การเรียนรู้และความรู้คู่คุณธรรม
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์เดิม ทำให้คนเผชิญกับสถานการณ์เดิมต่างไปจากเดิม เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมท้งัภายนอกและภายในลักษณะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอาจเป็ นได้ 4 ลักษณะ ได้แก่ การทำพฤติกรรมใหม่ การเลิกทำ การเพิ่มพฤติกรรมที่เคยทา และการลดพฤติกรรมที่เคยทา พฤติกรรมใดที่ไม่เปลี่ยนแปลงจึงไม่เรียกว่า
เกิดการเรียนรู้ผลของการเรียนรู้จะก่อให้เกิดความรู้ (knowledge) ทักษะ (Skill) และเจตคติ (Attitude)
ตัวอย่าง เช่น ด.ญ.กุ๊ก เห็นกาตม้ น้า ร้อน ๆ ดว้ยความไม่รู้จึงเอ้ือมมือไปจบั ทา ให้มือร้อนและเจ็บปวดจึงร้องไห้ ต่อมาด.ญ.กุ๊กเห็นกาตม้ น้า ร้อนๆ เหมือนเดิม จึงนึกถึงประสบการณ์เดิมที่เคย
จับแล้วร้อน ด.ญ.กุ๊ก จึงไม่จับ เรียกว่า ด.ญ.กุ๊กเกิดการเรียนรู้ เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากจับกาต้มน้า ร้อน ๆ เป็นไม่จบั เนื่องมาจากประสบการณ์เดิม การเรียนรู้มีประเด็นที่ควรพิจารณา 4 ประการ คือ
1. การเรียนรู้อาจเป็ นพฤติกรรมภายนอกซึ่งแสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจน หรือเป็นศักยภาพซึ่งเป็นพฤติกรรมภายในก็ได้
2. การเรียนรู้เป็นไดทั้งทางบวกและทางลบ
3. การเรียนรู้เป็นพฤติกรรมที่ถาวรหรือค่อนขา้งถาวรไม่ใช่เกิดข้ึนชวั่ ขณะ
4. การเรียนรู้ที่เกิดจากประสบการณ์เท่าน้ัน ไม่ใช่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การ
เจริญเติบโต วุฒิภาวะ ฤทธ์ิยา ความเจ็บป่วยเมื่อยลา้ ฯลฯ
ความรู้คู่คุณธรรม หมายถึง ความรู้ในด้านทฤษฎีเรียนแล้วจดจําวิชาการต่างๆได้ เป็นสัญญา คือ ความจำ และเป็นปัญญาความรู้ระดับ “สุตมยปัญญา” ซึ่งเป็นปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น เรียนภาษาไทยก็รู้ภาษาไทย, เรียนแพทย์ก็มีความรู้ในด้านการแพทย์, เรียนธรรมะบาลีก็จําหัวข้อธรรมะได้ แปลภาษาบาลีได้ เป็นต้น การเรียนอย่างเดียวแต่ถ้าขาดคุณธรรมอาจจะใช้ความรู้ในทางที่ผิดได้ จะเป็นประเภท “ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด” จึงต้องฝึกอบรมจิตให้มีคุณธรรม
นักปราชญ์กล่าวว่าผู้รู้ธรรมะหรือวิชาการต่าง ๆ ชอบเอาชนะคนอื่น ส่วนผู้ที่มีธรรมะหรือมีคุณธรรมชอบเอาชนะตนเอง คือ ชนะกิเลสความชั่วในใจตนเอง หากชนะกิเลสในใจของตนเองได้ คนนั้นจะไม่ทําชั่ว ไม่พูดชั่วไม่คิดชั่ว จะทําแต่ความดี คุณธรรม หมายถึง ธรรมะฝ่ายดี เพราะคําว่าธรรมะ มี 2 ประเภท คือ
1.) กุศลธรรม เป็นธรรมะฝ่ายดี เป็นคุณธรรมเป็นสิ่งที่ควรเจริญอบรมให้เกิดให้มีขึ้นในจิตใจ
เป็นภาเวตัพพธรรมที่ควรเจริญ เช่น
• สัทธา ความเชื่อมั่นว่าบุญมีจริง บาปมีจริง ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว เชื่อว่าคุณบิดามารดามีจริง คุณครูอาจารย์มีจริง เชื่อมั่นในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
• วิริยะ ความเพียรพยายาม ในการละชั่ว ทําดี
• สติ ความระลึกรู้เท่าทันอารมณ์
• สมาธิ ความตั้งมั่นแห่งจิต
• ปัญญา ความรอบรู้
ธรรมะดังกล่าวนี้ เป็นคุณธรรมหรือ เมตตา ความรัก ความปรารถนาดี กรุณา สงสารตนและผู้อื่น มุทิตา พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี อุเบกขา วางเฉยในอารมณ์ที่ควรวางเฉย
2.) อกุศลธรรม เป็นธรรมะฝ่ายชั่วได้แก่ กิเลสในใจคน เช่น โลภะ ความโลภ โทสะ ความโกรธ โมหะ ความหลง ความอิจฉาริษยา ความเกียจคร้าน เป็นต้น เป็นธรรมะฝ่ายชั่ว ควรละเว้น ควรขจัดให้เบาบางไปให้หมดไปด้วยการปฏิบัติธรรม อกุศลธรรมนั้นถูกจัดเป็นปหาตัพพธรรม คือ ธรรมที่ควรละ