การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
การสร้างตารางแจกแจงความถี่
ความกว้างของอันตรภาคชั้น = พิสัย / จำนวนชั้น
เมื่อ พิสัย คือ ผลต่างระหว่างข้อมูลที่มีค่าสูงสุดกับข้อมูลที่มีค่าต่ำสุด (เศษปัดเป็นจำนวนเต็ม)
|
อันตรภาคชั้น | ความถี่ |
10.0 – 19.9 | 2 |
20.0 – 29.9 | 5 |
30.0 – 39.9 | 8 |
40.0 – 49.9 | 12 |
50.0 – 59.9 | 3 |
อันตรภาคชั้น | ความถี่ |
10 </= x < 20 | 2 |
20 </= x < 30 | 5 |
30 </= x < 40 | 8 |
40 </= x < 50 | 12 |
50 </= x < 60 | 3 |
คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ | ความถี่ |
15 – 19 | 3 |
20 – 24 | 2 |
25 – 29 | 6 |
30 – 34 | 12 |
35 – 39 | 8 |
40 – 44 | 6 |
45 – 49 | 3 |
คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ | ความถี่ |
15 – 20 | 3 |
21 – 26 | 4 |
27 – 32 | 9 |
33 – 38 | 11 |
39 – 44 | 10 |
45 – 50 | 3 |
ส่วนประกอบของตารางแจกแจงความถี่ข้อมูล
1.อันตรภาคชั้น (Class Interval)
ช่วงของข้อมูลที่แบ่งออกเป็นช่วงๆ ในแต่ละช่วงคือค่าที่เป็นไปได้ของข้อมูล โดยอันตรภาคชั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อตารางแจกแจงความถี่นั้นเป็นประเภทการแจกแจงความถี่แบบจัดกลุ่ม โดยถ้าเป็นแบบไม่ได้จัดกลุ่มก็จะเป็นข้อมูลเดี่ยว ๆ ไม่ได้เป็นช่วง
2.ขอบบน ขอบล่าง (Upper – Lower Boundary)
ขอบบนของอันตรภาคชั้นใด หมายถึง ค่ากึ่งกลางระหว่างค่าที่เป็นไปได้สูงสุดของอันตรภาคชั้นนั้น กับค่าที่เป็นไปได้ต่ำสุดของอันตรภาคชั้นติดกันถัดไปเช่น อันตรภาคชั้น 21 – 30 และ 31 – 40 จะสามารถคำนวณขอบบนของอัรตรภาคชั้นของ 21 – 30 ได้โดยนำเอาค่าสูงสุดของอันตรภาคชั้น 21 – 30 คือค่า 30 มารวมกับค่าต่ำสุดของอันตรภาคชั้น 31 – 40 นั่นคือ 31 พอรวมค่าแล้วนำมาหาร 2 จะได้เท่ากับ 30.5 ซึ่งเป็นขอบบนของอันตรภาคชั้น 21 – 30 และยังเป็นขอบล่างของอันตรภาคชั้น 31 – 40 ด้วย
3.ความกว้างของอันตรภาคชั้น (Class Interval)
ผลต่างของขอบบนและขอบล่างของอันตรภาคชั้นนั้น นิยมเขียนแทนด้วย I เช่น อันตรภาคชั้น 21 – 30 มีความกว้างเท่ากับ 20.5 – 30.5 = 10 อันตรภาคชั้น 31 – 40 มีความกว้างเท่ากับ 30.5 – 40.5 = 10 เป็นต้น
4.จุดกึ่งกลาง (Mid point)
จุดกึ่งกลางของอันตรภาคชั้นใด คือ ค่าเฉลี่ยของช่วงคะแนนในอันตรภาคชั้นนั้นๆ จุดกึ่งกลางของอันตรภาคชั้นใด = (ขอบบน + ขอบล่าง) / 2 (ของอันตรภาคชั้นนั้นๆ)
5.ความถี่ (Frequency)
ความถี่ของอันตรภาคชั้นใดหมายถึงจำนวนข้อมูล (ค่าจากการสังเกต) ที่ปรากฏอยู่ในช่วงคะแนนหรืออันตรภาคชั้นนี้
สรุป
ตารางแจกแจงความถี่ข้อมูลนับเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่มีความสำคัญและมีความง่ายต่อการเข้าใจในการสรุปข้อมูลที่มีความซับซ้อนให้กระชับ ผู้อ่านสามารถตีความได้ภายในระยะเวลาอันสั้นส่งผลให้เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่หลายคนมักจะใช้ในการนำเสนอข้อมูล ดังนั้นการเรียนรู้ถึงการแจกแจงความถี่ข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับมือใหม่ที่กำลังหัดเรียนรู้เรื่องของสถิติ