การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านวิทยาศาสตร์
หลักการพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์
1. ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ (Computer) เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่าน และบันทึกข้อมูล ตลอดจนรับคำสั่ง เพื่อแก้ไขปัญหา หรือทำการคำนวณที่สลับซับซ้อน แสดงผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ มีไว้สำหรับผ่อนแรงกายและสมองมนุษย์ ความสำคัญของคอมพิวเตอร์ประการหนึ่งก็คือ ความสามารถประมวลผลข้อมูลได้อัตโนมัติ ตามโปรแกรมที่มนุษย์ป้อนคำสั่งให้ทำ ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล คือ ข้อมูล/สารสนเทศทำให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้งานด้านต่าง ๆ ได้แก่
1. คอมพิวเตอร์กับงานด้านการศึกษา
ปัจจุบันตามสถานศึกษาต่าง ๆ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมากมาย รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่น การจัดประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ การคัดคะแนนสอบ การจัดทำตารางสอน ใช้คอมพิวเตอร์ในงานห้องสมุด เป็นต้น ตัวอย่างในการประยุกต์ด้านการศึกษา เช่น โปรแกรมรายงานการลงทะเบียนเรียน โปรแกรมตรวจข้อมูล
2. คอมพิวเตอร์กับงานด้านวิทยาศาสตร์
คอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เช่น เครื่องมือวิเคราะห์ สารเคมี เครื่องมือการทดลองต่าง ๆ แม้กระทั่งการเดินทางของยานอวกาศต่าง ๆ การถ่ายภาพพื้นผิวโลก บนดาวอังคาร เป็นต้น
3. คอมพิวเตอร์กับงานด้านการออกแบบทางวิศวกรรม
คอมพิวเตอร์สามารถทำงานในด้านวิศวกรรมได้ตั้งแต่ขั้นตอนการลอกเขียนแบบจนกระทั่งถึงการออกแบบโครงสร้างของสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ตลอดจนช่วยคำนวณโครงสร้าง ช่วยในการวางแผน และควบคุมการสร้าง
4. คอมพิวเตอร์กับงานด้านธุรกิจทั่วไป
คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากมาย มีความรวดเร็วและถูกต้อง ทำให้สามารถได้ข้อมูลที่ช่วยให้สามารถตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนงานทางด้านเอกสาร งานพิมพ์ต่าง ๆ เป็นต้น
5. คอมพิวเตอร์กับงานด้านธนาคาร
ในแวดวงธนาคารนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทมากที่สุด เพราะธนาคารจะมีการนำข้อมูล (Transaction) เป็นประจำทุกวัน การหาอัตราดอกเบี้ยต่าง ๆ นอกจากนี้ การใช้บริการ ATM ซึ่งลูกค้าสามารถฝาก-ถอนเงินได้จากเครื่องอัตโนมัติ ซึ่งทำให้สะดวกแก่ผู้ใช้บริการเป็นอย่างยิ่ง และเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน
6. คอมพิวเตอร์กับงานด้านร้านค้าปลีก
ปัจจุบันเห็นได้ว่า ได้มีธุรกิจร้านค้าปลีกหรือที่เรียกว่า “เฟรนไชส์” เป็นจำนวนมาก ได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการให้บริการลูกค้า เช่น ให้บริการชำระค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า และค่าโทรศัพท์ เป็นต้น จำเป็นได้ว่ามีการ Online ระหว่างร้านค้าเหล่านั้นกับหน่วยงานนั้น ๆ เพื่อสามารถตัดยอดบัญชีกันได้
7. คอมพิวเตอร์กับงานด้านการแพทย์
คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ในการเก็บประวัติของคนไข้ ควบคุมการรับและการจ่ายยา ตลอดจนยังอยู่ในอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องมือผ่าตัด บันทึกการเต้นของหัวใจ ตรวจคลื่นสมอง และด้านการหาตำแหน่งของอวัยวะก่อนการผ่าตัด เป็นต้น
8. คอมพิวเตอร์กับงานด้านคมนาคมและการสื่อสาร
ในยุคปัจจุบันถือว่าเป็นยุคที่เป็นการสื่อสารแบบไร้พรมแดน จะเห็นได้จากการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ในเครือข่ายสาธารณะที่เรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถที่จะสื่อสารกับทุกคนได้ทั่วทุกมุมโลก โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ และยังมีโปรแกรมที่สามารถจะใช้ในการพูดคุยกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน หรือเครื่องคอมพิวเตอร์สื่อสารกับเครื่องโทรศัพท์ที่บ้านหรือที่ทำงาน โดยส่งผ่านทางแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ เช่น Skype, line นิยมใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารกันในปัจจุบัน
สำหรับการใช้คอมพิวเตอร์ในการโทรคมนาคมจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันการจองตั๋วเครื่องบินจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นจำนวนมาก รวมถึงการจองตั๋วผ่านทางอินเตอร์เน็ต เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้บริการและนอกจากนี้ยังมีเครือข่ายของสายการบินทั่วโลก ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกจองได้ตามสายการบินต่าง ๆ เป็นต้น
9. คอมพิวเตอร์กับงานด้านอุตสาหกรรม
ในวงการอุตสาหกรรมนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การวางแผนการผลิต กำหนดเวลาการผลิต จนกระทั่งถึงการผลิตสินค้า ควบคุมระบบการผลิตทั้งหมด ในรายงานอุตสาหกรรมได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักร เช่น การเจาะ ตัด ไส กลึง เป็นต้น ตลอดจนโรงงานผลิตรถยนต์ก็จะใช้หุ่นยนต์คอมพิวเตอร์ในการทาสี พ่นสี รวมถึงการประกอบรถยนต์ เป็นต้น
10. คอมพิวเตอร์กับหน่วยงานราชการ
คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในงานทะเบียนราษฎร ช่วยในการนับคะแนนการเลือกตั้งและการประกาศผลเลือกตั้ง การคิดภาษีอากร การเก็บข้อมูล สถิติสำมะโนประชากร การเก็บเงินค่าไฟฟ้า น้ำประปา ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น