การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต
การแปลงสภาพทางเรขาคณิต
แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ การเลื่อนขนาน การหมุน การสะท้อน
การเลื่อนขนาน (Translation) คือ การเลื่อนทุกจุดในรูปหน่่งไปบนระนาบ ตามแนวเส้นตรงในทิศทางเดียวกันและเป็นระยะทางเท่ากัน เช่น เลื่อนรูปสามเหลี่ยม ABC ไปทางขวา 10 เซนติเมตร ทุกจุดในรูปสามเหลี่ยม ABC ถูกเลื่อนไปอยู่ในรูปสามเหลี่ยม A’B’C’
การหมุน (Rotation) คือ การหมุนทุกจุดในรูปไปบนระนาบรอบจุดหมุนจุดหน่่งในทิศทางเดียวกันด้วยมุมเท่ากันการหมุนรูปใดๆ มีสิ่งที่ต้องรู้ 3 อย่าง คือ จุดหมุน ทิศทางการหมุน และขนาดมุมในการหมุน
การสะท้อน (Reflection) คือ การเลื่อนทุกจุดในรูปไปอยู่อีกฝั่งของเส้นสะท้อน (หรือจุดสะท้อน) โดยทุกจุดของรูปที่สะท้อนห่างจากเส้นสะท้อนเป็นระยะทางเท่ากับที่รูปต้นแบบห่างจากเส้นสะท้อน (หลักการเดียวกับกระจกเงา)
การเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม
สามเหลี่ยมสองรูปเท่ากันทุกประการก็ต่อเมื่อสามเหลี่ยมทั้งสองทับกันได้สนิทพอดี(ความยาวเท่ากัน 3 ด้าน และมุมเท่ากัน 3 มุม)
ความสัมพันธ์ที่ใช้ตรวจสอบความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม ได้แก่
-
ความสัมพันธ์แบบ ด้าน – ด้าน – ด้าน (ด.ด.ด.)
-
ความสัมพันธ์แบบ ด้าน – มุม – ด้าน (ด.ม.ด.)
-
ความสัมพันธ์แบบ มุม – ด้าน – มุม (ม.ด.ม.)
-
ความสัมพันธ์แบบ มุม – มุม – ด้าน (ม.ม.ด.)
-
ความสัมพันธ์แบบ ฉาก – ด้าน – ด้าน (ฉ.ด.ด.)
-
ความสัมพันธ์แบบ ป้าน – ด้าน – ด้าน (ป.ด.ด.)