สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ คือรูปแบบของการเขียนตัวเลขอย่างหนึ่ง มักใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ หรือวิศวกร เพื่อให้สามารถเขียนหรือนำเสนอจำนวนที่มีขนาดใหญ่มากหรือเล็กมาก และใช้คำนวณต่อได้ง่ายขึ้น แนวความคิดพื้นฐานของสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ โดยทั่วไปจะเขียนตัวเลขให้อยู่ในนิพจน์ของเลขยกกำลังฐานสิบ นั่นคือ
โดยที่ และ b เป็นจำนวนเต็ม
อ่านว่า a มากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า10 หมายถึง ตัวเลขใดๆที่เริ่มจาก 1 แต่ไม่ถึง 10
เช่น 1.7, 2.4, 6.04, 7.246, 9.072 เป็นต้น
การเขียนและการอ่านสัญกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
ตัวอย่าง
1) 7 = 7×100 อ่านว่า 7 คูณ 10 ยกกำลัง 0
2) 40 = 4×101 อ่านว่า 4 คูณ 10 ยกกำลัง 1
3) 500 = 5×102 อ่านว่า 5 คูณ 10 ยกกำลัง 2
4) 1200 = 1.2 ×103 อ่านว่า หนึ่งจุดสอง คูณ 10 ยกกำลัง 3
5) 2051.4 = 2.0514×103 อ่านว่า สองศูนย์ห้าหนึ่งจุดสี่ คูณ 10 ยกกำลัง 3
6) 203000 = 2.03 ×105 อ่านว่า สองจุดศูนย์สอง คูณ 10 ยกกำลัง 5
7) 51040000 = 5.104 ×107 อ่านว่า ห้าจุดหนึ่งศูนย์สี่ คูณ 10 ยกกำลัง 7
8) 0.2 = 2×10-1 อ่านว่า 2 คูณ 10 ยกกำลัง -1 (ลบหนึ่ง)
9) 0.0256 = 2.56×10-3 อ่านว่า สองจุดห้าหก คูณ 10 ยกกำลัง -3
10) 0.00047= 4.7×10-5 อ่านว่า สี่จุดเจ็ด คูณ 10 ยกกำลัง -5
การคำนวณเกี่ยวกับสัญกรณ์วิทยาสตร์
ตัวอย่าง 1 การบวก-การลบ (เลขชี้กำลังเท่ากัน)
1) 3×104 + 4×104 = (3+4)×104
= 7×104
2) 12×106 + 4×106 – 7×106 = (12 +4 -7)×106
= 9×106
3) 3×108 – 1.56×108 = (3 -1.56)×108
= 1.44×108
ตัวอย่าง 2 การบวก-การลบ(เลขชี้กำลังไม่เท่ากัน)
1) 4×106 + 6×105 = 4×10×105 + 6×105
= 40×105 + 6×105
= (40+6)×105 = 46×105
= 4.6×10×105
= 4.6 ×106
2) 7×105 + 9×103 = 7×102×103 + 9×103
= 7×100×103 + 9×103
= (700+9)×103 = 709×103
= 7.09×100×103
= 7.09×102×103
= 7.09×105
ตัวอย่าง 3 การคูณ
1) (2×103) × (5×102) = 2×5 ×103×102
= 10 ×105
= 106
2) 5×103 × 8×104 × 7×106 = 5×8×7 × 103×104×106
= 280×1013
= 2.8×1015
สัญกรณ์วิทยาศาสตร์เป็นวิธีการหนึ่งในการเขียนจำนวนในรูป a × 10n เมื่อ a มากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 10 (1 ≤ a < 10) เช่น 63,000 = 6.3 × 10n
.สัญกรณ์วิทยาศาสตร์อาจรู้จักกันในชื่อ รูปแบบมาตรฐาน (Standard form) ซึ่่งในการเขียนจำนวนหนึ่งในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ต้องวางจุดทศนิยมระหว่างตัวเลขนัยสำคัญตัวแรกและตัวเลขนัยสำคัญตัวที่สอง
ถ้ามีจำนวนหนึ่งระหว่าง 1 ถึง 10 ขั้นต่อไปหาเลขยกกำลังของ 10 โดยนับจำนวนเลขโดดที่อยู่ต่อไปจากซ้ายไปขวาของจุดทศนิยม ซึ่งจะมีอยู่ในจำนวนใหม่เทียบกับจำนวนเก่า
เช่น 683,000,000 = 6.83 × 108 (ใส่จุดทศนิยมแล้วนับเลขโดด 8 ตัว ไปทางซ้าย)
0.00005842 = 5.842 × 10-5 (ใส่จุดทศนิยมแล้วนับเลขโดด 5 ตัว ไปทางขวา)
.สัญกรณ์วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ในการเปรียบเทียบจำนวนที่มีค่ามาก ๆ และจำนวนที่มีค่าน้อยมาก ตัวอย่างเช่น 97430000000 = 9.743 × 1010 และ 785300000 เขียนเป็น 7.853 × 108 โดยการเปรียบเทียบเลขชี้กำลัง จะเห็นว่า 108 น้อยกว่า 1010 ดังนั้น จะทำให้เราทราบความสัมพันธ์ของจำนวนทั้งสอง
มวลของดวงจันทร์เป็นจำนวนที่เป็นเลขโดดถึง 23 ตัวของกิโลกรัม อาจจะเขียนให้ง่ายในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์เป็น 7.37 × 1022 กิโลกรัม
ขอบคุณข้อมูล http://th.wikipedia.org/wiki/สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ และ http://www.kruteeworld.com