปริมาณสารที่ประกอบไปด้วยอนุภาค (อะตอม โมเลกุล หรืออนุภาคอื่น) เท่ากับจำนวนอะตอมของไอโซโทป C-12 จำนวน 12 กรัม ซึ่งได้ว่า
1 mole = 6.02 x 1023 อนุภาค = Avogadro’s number
กล่าวคือ สารใด ๆ 1 โมล จะมีจำนวนอนุภาค (อะตอม โมเลกุล ไอออน) เท่ากับ 6.02 x 1023 อนุภาค หรือเรียกว่า Avogadro’s number ซึ่งมีมวลเท่ากับมวลอะตอมของธาตุหรือมวลโมเลกุลของสารนั้น ๆ เช่น ไนโตรเจนมีมวลอะตอมเท่ากับ 14.01 ดังนั้น ไนโตรเจร 1 โมล จะมีมวล 14.01 กรัม หรือมวลต่อโมลของไนโตรเจนเป็น 14.01 กรัมต่อโมล
ตัวอย่างของสารปริมาณ 1 โมล เช่น
สาร | จำนวนอนุภาค |
คริปทอน (Kr) | 6.02 x 1023 อะตอม |
น้ำ (H2O) | H2O 6.02 x 1023 โมเลกุล H 2 x 6.02 x 1023 อะตอมO 6.02 x 1023 อะตอม |
โซเดียมซัลเฟต Na2SO4) | Na+. 2 x 6.02 x 1023 ไอออน
SO4 2- 6.02 x 1023 ไอออน |
สูตรเคมี (Chemical formular) คือ กลุ่มสัญลักษณ์ของธาตุหรือสารประกอบ ซึ่งแบ่งได้ ดังนี้
มวลอะตอมของธาตุนั้นจะไม่มีหน่วยเพราะเป็นมวลสัมพัทธ์ แต่มวลของธาตุ 1 อะตอมจะมีหน่วยกำกับ
ธาตุในธรรมชาติส่วนใหญ่จะมีหลายไอโซโทป แต่ละไอโซโทปมีมวลอะตอมและปริมาณที่พบในธรรมชาติแตกต่างกัน
ดังนั้น มวลอะตอมของธาตุจึงคิดจากมวลอะตอมของไอโซโทปและปริมาณของไอโซโทปนั้น ๆ ในธรรมชาติ
เช่น คาร์บอนมี 3 ไอโซโทป คือ 12C, 13C และ 14C โดยที่ 12C มีมวลอะตอม 12.0000 และพบเป็น 98.930% ในธรรมชาติ 13C มีมวลอะตอมเป็น 13.0034 และพบเป็น 1.070% ในธรรมชาติ ส่วน 14C เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีและพบน้อยมาก
ดังนั้น มวลอะตอมของคาร์บอนจึงคำนวณจาก 12C และ 13C ดังนี้
โมล
เนื่องจากสารต่าง ๆ ประกอบด้วย อนุภาคของสารที่มีขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก นักเคมีจึงได้กำหนดหน่วยสำหรับปริมาณสารว่า โมล (mole) โดยกำหนดว่า
และเรียกจำนวนอนุภาคนี้ว่า
เลขอาโวกาโดร (Avogadro’s number) หรือ ค่าคงตัวอาโวกาโดร (Avogadro’s constant)
ตัวอย่างของสารปริมาณ 1 โมล
สาร | จำนวนอนุภาค |
อาร์กอน (Ar) | 6.02 x 1023 อะตอม |
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) | CO2 = 6.02 x 1023 โมเลกุล
C = 6.02 x 1023 อะตอม O = 2 x 6.02 x 1023 = 1.204 x 1024 อะตอม |
โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) | Na+ = 2 x 6.02 x 1023 = 1.204 x 1024 ไอออน
CO32- = 6.02 x 1023 ไอออน |
เนื่องจากมวลของ 12C 1 อะตอม เท่ากับ 12 x 1.66 x 10-24 กรัม
เราสามารถหา มวลต่อโมล (molar mass) ของ 12C ได้โดย
อะตอม |
เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุ ที่สามารถแสดงคุณสมบัติของธาตุนั้นๆ ได้ เช่น H , S , Al , Fe เป็นต้น ส่วนธาตุที่มีเลขอะตอมเหมือนกัน แต่มีเลขมวลต่างกันก็จัดเป็นธาตุเดียวกัน มีสมบัติทางเคมีเหมือนกัน แต่มีสมบัติทางกายภาพบางประการต่างกัน เรียกว่า เป็นไอโซโทปกัน เช่น |
โมเลกุล | เกิดจากการรวมกันของอะตอม สามารถแบ่งออกได้เป็น
1. โมเลกุลอะตอมเดี่ยว ได้แก่ พวกแก๊สเฉื่อย He, Ne, Ar , Kr , Xe, Rn 2. โมเลกุลอะตอมคู่ เช่น H2 , O2 ,N2 ,HCl , CO , HF 3. โมเลกุลหลายอะตอม P4, S8, H2O, CH4, C6H12O6 |
อะตอม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-10 เมตร(1A ํ) อะตอมที่เบาที่สุดหนัก 1.66 x 10-24 กรัม อะตอมที่หนักที่สุดหนัก 250 x 1.66 x 10-24 กรัม
รูปแสดงเกิดพันธะของอะตอมกลายเป็นโมเลกุล
มวลอะตอม |
เป็นมวลเปรียบเทียบ โดยเทียบจากมวลของ C-12 1 อะตอม มีหน่วยเป็น amu (atomic mass unit) ในธรรมชาติธาตุแต่ละชนิดอาจมีหลายไอโซโทป และพบในจำนวนที่ต่างกัน มวลอะตอมที่ระบุในตารางธาตุ จึงเป็นมวลอะตอมเฉลี่ยของไอโซโทปทั้งหมด ซึ่งเรียกว่า มวลอะตอมเฉลี่ย เปอร์เซนต์ของธาตุ = อัตราส่วนที่พบในธรรมชาติ x 100% ดังนั้น มวลอะตอมที่เขียนไว้ในตารางธาตุ ก็คือ มวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ นั่นเอง |
ตัวอย่างที่ 1 ในธรรมชาติพบไอโซโทปของ Ne ได้ 3 ไอโซโทปโดยมีเปอร์เซนต์ในธรรมชาติและมวลอะตอมดังนี้
20Ne มี 90.51%, 19.99244 amu,
21Ne มี 0.27%, 20.99395 amu
22Ne มี 9.22%, 21.99138 amu
จงคำนวณน้ำหนักเฉลี่ยของมวลอะตอมนีออน
แนวคิด
อัตราส่วนที่พบของ 20Ne x มวลอะตอม = | |
อัตราส่วนที่พบของ 21Ne x มวลอะตอม = | |
อัตราส่วนที่พบของ 22Ne x มวลอะตอม = | |
ดังนั้น มวลอะตอมเฉลี่ยของ Ne = 18.0952amu + 0.0567amu + 2.0276amu = 20.1795amu |