โครงสร้างของโลก
หลังการถือกำเนิดเมื่อกว่า 4,500 ล้านปีที่แล้ว โลก (Earth) ผ่านการปะทะและหลอมรวมกันของสสาร กลุ่มก๊าซ และธาตุต่างๆ มากมาย จากเศษซากการกำเนิดของดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะ จนมีมวล ขนาดและรูปร่างอย่างที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงภายในดาวเคราะห์หินดวงนี้ไม่เคยหยุดนิ่ง
การเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดทั้งประโยชน์และอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ดังนั้น โครงสร้างของโลก และองค์ประกอบภายใน จึงยังคงเป็นหัวข้อสำคัญ สำหรับนักวิทยาศาสตร์ในการศึกษาและทำความเข้าใจต่อดาวเคราะห์ดวงเดียวในจักรวาล ณ ขณะนี้ ที่มีปัจจัยสมบูรณ์ต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต
1. คลื่นในตัวกลาง (Body wave)
คลื่นในตัวกลาง (Body wave) คือ คลื่นที่สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง หรือ คลื่นที่สามารถเดินทางผ่านเข้าไปในเนื้อโลกได้ในทุกทิศทาง ประกอบไปด้วย
- คลื่นปฐมภูมิ (Primary wave: P wave) คือ คลื่นตามยาวที่สามารถเคลื่อนผ่านตัวกลางได้ทุกสถานะ ทั้งตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ คลื่นปฐมภูมิเป็นคลื่นไหวสะท้อนที่มีความเร็วสูงสุด (ราว 7 กิโลเมตร/วินาที) ส่งผลให้สถานีวัดแรงสั่นสะเทือนสามารถตรวจรับได้ก่อนคลื่นชนิดอื่น
- คลื่นทุติยภูมิ (Secondary wave: S wave) คือ คลื่นตามขวางที่สามารถเคลื่อนที่ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็ง มีความเร็วต่ำ (ราว 4 กิโลเมตร/วินาที)
2. ชั้นเนื้อโลก (Mantle)
ชั้นเนื้อโลกมีความหนาประมาณ 2,880 กิโลเมตร แบ่งแยกออกจากแก่นโลกชั้นนอกด้วยชั้นความไม่ต่อเนื่องวิเชิร์ตกูเทนเบิร์ก (Wiechert-Gutenberg Discontinuity) หรือชั้นความไม่ต่อเนื่องโอล์แดม (Oldham Discontinuity) มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแร่ซิลิเกต ทั้งนี้ ระหว่างเนื้อโลกมีชั้นทรานซิชัน (Transition Zone) แทรกอยู่ ซึ่งทำให้เราแบ่งเนื้อโลกได้เป็นเนื้อโลกชั้นล่างและเนื้อโลกชั้นบน
2.1 เนื้อโลกชั้นล่าง (Lower Mantle) มีความหนาประมาณ 2,100 กิโลเมตร มีสถานะเป็นของแข็ง
2.2 เนื้อโลกชั้นบน (Upper Mantle) มีความหนาประมาณ 700 กิโลเมตร แบ่งเป็นเนื้อโลกชั้นบนตอนล่างและเนื้อโลกชั้นบนตอนบน
1) เนื้อโลกชั้นบนตอนล่าง เรียกว่า ฐานธรณีภาค (Asthenosphere) มีลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อน จึงหยุ่นคล้ายดินน้ำมัน ในชั้นนี้มีความร้อนสูง ทำให้แร่บางส่วนหลอมละลายเป็นหินหนืด (Magma) ซึ่งจะมีการเคลื่อนที่ในลักษณะของกระแสหมุนวนด้วยการพาความร้อน
2) เนื้อโลกชั้นบนตอนบน มีลักษณะเป็นหินเนื้อแข็ง และเป็นฐานรองรับเปลือกโลกส่วนทวีป เรียกรวมกันว่า ธรณีภาค (Lithosphere)
3. แก่นโลก (Core)
แก่นโลก (Core) คือ โครงสร้างโลกชั้นในสุดอยู่ที่ระดับความลึก 2,900 กิโลเมตร จนถึงใจกลางโลก หรือ แก่นโลกชั้นใน (Inner core) โดยมีเหล็ก (Fe) และนิกเกิล (Ni) เป็นองค์ประกอบหลัก แก่นโลกมีรัศมีประมาณ 3,485 กิโลเมตร และมีอุณหภูมิราว 6,000 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถหลอมเหล็ก (Fe) และนิกเกิล (Ni) เป็นของเหลวได้ แต่ด้วยแรงดันมหาศาล ทำให้ใจกลางของโลกเป็นของแข็ง โดยมีเหล็ก (Fe) ในสถานะของเหลวเคลื่อนที่ล้อมรอบในบริเวณแก่นโลกชั้นนอก (Outer core) ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าด้วยการพาความร้อน และการเคลื่อนที่นี้ ยังก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กโลก (Magnetic field) อีกด้วย
ลักษณะพื้นผิวนอกของโลกในที่ต่างๆ จะมีลักษณะแตกต่างกัน มีทั้งพื้นดิน พื้นน้ำ ภูเขา และป่าทึบ ส่วนที่เป็นพื้นน้ำมีมากที่สุด ประมาณ 3 ใน 4 ส่วน หรือ 71% ของพื้นผิวโลก และเป็นพื้นดินประมาณ 1 ใน 4 ส่วน หรือ 29% ของพื้นผิวโลก
นักธรณีวิทยาได้แบ่งลักษณะโครงสร้างของโลกออกเป็น 3 ชั้น ดังนี้
ชั้นต่างๆของโลก |
บริเวณที่พบและความหนา |
ส่วนประกอบหรือลักษณะสำคัญ |
1.เปลือกโลก (Crust) แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1.1เปลือกโลกทวีป (Continental Crust)
1.2เปลือกโลกมหาสมุทร (Oceanic Crust) |
-ชั้นนอกสุดของโลก -หนาประมาณ 5-35 กิโลเมตร
-ตั้งแต่เปลือกโลกลงไปหนาเฉลี่ย 35 กิโลเมตร
-มีความหนาเฉลี่ย 5 กิโลเมตร |
-ความหนา อุณหภูมิ ความดัน แความหนาแน่น น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับโครงสร้างชั้นอื่นๆ -เป็นเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีปและไหล่ทวีป เปลือกโลกทวีปส่วนที่หนาจะอยู่บริเวณใต้เทือกเขาสูงใหญ่ -เป็นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทรต่างๆ |
2.เนื้อโลก หรือ ชั้นแมนเทิล (Mantle) แบ่งเป็น 2 ชั้น ดังนี้ 2.1 เนื้อโลกตอนบน (Upper Mantle)
2.2 เนื้อโลกตอนล่าง (Lower Mantle) |
-อยู่ถัดจากเปลือกโลกลงไปจนถึงแก่นโลก -หนาประมาณ 2,885 กิโลเมตร -อยู่ถัดจากผิวโลกลึกลงมาประมาณ 100-350 กิโลเมตร -หนาประมาณ 665-695 กิโลเมตร -อยู่ถัดจากเนื้อโลกตอนบนลึกเข้าไปด้านใน -หนาประมาณ 2,190-2,200 กิโลเมตร |
-เป็นชั้นที่มีอุณหภูมิ ความดัน และความหนาแน่นสูงกว่าเปลือกโลก แต่น้อยกว่าแก่นโลก -มีสถานะเป็นของแข็ง -มีสารเริ่มต้นที่จะหลอมเหลวเป็นหินหลอมเหลวที่เรียกว่า แมกมา -มีสถานะเป็นของแข็ง |
3.แก่นโลก (Core) แบ่งเป็น 2 ขั้น ดังนี้
3.1 แก่นโลกชั้นนอก (Outer Core) 3.2 แก่นโลกชั้นใน (Inner Core) |
-ชั้นในสุดของโลก -หนาประมาณ 3,486 กิโลเมตร
-มีความหนาประมาณ 2,270 กิโลเมตร -มีความหนาประมาณ 1,216 กิโลเมตร
|
-ส่วนใหญ่ประกอบด้วยธาตุเหล็ก(Fe)และนิเกิล(Ni)และมีความหนาแน่น ความดัน และอุณหภูมิสูงที่สุด มีทั้งส่วนที่เป็นของแข็งและของเหลว (หินหนืด) -มีลักษณะเป็นของเหลวหนืด
-มีสถานะเป็นของแข็ง |
ขอบคุณขัอมูล https://ngthai.com/