การนำเมทริกซ์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ในระดับอุดมศึกษาจึงมีการนำไปประยุกต์ใช้ในสาขาต่างๆ โดยในการเรียนวิชาพีชคณิตเชิงเส้น ได้มีการกล่าวถึงการประยุกต์ใช้ในหลากหลายสาขา ที่มีการนำสมการเชิงเส้นไปใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ และความสัมพันธ์ต่างๆ ดังนี้
- การประยุกต์ทางธุรกิจ
- การประยุกต์ทางเศรษฐศาสตร์
- การประยุกต์ทางฟิสิกส์ (วงจรไฟฟ้า)
- การวิเคราะห์การเลื่อนไหลของการจราจร
ซึ่งแต่ละประเด็นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การประยุกต์ทางธุรกิจ/อุตสาหกรรม
ตัวอย่างที่ โรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งมีเครื่องจักร 3 เครื่อง เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าที่แตกต่างกัน 4 ชนิด เครื่องจักรแต่ละเครื่องสามารถทำงานได้วันละ 8 ชั่วโมง และจำนวนชั่วโมงที่เครื่องจักรแต่ละเครื่องในใจการผลิตสินค้าแต่ละชนิด ต่อ 1 ชิ้น กำหนดดังนี้
ชนิดที่ 1 |
ชนิดที่ 2 |
ชนิดที่ 3 |
ชนิดที่ 4 |
|
เครื่องที่ 1 |
1 |
2 |
1 |
2 |
เครื่องที่ 2 |
2 |
0 |
1 |
1 |
เครื่องที่ 3 |
1 |
2 |
3 |
0 |
จงหาจำนวนสินค้าแต่ละชนิดที่ผลิตได้ใน 1 วัน เมื่อกำหนดให้เครื่องจักรแต่ละตัวทำงานครบ 8 ชั่วโมง
วิธีทำ สมมติให้ w แทน จำนวนสินค้าชนิดที่ 1 ที่ผลิตได้ใน 1 วัน
x แทน จำนวนสินค้าชนิดที่ 2 ที่ผลิตได้ใน 1 วัน
y แทน จำนวนสินค้าชนิดที่ 3 ที่ผลิตได้ใน 1 วัน
z แทน จำนวนสินค้าชนิดที่ 4 ที่ผลิตได้ใน 1 วัน
ดังนั้น จำนวนชั่วโมงทำงานของเครื่องจักรเครื่องที่ 1 เท่ากับ 1w + 2x + 1y + 2z
จำนวนชั่วโมงทำงานของเครื่องจักรเครื่องที่ 2 เท่ากับ 2w + 0x + 1y + 1z
จำนวนชั่วโมงทำงานของเครื่องจักรเครื่องที่ 3 เท่ากับ 1w + 2x + 3y + 0z
จากที่กำหนดให้ว่า เครื่องจักรแต่ละเครื่องทำงานวันละ 8 ชั่วโมง ดังนั้น จะได้ระบบของสมการเชิงเส้น ดังต่อไปนี้
w + 2x + y + 2z = 8
2w + y + z = 8
w + 2x + 3y = 8
การวิเคราะห์การเลื่อนไหลของการจราจร
ถ้ามีแผนผังของการจราจรในรูปแบบของการเดินรถทางเดียว พร้อมทั้งมีการสำรวจจำนวนรถที่เข้าหา หรือออกจากสี่แยก เราสามารถนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาจำนวนรถบนเส้นทางที่ต้องการได้ และจากคำตอบดังกล่าวนี้ หากเราทราบว่านถนนสายใดมีปัญหาที่อาจจะส่งผลถึงการจราจร เช่น การก่อสร้าง ก็อาจจะวิเคราะห์ต่อไปถึงจำนวนรถที่เหมาะสมได้
เมทริกซ์ไปประยุกต์ใช้การประยุกต์ทางฟิสิกส์ (วงจรไฟฟ้า)
การนำเมทริกซ์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
“เมทริกซ์” เป็นเนื้อหาหนึ่งในวิชาคณิตสาสตร์เพิ่มเติม ม.4 ศึกษาเกี่ยวกับตัวแบบชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเมทริกซ์ และมีการประยุกต์ในการแก้ระบบสมการเชิงเส้น
ในระดับอุดมศึกษาจึงมีการนำไปประยุกต์ใช้ในสาขาต่างๆ โดยในการเรียนวิชาพีชคณิตเชิงเส้น ได้มีการกล่าวถึงการประยุกต์ใช้ในหลากหลายสาขา ที่มีการนำสมการเชิงเส้นไปใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ และความสัมพันธ์ต่างๆ ดังนี้
- การประยุกต์ทางธุรกิจ
- การประยุกต์ทางเศรษฐศาสตร์
- การประยุกต์ทางฟิสิกส์ (วงจรไฟฟ้า)
- การวิเคราะห์การเลื่อนไหลของการจราจร
การประยุกต์ทางธุระกิจ
ตัวอย่างที่ โรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งมีเครื่องจักร 3 เครื่อง เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าที่แตกต่างกัน 4 ชนิด เครื่องจักรแต่ละเครื่องสามารถทำงานได้วันละ 8 ชั่วโมง และจำนวนชั่วโมงที่เครื่องจักรแต่ละเครื่องในใจการผลิตสินค้าแต่ละชนิด ต่อ 1 ชิ้น กำหนดดังนี้
ชนิดที่ 1
|
ชนิดที่ 2
|
ชนิดที่ 3
|
ชนิดที่ 4
|
|
เครื่องที่ 1
|
1
|
2
|
1
|
2
|
เครื่องที่ 2
|
2
|
0
|
1
|
1
|
เครื่องที่ 3
|
1
|
2
|
3
|
0
|
จงหาจำนวนสินค้าแต่ละชนิดที่ผลิตได้ใน 1 วัน เมื่อกำหนดให้เครื่องจักรแต่ละตัวทำงานครบ 8 ชั่วโมง
วิธีทำ สมมติให้ w แทน จำนวนสินค้าชนิดที่ 1 ที่ผลิตได้ใน 1 วัน
x แทน จำนวนสินค้าชนิดที่ 2 ที่ผลิตได้ใน 1 วัน
y แทน จำนวนสินค้าชนิดที่ 3 ที่ผลิตได้ใน 1 วัน
z แทน จำนวนสินค้าชนิดที่ 4 ที่ผลิตได้ใน 1 วัน
ดังนั้น จำนวนชั่วโมงทำงานของเครื่องจักรเครื่องที่ 1 เท่ากับ 1w + 2x + 1y + 2z
จำนวนชั่วโมงทำงานของเครื่องจักรเครื่องที่ 2 เท่ากับ 2w + 0x + 1y + 1z
จำนวนชั่วโมงทำงานของเครื่องจักรเครื่องที่ 3 เท่ากับ 1w + 2x + 3y + 0z
จากที่กำหนดให้ว่า เครื่องจักรแต่ละเครื่องทำงานวันละ 8 ชั่วโมง ดังนั้น จะได้ระบบของสมการเชิงเส้น ดังต่อไปนี้
w + 2x + y + 2z = 8
2w + y + z = 8
w + 2x + 3y = 8
ซึ่งสร้างเป็นเมทริกซ์แต่งเติมของระบบสมการเชิงเส้นได้ดังนี้
เมื่อใช้การดำเนินการตามแถวเบื้องต้นจะได้เมทริกซ์แบบขั้นบันไดแบบแถว ดังนี้
จากเมทริกซ์นี้ ทำให้เราได้ระบบสมการเชิงเส้น ดังนี้
w + 2x + y + z = 4
x + y + z = 2
y – z = 0
ซึ่งจะได้คำตอบของระบบสมการดังนี้
w = 4 – s
x = 2 – s
y = s
z = s
เมื่อ s เป็นจำนวนใดๆ แต่เนื่องจาก w, x, y, z เป็จำนวนเต็มบวกหรือศูนย์ (จำนวนสินค้า)
ดังนั้น 4 – s ≥ 0 และ 2 – s ≥ 0
นั่นคือ s ≤ 4 และ s ≤ 2
ดังนั้น 0 £ s £ 2 จะได้ s = 0, 1, 2 แสดงว่าคำตอบของปัญหามีอยู่ 3 คำตอบ คือ
แต่ถ้าระบุเงื่อนไขเพิ่มเติมอีกว่า เครื่องจักรแต่ละเครื่องต้องผลิตสินค้าได้ทุกชนิด คำตอบของปัญหานี้จะเหลือเพียงคำตอบเดียว คือ
การวิเคราะห์การเลื่อนไหลของการจราจร
ถ้ามีแผนผังของการจราจรในรูปแบบของการเดินรถทางเดียว พร้อมทั้งมีการสำรวจจำนวนรถที่เข้าหา หรือออกจากสี่แยก เราสามารถนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาจำนวนรถบนเส้นทางที่ต้องการได้ และจากคำตอบดังกล่าวนี้ หากเราทราบว่านถนนสายใดมีปัญหาที่อาจจะส่งผลถึงการจราจร เช่น การก่อสร้าง ก็อาจจะวิเคราะห์ต่อไปถึงจำนวนรถที่เหมาะสมได้
ตัวอย่างสถานการณ์
ในรูปที่กำหนดให้ต่อไปนี้ แสดงเครือข่ายการจราจรบนถนนสายต่างๆ ในเมืองแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นถนนที่มีการเดินรถทางเดียวทั้งหมด โดยทิศทางของการเดินรถแสดงได้ด้วยลูกศรในรูป จำนวน ปรากฏในรูปแทนจำนวนรถใน 1 ชั่วโมงที่เข้าหา หรือออกจากจุดสี่แยกต่างๆ และตัวแปร x1, x2, …, x7 แทนจำนวนรถใน 1 ชั่วโมงที่ผ่านจากจุด A ไปยังจุด B จากจุด B ไปยังจุด C เป็นต้น
ถ้าหากเราตั้งสมมติฐานว่า ไม่มีการหยุดการเลื่อนไหลของการจราจร จำนวนรถที่เข้าหาสี่แยกเท่ากับจำนวนรถที่ออกจากสี่แยกนั้น จงวิเคราะห์หา x1, x2, …, x7
วิธีทำ
จากข้อมูลที่กำหนดให้ จะได้ระบบสมการเชิงเส้น ดังต่อไปนี้
x1 + x3 = 800 (การเลื่อนไหนที่สี่แยก A)
x1 – x2 + x4 = 200 (การเลื่อนไหนที่สี่แยก B)
x2 – x5 = 500 (การเลื่อนไหนที่สี่แยก C)
– x5 + x7 = 50 (การเลื่อนไหนที่สี่แยก D)
x4 + x6 – x7 = 600 (การเลื่อนไหนที่สี่แยก E)
x3 + x6 = 750 (การเลื่อนไหนที่สี่แยก F)
จะได้เมทริกซ์แต่งเติมของระบบสมการข้างต้น คือ
x1 = 50 + x6
x2 = 450 + x7
x3 = 750 – x6
x4 = 600 – x6 + x7
x5 = -50 + x7
x6 = x6
x7 = x7
เนื่องจาก xi ³ 0 (เพราะว่า สถานการณ์นี้เป็นการเดินรถทางเดียว ถ้าหากมี xi < 0 จะทำให้เกิดการเดินรถที่ผิดทางกัน)
ดังนั้น x3 = 750 – x6 > 0
ดังนั้น 0 < x6 < 750
ทำนองเดียวกัน x5 = -50 + x7 > 0
x7 > 50
ถ้าสมมติว่า ถนนที่เชื่อมระหว่างสี่แยก D และ E อยู่ใรระหว่างการก่อสร้าง จึงต้องการให้รถผ่านเส้นทางนี้น้อยที่สุด จะได้ว่า x7 = 50 ซึ่งทำให้ x2 = 500 และ x5 = 0
แสดงว่า ต้องปิดการถนนที่เชื่อมระหว่างสี่แยก C และ D
ในทางกลับกัน ถ้าปิดถนนสายที่เชื่อมระหว่าง C และ D จะได้ x5 = 0 ซึ่งทำให้ x7 = 50 ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยที่สุด
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า จำนวนรถบนถนนที่เชื่อมระหว่าง D และ E น้อยที่สุด ก็ต่อเมื่อต้องปิดถนนสายที่เชื่อมระหว่าง C และ D
ในขณะเดียวกัน ถ้าต้องการให้ x6 มีค่าน้อยที่สุดด้วย จาก (1) จะได้ว่า x6 = 0
ดังนั้น x1 = 50, x2 = 500, x3 = 750, x4 = 650, x5 = 0, x7 = 50