1. การแยกตัวประกอบของพหุนาม คือ การเขียนพหุนามนั้นในรูปการคูณกันของพหุนามที่มีดีกรีต่ำกว่าพหุนามเดิมตั้ง แต่สองพหุนามขึ้นไป
2. เราสามารถใช้สมบัติการแจกแจงในการแยกตัวประกอบ โดยการหาตัวประกอบร่วมของพหุนาม
3. ในการแยกตัวประกอบของพหุนามที่มีหลายพจน์ อาจต้องใช้สมบัติการแจกแจง สมบัติการสลับที่และสมบัติการเปลี่ยนหมู่ในการแก้ปัญหา
3. ในการแยกตัวประกอบของพหุนามที่มีหลายพจน์ อาจต้องใช้สมบัติการแจกแจง สมบัติการสลับที่และสมบัติการเปลี่ยนหมู่ในการแก้ปัญหา
4. พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่เขียนในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a, b, c เป็นค่าคงตัว และ a ≠ 0 มี x เป็นตัวแปร
5. ในกรณีที่ c = 0 พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวอยู่ในรูป ax2 + bx ซึ่งจะสามารถใช้สมบัติการแจกแจงแยกตัวประกอบของพหุนามได้
6. ในกรณีที่ c ≠ 0 เพื่อความสะดวกในการแยกตัวประกอบของพหุนาม ax2 + bx + c จะเรียก ax2 ว่า พจน์หน้า เรียก bx ว่า พจน์กลาง เรียก c ว่า พจน์หลัง
การแยกตัวประกอบ คือ การเขียนพหุนามในรูปการคูณของพหุนาม ซึ่งตัวประกอบแต่ละวงเล็บต้องมีดีกรีน้อยกว่าพหุนามเดิม โดยที่แต่ละวงเล็บที่ได้ไม่สามารถเขียนได้ไม่สามารถเขียนเป็นรูปการคูณต่อไปได้อีกมีวิธีการแยกตัวประกอบ 8 วิธีคือ
- ดึงตัวร่วมโดยใช้สมบัติการแจกแจง
จงแยกตัวประกอบของพหุนามต่อไปนี้
- 7x + 14x2 2. 7x2y3 + 14x4 y2 3. 7(x+y)2 + 14(x+y)5
วิธีที่ 1 7x + 14x2 = 7x(1+2x)
วิธีที่ 2 7x + 14x2 = (7x)(1) + (7x)(2x)
= 7x(1+2x)
(2) 7x2y3 + 14x4 y2 = 7x2 y2 (y+2x)2
(3) 7(x+y)2 + 14(x+y)5 = 7(x+y)2 (1+2(x+y)3)
- สามพจน์แยกเป็น 2 วงเล็บ
จงแยกตัวประกอบของพหุนามต่อไปนี้
- x2 + 8x + 15 2. x2 -8x +15
3. x2 + 2x – 15 4. x2 – 2x – 15
วิธีทำ
(1) x2 + 8x + 15 = (x+3)(x+5)
(2) x2 -8x +15 = (x-3)(x-5)
(3) x2 + 2x – 15 = (x-3)(x+5)
(4) x2 – 2x – 15 = (x – 5)(x+3)
ข้อสังเกต
จากข้อ 1
x2 + 8x + 15 = (x+ ) (x+ ) ( ดูจาก 15 และ 8 x)
คิดต่อไปว่าจำนวนนับอะไรคูณกันได้ 15 และ และรวมกันได้ 8 จะได้ 3 และ 5
ดังนั้น x2 + 8x + 15 เท่ากับ (x+3)(x+5)
จากข้อ 2
x2 -8x +15 = (x- )(x- )
( ดูจาก 15 และ – 8x ต่อไปว่าจำนวนนับอะไรคูณกันได้ 15 และรวมกันได้ 8 จะได้ 3 และ 5)
ดังนั้น x2 -8x +15 = (x-3)(x-5)
จากข้อ 3
x2 + 2x – 15 = (x- )(x+ ) ( ดูจาก – 15) คิดต่อไปว่าจำนวนนับอะไรคูณกันได้ -15 และต่างกัน 2 จะได้ 3 และ 5 เนื่องจากผลกลางคือ 2x จึงใส่ 5 ไว้ที่บวกและใส่ 3 ไว้ที่ลบ
ดังนั้น x2 + 2x – 15 = (x-3)(x+5)
จากข้อ 4
x2 – 2x – 15 = (x – )(x+ ) ( ดูจาก – 15)
คิดต่อไปว่าจำนวนนับอะไรคูณกันได้ 15 และ 3 ชั้น 2 จะได้ 3 และ 5 เนื่องจากผลกลางคือ – 2x จึงใส่ 5 ไว้ที่ลบและใส่ 3 ไว้ที่บวก
ดังนั้น x2 – 2x – 15 = (x – 5)(x+3)
- ผลต่างกำลังสอง ผลต่างกำลังสาม และผลบวกกำลังสาม
1. ผลต่างกำลังสอง
(น-ล)(น+ล) = น2 – ล2
ตัวอย่างเช่น
4x2 – 9y2 = (2x)2 – (3y)2 = (2x – 3y)(2x + 3y)
2x2 – 3z = 2 (x2 – 16)
= 2(x2 – 42)
= 2(x-4)(x+4)
2. ผลต่างกำลังสาม
(น-ล)( น2 + 2นล + ล2) = น3 – ล3
ตัวอย่างเช่น
8x3 – 27y3 = (2x)3 – (3y)2
= (2x-3y)(4x2 + 6xy + 9y2)
3. ผลบวกกำลังสาม
(น+ล)( น2 – 2นล + ล2) = น3 + ล3
ตัวอย่างเช่น
8x2 + 27y2 = (2x)3 + (3y)3
- การแยกตัวประกอบโดยอาศัยกำลังสองสมบูรณ์
รูปกำลังสองสมบูรณ์มี 2 รูป
1.x2 + 2ax + a2 = (x+a) 2
2.x2 – 2ax + a2 = (x – a)2
- เพิ่มลดพจน์กลางแล้วแยกผลต่างกำลังสอง
มักพบกับพหุนามดีกรี 4 และมี 3 พจน์
จงแยกตัวประกอบ
- x4 + x2y2 + y4 = (x2 + y2)2 – x2 y 2
= (x2 + y2)2 – (xy)2
= (x2 + y2 – xy)(x2 + y2 + xy)
- 4 พจน์จับคู่ให้เกิดวงเล็บร่วม
หากน้อง ๆ เจอพหุนามดีกรีที่มากกว่าสอง สามารถใช้วิธีนี้ในการแยกตัวประกอบได้ เช่น
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสาม
จงแยกตัวประกอบ
x 3 + 2 x2 -9x – 18 = (x3 + 2x2)-(9x+18)
= x2 (x+2)-9(x+2)
= (x+2)(x2 – 9)
= (x+2)(x-3)(x+3)
- สี่พจน์จัดรูปผลต่างกำลังสอง
จงแยกตัวประกอบ
x 2 + 2 x y + Y2 – 36 = (x2 + 2xy + y2) -36
= (x+y)2 – 62
= (x+y-6)(x+y+6)
- ทฤษฎีบทตัวประกอบ
ทฤษฎีบทเศษเหลือ x – c หาร p(x) เศษคือ p(c)
ตัวอย่าง
ให้ P(x) = x2 – x -2
P(3) = 32 – 3 -2 = 4
สูตรการแยกตัวประกอบพหุนาม
1.(น+ล)2 = น2 + 2นล + ล2
2.(น-ล)2 = น2 – 2นล + ล2
3.(น-ล)(น+ล) = น2 – ล2
4.(น-ล)( น2 + 2นล + ล2) = น3 – ล3
5.(น+ล)( น2 – 2นล + ล2) = น3 + ล3
6.(น+ล)3 = น3 + 3น2 ล + 3นล2 + ล3
7.(น-ล)3 = น3 – 3น2 ล + 3นล2 – ล3
พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่เขียนได้ในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a, b, c เป็นค่าคงตัว ที่ a ≠ 0 และ x เป็นตัวแปร เพื่อความสะดวกในการหาข้อสรุปของวิธีแยกตัวประกอบของหพุนาม ax2 + bx + c จะเรียก ax2 ว่า พจน์หน้า เรียก bx ว่า พจน์กลาง และเรียก c ว่า พจน์หลัง ซึ่งการแยกสามารถทำได้ดังนี้
ตัวอย่างเช่น จงแยกตัวประกอบของ 5x2 – 11x + 2
ขั้นที่ 1 …แยกพจน์หน้าเป็นสองพจน์ ได้ 5x กับ x
(5x ……..)(x……..)
ขั้นที่ 2 …แยกพจน์ท้ายออกเป็นสองจำนวนคูณกัน ได้ (-2)×(-1) นำไปใส่ในขั้นตอนที่ 1 สามารถใส่ได้ 2 แบบ คือ
(5x – 2)(x – 1) กับ (5x – 1)(x – 2)
ขั้นที่ 3 …หาพจน์กลางจากขั้นตอนที่ 2 โดยนำ (ใกล้ ×ใกล้) + (ไกล ×ไกล) ถ้าได้ผลลัพธ์เป็น -11x แสดงว่าการแยกตัวประกอบนั้นถูกต้อง
ดังนั้น 5x2 – 11x + 2 = (5x – 1)(x – 2) ตอบ
เสริมอีกเพื่อฝึกความแม่นยำ…จงแยกตัวประกอบของพหุนามต่อไปนี้
- 2x2 + 9x – 5 = (2x – 1)(x + 5)
- 15x2 – 41x + 28 = (5x – 7)(3x – 4)
- 18x2 + 27x + 10 = (6x + 5)(3x + 2)
- 5x2 – 8x – 21 = (5x + 7)(x – 3)
- 10x2 – 31x + 15 = (2x – 5)(5x – 3)
- – 5x2 + 22x – 8 = – (5x2 – 22x + 8) = – (5x – 2)(x – 4)
การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองที่มีตัวแปรเดียว
ตัวอย่าง ของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว
3x2+ 4x + 5 , 2x2– 6x – 1 , x2– 9 , y2+ 3y – 7 , -y2+ 8y
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว
ในกรณีที่ c = 0 พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียวจะอยู่ในรูป ax2+ bx สามารถใช้สมบัติ
ตัวอย่างที่ 1 จงแยกตัวประกอบของ x2 + 2x
วิธีทำ x2 + 2x = (x)(x) + (2)(x)
= x(x + 2)
ตัวอย่างที่ 2 จงแยกตัวประกอบของ 4x2 – 20x
วิธีทำ 4x2 – 20x = (4x)(x) – (4x)(5)
= 4x(x – 5)
ตัวอย่างที่ 3 จงแยกตัวประกอบของ -4x2 – 6x
วิธีทำ -4x2 – 6x = -2x(2x + 3)
หรือ -4x2 – 6x = 2x(-2x – 3)
ตัวอย่างที่ 4 จงแยกตัวประกอบของ -15x2 + 12x
วิธีทำ -15x2 + 12x = (3x)(-5x) + (3x)(4)
= 3x(-5x + 4)
หรือ -15x2 + 12x = (-3x)(-5x) – (-3x)(4)
= -3x(5x – 4)
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว
ในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a = 1 , b และ c เป็นจำนวนเต็ม และ c ≠ 0
ในกรณีที่ a = 1 และ c ≠ 0 พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว จะอยู่ในรูป x2 + bx + c
สามารถแยกตัวประกอบของพหุนามในรูปนี้ได้ โดยอาศัยแนวคิดจากการหาผลคูณของพหุนาม
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
โดยทำขั้นตอนย้อนกลับ ดังนี้
x2 + 5x + 6 = x2 + (2 + 3)x + (2)(3) [ 2 + 3 = 5 และ (2) × (3) = 6 ]
= x2 + (2x + 3x) + (2)(3)
= (x2 + 2x) + [3x + (2)(3)]
= (x + 2)x + (x + 2)(3)
= (x + 2)(x + 3)
นั่นคือ x2 + 5x + 6 = (x + 2)(x + 3)
พิจารณาผลคูณของพหุนามต่อไปนี้
1. (x + 2)(x + 3) = (x + 2)(x) + (x + 2)(3)
= (x2 + 2x)+ [3x + (2)(3)]
= x2 + (2x+ 3x) + (2)(3)
= x2 + (2+ 3)x + (2)(3)
= x2 + 5x + 6
ให้สังเกตว่า เราจะแยกตัวประกอบของ x2+ 5x + 6 ได้ ถ้าเราสามารถหาจำนวนเต็ม
(x + 4)(x – 5) = (x + 4)(x) + (x + 4)(-5)
= (x2 + 4x) + [(-5)x + (4)(-5)]
= x2 + [4x + (-5)x] + (4)(-5)
= x2 + [4 + (-5)] x + (4)(-5)
= x2 + (-1)x + (-20)
= x2 – x – 20
ดังนั้น แยกตัวประกอบของ x2 – x – 20 ได้ดังนี้ x2 – x – 20 = (x + 4)(x – 5)
โดยทำขั้นตอนย้อนกลับในทำนองเดียวกับข้อ 1. ดังนี้
x2– x – 20 = x2 + (-1)x + (-20)
= x2 + [4x + (-5)x] + (4)(-5)
= (x2 + 4x) + [(-5)x + (4)(-5)]
= (x + 4)x + (x + 4)(-5)
= (x + 4)[x + (-5)]
= (x + 4)(x -5)
ให้สังเกตเช่นเดียวกันว่า เราจะแยกตัวประกอบของ x2– x – 20 ได้ ถ้าเราสามารถ
เราจะต้องหาจำนวนเต็มสองจำนวนที่คูณกันได้ 8 และบวกกันได้ 6 ก่อน ดังนี้
เนื่องจาก x2 + 6x + 8 = x2 + (2 + 4)x + (2)(4)
= x2 + (2x + 4x) + (2)(4)
= (x2 + 2x) + [4x + (2)(4)]
= (x + 2)x + (x + 2)(4)
= (x + 2)(x + 4)
ในกรณีทั่วไป เราสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองในรูป x2 + bx + c เมื่อ b , c
ถ้าให้ m และ n เป็นจำนวนเต็มสองจำนวน ซึ่ง mn = c และ m + n = b
จะได้ว่า x2 + bx + c = (x + m)(x + n)
ตัวอย่างที่ 5 จงแยกตัวประกอบของ x2 – 10x + 21
วิธีทำ เนื่องจาก (-3)(-7) = 21
และ (-3) + (-7) = -10
ดังนั้น x2 – 10x + 21 = [ x + (-3)][ x + (-7)]
นั่นคือ x2 – 10x + 21 = ( x -3 )( x -7 )
ตัวอย่างที่ 6 จงแยกตัวประกอบของ x2 + 5x – 6
วิธีทำ เนื่องจาก (-1)(6) = – 6
และ (-1) + (6) = 5
ขอบคุณข้อมูล https://www.athometh.com/