เนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 1 มี 3 บทเรียน ดังนี้
บทที่ 1 เซต
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเซต
- แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์
- การดำเนินการระหว่างเซต
- คุณสมบัติของการดำเนินการระหว่างเซต
- การแก้ปัญหาโดยใช้เซต
บทที่ 2 ตรรกศาสตร์
- ประพจน์
- การเชื่อมประพจน์
- การหาค่าความจริงของประพจน์
- การสมมูลและนิเสธของประพจน์
- สัจนิรันดร์และการอ้างเหตุผล
- ตัวบ่งปริมาณและประโยคเปิด
บทที่ 3 จำนวนจริง
- ระบบจำนวนจริง และสมบัติของระบบจำนวนจริง
- พหุนามตัวแปรเดียว
- การแยกตัวประกอบของพหุนาม
- สมการพหุนาม
- อสมการพหุนาม
- ค่าสัมบูรณ์
เนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 1 มี 3 บทเรียน ดังนี้
บทที่ 1 ฟังก์ชันตรีโกณมิติ
- การหาค่าของฟังก์ชันตรีโกณมิติ
- กราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติ
- ฟังก์ชันตรีโกณมิติของผลบวกและผลต่างของมุม
- ตัวผกผันของฟังก์ชันตรีโกณมิติ
- เอกลักษณ์ตรีโกณมิติและสมการตรีโกณมิติ
- กฎของไซน์และกฎของโคไซน์
- การหาระยะทางและความสูง
บทที่ 2 เมทริกซ์
- ความรู้เบื้องต้นของเมทริกซ์
- ดีเทอร์มิแนนต์
- เมทริกซ์ผกผัน
- การหาคำตอบของระบบสมการเชิงเส้น
บทที่ 3 เวกเตอร์
- เวกเตอร์และสมบัติของเวกเตอร์
- ระบบพิกัดฉากสามมิติ
- เวกเตอร์ในระบบพิกัดฉาก
- ผลคูณเชิงสเกลาร์
- ผลคูณเชิงเวกเตอร์
และ
เนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.6 เทอม 1 มี 2 บทเรียน ดังนี้
บทที่ 1 ลำดับและอนุกรม
- ลำดับ
- ลิมิตของลำดับ
- อนุกรม
- สัญลักษณ์แสดงการบวก
- การประยุกต์ของลำดับและอนุกรม
บทที่ 2 แคลคูลัสเบื้องต้น
- ลิมิตของฟังก์ชัน
- ความต่อเนื่องของฟังก์ชัน
- อนุพันธ์ของฟังก์ชัน
- การประยุกต์ของอนุพันธ์
- ปฏิยานุพันธ์ของฟังก์ชัน
- พื้นที่ปิดล้อมด้วยเส้นโค้ง
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเซต
เซตพื้นฐาน
เซตเป็นหัวข้อที่มีความสำคัญและแทรกอยู่ในเนื้อหาของคณิตศาสตร์แทบทุกส่วน เราใช้เซตในการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าตัวเลข ตัวแปร ที่มีคุณสมบัติเหมือนกันไว้ด้วยกันเป็นประโยชน์ต่อการจำแนกประเภทของสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่ม
เซต เป็นคำที่ใช้บ่งบอกถึงกลุ่มของสิ่งต่างๆ และเมื่อกล่าวถึงกลุ่มใดแน่นอนว่าสิ่งใดอยู่ในกลุ่ม สิ่งใดไม่อยู่ในกลุ่ม เช่น
เซตสระในภาษาอังกฤษ หมายถึง กลุ่มของอังกฤษ a, e, i, o และ u
เซตของจำนวนนับที่น้อยกว่า 10 หมายถึง กลุ่มตัวเลข 1,2,3,4,5,6,7,8,และ9
สิ่งที่ในเชตเรียกว่า สมาชิก ( element หรือ members )
เซต ม.4 เซต ก็คือ การบอกลักษณะที่เป็นกลุ่มของอะไรสักอย่าง เช่น เซตของจำนวนเฉพาะ หมายถึง กลุ่มของจำนวนเฉพาะ ดังนั้น สิ่งที่อยู่ในเซตนี้จะต้องเป็นจำนวนเฉพาะเท่านั้น เช่น 5 อยู่ในเซตของจำนวนเฉพาะ แต่ 8 ไม่อยู่ในเซตของจำนวนเฉพาะ
ซึ่งการอยู่ในเซต เรียกว่า เป็นสมาชิก สัญลักษณ์ คือ ∈
และถ้าไม่อยู่ในเซต เรียกว่า ไม่เป็นสมาชิก สัญลักษณ์ คือ ∉
ยูนิเวอร์ส
เวลาเราพูดสิ่งกลุ่มของอะไรสักอย่าง จะต้องมีการบอกขอบเขต เช่น เวลาพูดถึงกลุ่มของผู้หญิง ก็จะต้องดูว่าเรากำลังพูดกลุ่มของผู้หญิงจากกลุ่มใหญ่กลุ่มไหน เช่น กลุ่มของผู้หญิง จาก นักเรียนในห้องหนึ่ง จะได้ว่ากลุ่มที่่ใหญ่ที่สุดที่เป็นขอบเขตในการกล่าวถึงกลุ่มอื่น ๆ ในทีนี้คือนักเรียนทั้งหมดในห้องหนึ่ง