เรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง Set เซต ม.4- เพาเวอร์เซต(Power Set)
การหาสับเซตทั้งหมดของA
จำนวนสับเซตทั้งหมดหาได้จาก 2n เมื่อ n = จำนวนสมาชิกในเซต
ตัวอย่าง จงหาสับเซตทั้งหมดของ A เมื่อ A = {2, 4, 6, 8}
A จะมีสับเซตทั้งหมด 24 =16 สับเซต เมื่อแจกแจงสับเซตทั้งหมดจะได้ดังนี้
Ø
{2} {4} {6} {8}
{2, 4} {2, 6} {2, 8} {4, 6} {4, 8} {6, 8}
{2, 4, 6} {2, 6, 8} {2, 4, 8} {4, 6, 8}
{2, 4, 6, 8}
ความหมายของสับเซตแท้
สับเซตแท้ คือ สับเซตทั้งหมดที่ไม่ใช่ตัวมันเอง มี 2n – 1 สับเซต (เซตว่างไม่มีสับเซตแท้)
นิยาม A เป็นสับเซตแท้ของ B ก็ต่อเมื่อ A⊂B และ A ≠ B
ซึ่งจะได้รูปดังภาพ
การหาจำนวนสับเซตทั้งหมดของ A
หลักในการเขียนสับเซตทั้งหมดของเซตๆหนึ่งที่โจทย์กำหนดมาทำโดย เริ่มเขียนตั้งแต่เซตว่าง แล้วตามด้วยเซตที่มีสมาชิก 1 ตัว, 2 ตัว ไปเรื่อยๆ จนมีสมาชิกเท่ากับเซตที่โจทย์กำหนดมา (ตัวมันเอง) โดยสมาชิกที่นำมาใช้เขียนต้องเป็นสมาชิกของเซตที่โจทย์กำหนดมาด้วย
ตัวอย่าง จงเขียนสับเซตทั้งหมดของเซตต่อไปนี้
1. A = Ø สับเซตทั้งหมดของ A มี 1 สับเซต คือ Ø
2. B = {1} สับเซตทั้งหมดของ B มี 2 สับเซต คือ 1) Ø 2) {1}
3. C = {1,3} สับเซตทั้งหมดของ C มี 4สับเซต คือ 1) Ø 2) {1} 3) {3} 4) {1,3}
4. D = {1,3,5} สับเซตทั้งหมดของ D มี 4 สับเซต คือ1) Ø 2) {1} 3) {3} 4) {5} 5) {1,3} 6)
{1,5} 7) {3,5} 8) { 1,3,5}