การหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)
วิธีการหา ค.ร.น.
- 1.โดยการแยกตัวประกอบ มีวิธีการดังนี้
- แยกตัวประกอบของจำนวนทุกจำนวนที่ต้องการหา ค.ร.น.
- เลือกตัวประกอบตัวที่ซ้ำกันมาเพียงตัวเดียว
- เลือกตัวประกอบตัวที่ไม่ซ้ำกันมาทุกตัว
- นำจำนวนที่เลือกมาจากข้อ 2 และ 3 มาคูณกันทั้งหมด เป็นค่าของ ค.ร.น.
ตัวคูณร่วมน้อย ค.ร.น.
ตัวคูณร่วมน้อย หมายถึง จำนวนที่มีค่าน้อยที่สุดซึ่งจํานวนที่กําหนดให้ทั้งหมดสามารถหารจำนวนนั้นได้ลงตัว
ตัวอย่าง
จงหาตัวคูณร่วมน้อยของ 6 และ 9 ช่วงจำนวนที่ไม่เกิน 54
6 เป็นตัวประกอบของ 6, 12, (18), 24, 30, (36), 42, 48 , (54)
9 เป็นตัวประกอบของ 9, (18) , 27, (36) , 45, (54)
ตัวคูณร่วมของ 6 และ 9 คือ 18 , 36, 54
ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) คือ 18 (มีค่าน้อยสุด)
วิธีการหา ค.ร.น.
1. โดยการแยกตัวประกอบ มีวิธีการดังนี้
1) แยกตัวประกอบของจำนวนทุกจำนวนที่ต้องการหา ค.ร.น.
2) เลือกตัวประกอบตัวที่ซ้ำกันมาเพียงตัวเดียว
3) เลือกตัวประกอบตัวที่ไม่ซ้ำกันมาทุกตัว
4) นำจำนวนทีี่่่เลือกมาจากข้อ 2และ 3มาคูณกันทั้งหมด เป็นค่าของ ค.ร.น.
วิธีทำ 10 = 5 x 2
24 = 2 x 2 x 2 x 3
30 = 2 x 3 x 5
2. โดยการหารสั้น มีวิธีการดังนี้
1) นำจำนวนทั้งหมดที่ต้องการหา ค.ร.น. มาตั้งเรียงกัน
2) หาจำนวนเฉพาะที่สามารถหารจำนวนทั้งหมดได้ลงตัว หรือหารลงตัวอย่างน้อย 2 จำนวน จำนวนใดหารไม่ได้ให้ดึงลงมา
3) ให้ทำซ้ำข้อ 2 จนกว่าจะหารอีกไม่ได้
4) นำตัวหารทั้งหมดและผลลัพธ์สุดท้ายมาคูณกัน ผลคูณคือค่าของ ค.ร.น.
วิธีทำ 2) 10 24 30
5) 5 12 15
3) 1 12 3
1 4 1
ประโยชน์ของ ค.ร.น.
1. ใช้ในการหาผลบวกและผลลบของเศษส่วน โดยทำส่วนให้เท่ากัน
2. ใช้ในการคำนวณงานบางอย่างที่ใช้เวลาต่างกัน และหาเวลาที่จะทำพร้อมกันในครั้งต่อไป