การหาค่าความจริงของประพจน์
ตารางค่าความจริงของประพจน์ที่มีตัวเชื่อมแบบต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วมีไว้เพื่อช่วยในการหาค่าว่าประพจน์ใดเป็นจริงหรือเป็นเท็จ เมื่อทราบค่าความจริงของประพจน์ย่อย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1 จงหาค่าความจริงของประโยค “เชียงใหม่และธนบุรีเคยเป็นเมืองหลวงของไทย”
วิธีทำ | ให้ | p | แทน | เชียงใหม่เคยเป็นเมืองหลวงของไทย |
ให้ | q | แทน | ธนบุรีเคยเป็นเมืองหลวงของไทย | |
ประโยคที่กำหนดให้อยู่ในรูป p Λ q | ||||
เนื่องจาก p เป็นเท็จ และ q เป็นจริง จะได้ p Λ q เป็นเท็จ | ||||
ดังนั้น ประโยค “เชียงใหม่และธนบุรีเคยเป็นเมืองหลวงของไทย” มีค่าความจริงเป็นเท็จ |
ตัวอย่างที่ 2 กำหนดให้ a, b และ c เป็นประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็น จริง จริง และเท็จ ตามลำดับ จงหาค่าความจริงของประพจน์ (a Λ b) c
วิธีทำ | จาก a เป็นจริง และ b เป็นจริง จะได้ a Λ b เป็นจริง |
จาก a Λ b เป็นจริง และ c เป็นเท็จ | |
จะได้ (a Λ b) c เป็นจริง |
ตัวอย่างที่ 3 จงหาค่าความจริงของประพจน์ ~(a → ~b) เมื่อ a, b เป็นประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นจริง
วิธีทำ | จาก b เป็นจริง จะได้ ~b เป็นเท็จ |
จาก a เป็นจริง และ ~b เป็นเท็จ จะได้ a → ~b เป็นเท็จ | |
ดังนั้น ~(a → ~b) มีค่าความจริงเป็นจริง |
ในการหาค่าความจริงของประพจน์ที่มีตัวเชื่อมอาจทำได้รวดเร็วขึ้นโดยใช้แผนภาพดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 4 กำหนดให้ p, q, r และ s เป็นประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็น จริง เท็จ เท็จ และจริง ตามลำดับ จงหาค่าความจริงของประพจน์ [(p Λ q) r] → (p s)
ดังนั้น ประพจน์ [(p Λ q) r] → (p s) มีค่าความจริงเป็นจริง
หมายเหตุ | การหาค่าความจริงของประพจน์ที่มีตัวเชื่อมตั้งแต่สองตัวขึ้นไป จะหาค่าความจริงของประพจน์ย่อยในวงเล็บก่อน แต่ถ้า |
ประพจน์นั้นไม่ได้ใส่วงเล็บให้หาค่าความจริงของตัวเชื่อม “~” ก่อนแล้วจึงหาค่าความจริงของตัวเชื่อม “” , “Λ” จากนั้น | |
จึงหาค่าความจริงของตัวเชื่อม “→” และลำดับสุดท้ายเป็นการหาค่าความจริงของตัวเชื่อม “↔” |