การทดลองสุ่มและแซมเปิลสเปซ
การทดลองสุ่ม คือ การทดลองซึ่งทราบว่าผลลัพธ์อาจจะเป็นอะไรได้บ้าง แต่ไม่สามารถบอกได้อย่างถูกต้องแน่นอนว่าในแต่ละครั้งที่ทดลองผลที่เกิดขึ้นจะเป็นอะไรในบรรดาผลลัพธ์ที่อาจเป็นได้เหล่านั้น
บทนิยาม แซมเปิลสเปซ คือ เซตที่มีสมาชิกเป็นผลลัพธ์ที่อาจจะเป็นไปได้ทั้งหมดของการทดลองสุ่ม
ตัวอย่างที่ 1 ทอดลูกเต๋า 2 ลูก 1 ครั้ง ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจ คือ แต้มที่ได้ จงหา ก. เหตุการณ์ที่ผลรวมของแต้มเป็น 4 ข. เหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้มเหมือนกัน
S = { (1,1),(1,2),(1,3),(1,4),(1,5),(1,6)
(2,1),(2,2),(2,3),(2,4),(2,5),(2,6)
(3,1),(3,2),(3,3),(3,4),(3,5),(3,6),
(4,1),(4,2),(4,3),(4,4),(4,5),(4,6),
(5,1),(5,2),(5,3),(5,4),(5,5),(5,6)
(6,1),(6,2),(6,3),(6,4), (6,5),(6,6) }
ตัวอย่างที่ 2 การทอดลูกเต๋าลูกเดียวหนึ่งครั้ง ถือว่าเป็นการทดลองสุ่มเพราะสามารถบอกได้ว่าผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นคือแต้ม 1, 2, 3, 4, 5 หรือ 6 แต่บอกไม่ได้แน่นอนว่าเมื่อทอดลูกเต๋าแล้วจะได้แต้มใด
การทดลองสุ่มที่กล่าวข้างต้น ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจ คือ แต้มที่จะได้และให้ S1 แทนแซมเปิลสเปซของการทดลองนี้
จะได้ S1 = { 1, 2, 3, 4, 5, 6 }
แต่ถ้าสนใจเพียงว่าเต้มที่ได้จะเป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่ ผลที่ได้จากการทดลองอาจจะเป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่อย่างใดอย่างหนึ่ง และถ้าให้ S2 เป็นแซมเปิลสเปซของการทดลองสุ่มนี้แล้วจะได้ S2 = { จำนวนคู่, จำนวนคี่ }
จะเห็นว่าในการทดลองสุ่มเดียวกันอาจเขียนแซมเปิลสเปซได้มากกว่าหนึ่งแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่สนใจ
ตัวอย่างที่ 3 ในการตรวจสภาพของสินค้าชนิดหนึ่งซึ่งผลิตจากเครื่องจักรโดยการหยิบขึ้นมาตรวจ 3 ชิ้น หยิบทีละชิ้นโดยไม่เจาะจงถือว่าเป็นการทดลองสุ่ม ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจคือสภาพของสินค้าทั้ง 3 ชิ้น ที่หยิบขึ้นมาว่าชำรุดหรือไม่ชำรุด ให้สินค้าที่ชำรุดแทนด้วย “ช” และสินค้าที่ไม่ชำรุดแทนด้วย “ม” แซมเปิลสเปซจะเป็นเซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกดังนี้
S1 = { ชชช, ชชม, ชมช, มชช, ชมม, มชม, มมช, มมม }
แต่ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจคือ จำนวนชิ้นที่ชำรุดโดยไม่สนใจว่าเรียงลำดับอย่างไร แซมเปิลสเปซ คือ S2 = { 0, 1, 2, 3 }
ตัวอย่างที่ 4 จงเขียนแซมเปิลสเปซของการทดลองสุ่มในแต่ละข้อต่อไปนี้
(1) ทีมฟุตบอล ก ลงแข่งกับทีมฟุตบอล ข และสนใจผลการแข่งขันของทีม ก
(2) โยนเหรียญหนึ่งอันสี่ครั้งและสนใจจำนวนครั้งที่ขึ้นหัว
(3) ผลิตหลอดไฟฟ้า และสนใจจำนวนหลอดที่เสียเมื่อผลิตครบ 24 ชั่วโมง
(4) หยิบลูกปิงปองหนึ่งลูกออกมาจากกล่องซึ่งมีลูกปิงปองสีขาว สีแดง และสนใจว่าได้ลูกปิงปองสีใด
วิธีทำ ให้ S1, S2, S3 และ S4 เป็นแซมเปิลสเปซของการทดลองสุ่มที่ต้องการตามลำดับ จะได้
S1 = { ชนะ, แพ้, เสมอ }
S2 = { 0, 1, 2, 3, 4 }
S3 = { 0, 1, 2, 3, …, M } เมื่อ M เป็นจำนวนหลอดไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้สูงสุดได้ 24 ชั่วโมง
S4 = { สีขาว, สีแดง }
เหตุการณ์ (Events)
ในการทดลองเรามักจะสนใจเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของเหตุการณ์มากกว่าสนใจในสมาชิกทั้งหมดของแซมเปิลสเปซ เช่น เมื่อทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง เราสนใจในเหตุการณ์ A เมื่อเหตุการณ์ A คือการทอดลูกเต๋าแล้วได้แต้มเป็นจำนวนคู่ เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อผลลัพธ์เป็นสมาชิกของเซต A = {2, 4, 6} ซึ่งเป็นสับเซตของแซมเปิลสเปซ S = { 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 }
เหตุการณ์ คือ สับเซตของแซมเปิลสเปซ นิยมใช้สัญลักษณ์ E แทนเหตุการณ์
จะได้ว่า S และ f ก็เป็นเหตุการณ์ด้วย
ตัวอย่างที่ 5 ในการโยนลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจคือ แต้มที่ได้
จะได้ S = { 1,2,3,4,5,6 }
ถ้าให้ E1 เป็นเหตุการณ์ที่ได้แต้มซึ่งหารด้วย 3 ลงตัว จะได้ E1 = { 3,6 }
E2 เป็นเหตุการณ์ที่ได้แต้มมากกว่า 2 จะได้ E2 = { 3,4,5,6 }
ในกรณีทั่วไปเราจะใช้สัญลักษณ์
n(S) แทนจำนวนสมาชิกในแซมเปิลสเปซ S
n(E) แทนจำนวนสมาชิกในเหตุการณ์ E
จากตัวอย่างที่ 6 จะได้ว่า n(S) = 6 , n(E1) = 2 และ n(E2) = 4
ตัวอย่างที่ 6 โยนเหรียญ 2 เหรียญ 1 ครั้ง ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจ คือ หน้าของเหรียญที่ขึ้น จงหา
ก. เหตุการณ์ที่ได้หัวสองเหรียญ
ข. เหตุการณ์ที่เหรียญขึ้นหน้าเดียวกัน
วิธีทำ จะได้ S = { HH,HT,TH,TT }
ก. เหตุการณ์ที่ได้หัวสองเหรียญ คือ E1 = { HH }
ข. เหตุการณ์ที่เหรียญขึ้นหน้าเดียวกัน คือ E2 = { HH , TT }
ตัวอย่างที่ 7 ทอดลูกเต๋า 2 ลูก 1 ครั้ง ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจ คือ แต้มที่ได้ จงหา
ก. เหตุการณ์ที่ผลรวมของแต้มเป็น 4
ข. เหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้มเหมือนกัน
วิธีทำ จะได้ S = { (1,1),(1,2),(1,3),(1,4),(1,5),(1,6)
(2,1),(2,2),(2,3),(2,4),(2,5),(2,6)
(3,1),(3,2),(3,3),(3,4),(3,5),(3,6)
(4,1),(4,2),(4,3),(4,4),(4,5),(4,6)
(5,1),(5,2),(5,3),(5,4),(5,5),(5,6)
(6,1),(6,2),(6,3),(6,4), (6,5),(6,6) }
เหตุการณ์ที่ผลรวมของแต้มเป็น 4 คือ E1 = { (1,3),(2,2),(3,1) }
เหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้มเหมือนกัน E2 = { (1,1),(2,2),(3,3),(4,4),(5,5),(6,6)}
ตัวอย่างที่ 8 ทอดลูกเต๋า 2 ลูก 1 ครั้ง ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจ คือ ผลรวมของแต้มที่ได้ เป็น 2,3,4,5,6,7,8,9,10,11 และ 12 จงหา
ก. เหตุการณ์ที่ผลรวมแต้มของลูกเต๋าทั้งสองลูกเป็นจำนวนที่หารด้วย 3 ลงตัว
ข. เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมแต้มของลูกเต๋าทั้งสองลูกมากกว่า 12
ค. เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมแต้มของลูกเต๋าทั้งสองเป็นจำนวนเฉพาะ
วิธีทำ จะได้ S = { 2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12 }
เหตุการณ์ที่ผลรวมแต้มของลูกเต๋าทั้งสองลูกเป็นจำนวนที่หารด้วย 3 ลงตัว คือ
E1 = { 3,6,9,12 }
เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมแต้มของลูกเต๋าทั้งสองลูกมากกว่า 12 คือ E2 =
เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมแต้มของลูกเต๋าทั้งสองเป็นจำนวนเฉพาะ คือ E3 = { 2,3,5,7,11}
ข้อสังเกต
1. เพราะว่า f Ì S ดังนั้น f เป็นเหตุการณ์
2. เพราะว่า S Ì S ดังนั้น S เป็นเหตุการณ์
3. เนื่องจาก S เป็นเซตจำกัด ถ้า E เป็นเหตุการณ์แล้ว
3.1 E เป็นเซตจำกัด
3.2 0 n(E) n(S)
3.3 n(E) = 0 ก็ต่อเมื่อ E = f
3.4 n(E) = n(S) ก็ต่อเมื่อ E = S
ตัวอย่าง 9 ในการโยนลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจคือ แต้มที่ได้
จะได้ S = { 1,2,3,4,5,6 }
ถ้าให้ E1 เป็นเหตุการณ์ที่ได้แต้มซึ่งหารด้วย 3 ลงตัว จะได้ E1 = { 3,6 }
E2 เป็นเหตุการณ์ที่ได้แต้มมากกว่า 2 จะได้ E2 = { 3,4,5,6 }
ในกรณีทั่วไปเราจะใช้สัญลักษณ์
n(S) แทนจำนวนสมาชิกในแซมเปิลสเปซ S
n(E) แทนจำนวนสมาชิกในเหตุการณ์ E
จะได้ว่า n(S) = 6 , n(E1) = 2 และ n(E2) = 4