คณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.1
อากาศร้อนแต่ผมไม่ร้อนเพราะผมทำงานอยู่ในห้องที่มีแอร์ ก็เลยสบายแต่ผมประหยัดแอร์น่ะคับ ผมเปิดแอร์ยี่่สิบห้าองศาประหยัดไฟคับ วันนี้มีเอกสารประกอบการสอน วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นเกี่ยวกับจำนวนนับ ซึ่งจะเห็นว่าแค่เพียงจำนวนนับจำนวนเดียว มีเรื่องให้ต้องเรียนมากมาย เช่น
- จำนวนเฉพาะ
- ตัวประกอบ
- การแยกตัวประกอบ
- ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)
- ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)
- โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. และ ค.ร.น.
- จำนวนเต็ม
- การบวกจำนวนเต็ม
- การลบจำนวนเต็ม
- การคูณจำนวนเต็ม
- การหารจำนวนเต็ม
- เศษส่วน
และอื่นๆ อีกมากมายดูตัวอย่างเองแล้วกันคับว่ามีเรื่องอะไรบ้าง
หน้านี้แนะนำให้ใช้โปรแกรม mozilla firefox ในการเปิดดูจะได้เห็นตัวอย่างก่อนตัดสินใจโหลดคับ ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการเรียนและการใช้สื่อนี้คับ
การลบจำนวนเต็ม
การลบจำนวนเต็มไม่ยากเลยครับแต่ก่อนที่จะอ่านเรื่องการลบจำนวนเต็ม ควรที่จะอ่านเรื่องการบวกจำนวนเต็มให้เข้าใจก่อนน่ะครับ
การที่จะลบจำนวนเต็มได้ นักเรียนต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องของจำนวนตรงข้าม ก่อนครับ
พิจารณาเส้นจำนวนต่อไปนี้คับ….
จะเห็นได้ว่า
1 อยู่ห่างจากศูนย์ไปทางขวา เป็นระยะทางหนึ่งหน่วย
และ -1 อยู่ห่างจากศูนย์ไปทางซ้าย เป็นระยะทางหนึ่งหน่วย เช่นเดียวกัน เรากล่าวว่า
จำนวนตรงข้ามของ 1 คือ -1 และในทำนองเดียวกัน จำนวนตรงข้ามของ -1 คือ 1
จะเห็นได้ว่า
-5 อยู่ห่างจากศูนย์ไปทางซ้ายเป็นระยะทางห้าหน่วย
และ 5 อยู่ห่างศูนย์ไปทางขวาเป็นเป็นระยะทางห้าหน่วย เช่นเดียวกัน เรากล่าวว่า
จำนวนตรงข้ามของ -5 คือ 5 และในทำนองเดียวกัน จำนวนตรงข้ามของ 5 คือ -5
ถึงตรงนี้แล้วนักเรียนคงเข้าใจความหมายของจำนวนตรงข้าม น่ะคับ ยกตัวอย่างให้ดูอีกแล้วกัน เผื่อบางคนยังไม่เข้าใจ
จำนวนตรงข้ามของ 3 คือ -3
จำนวนตรงข้ามของ -3 คือ 3
จำนวนตรงข้ามของ 50 คือ -50
จำนวนตรงข้ามของ 0 คือ 0
จำนวนตรงข้ามของ 19 คือ -19
สำหรับหลักการการลบจำนวนเต็ม มีหลักการ ดังนี้ คือ
ตัวตั้ง – ตัวลบ = ตัวตั้ง + จำนวนตรงข้ามของตัวลบ
ขอยกตัวอย่างให้ดู น่ะคับ ไม่ยากเลยคับ
จงหาค่าต่อไปนี้
1)3−71)3−7
จากโจทย์
3 คือตัวตั้ง
7 คือตัวลบ ดังนั้นจำนวนตรงข้ามของตัวลบคือ -7
จาก
ตัวตั้ง – ตัวลบ = ตัวตั้ง + จำนวนตรงข้ามของตัวลบ จะได้
3−7=3+(−7)=−43−7=3+(−7)=−4
2)3−(−7)2)3−(−7)
จากโจทย์
3 คือตัวตั้ง
(-7) คือตัวลบ ดังนั้นจำนวตรงข้ามของตัวลบคือ 7
จาก
ตัวตั้ง – ตัวลบ = ตัวตั้ง + จำนวนตรงข้ามของตัวลบ จะได้
3−(−7)=3+7=103−(−7)=3+7=10
3)(−3)−73)(−3)−7
จากโจทย์
ตัวตั้งคือ (-3)
ตัวลบคือ 7 ดังนั้นจำนวนตรงข้ามของตัวลบคือ -7
จาก
ตัวตั้ง – ตัวลบ = ตัวตั้ง + จำนวนตรงข้ามของตัวลบ จะได้
(−3)−7=(−3)+(−7)=−10(−3)−7=(−3)+(−7)=−10
(−3)−(−7)(−3)−(−7)
จากโจทย์
ตัวตั้ง คือ (-3)
ตัวลบ คือ (-7) ดังนั้นจำนวนตรงข้ามของตัวลบคือ 7
จาก
ตัวตั้ง – ตัวลบ = ตัวตั้ง + จำนวนตรงข้ามของตัวลบ จะได้
(−3)−(−7)=(−3)+7=4(−3)−(−7)=(−3)+7=4
การบวกจำนวนเต็ม
การบวกจำนวนเต็มผมจะขอแยกทำให้ดูเป็นกรณีไปน่ะครับ
กรณีที่ 1 การบวกจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มบวก
กรณีนี้คงไม่ใช่ปัญหา เพราะกรณีนี้ไม่ยากครับง่ายๆ ตัวอย่างเช่น
1.จงหาผลบวกต่อไปนี้
1)2+3=51)2+3=5
2)5+12=172)5+12=17
20+50=7020+50=70
กรณีนี้คงไม่ยากเชื่อว่าทุกคนทำได้น่ะครับ มาดูกรณีต่อไปเลยดีกว่า
กรณีที่ 2 การบวกจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ
กรณีนี้ก็ไม่ยากเหมือนกันครับ แค่จับหลักได้ก็ง่ายนิดเดียวครับ หลักการของมันมีอยู่ว่า จับตัวเลขบวกกันธรรมดาโดยไม่สนใจเครื่องหมายลบ คำตอบที่ได้เติมลบเข้าไปด้วย คับหลักการมีแค่นี้ เดี๋ยวไปดูตัวอย่างครับ
1.จงหาผลบวกต่อไปนี้
1)(−2)+(−4)=−61)(−2)+(−4)=−6
อธิบายบายวิธีการทำคือ เอาสองไปบวกกับสี่เลย ไม่ต้องไปสนใจเครื่องหมายลบ คำตอบที่ได้คือหก เวลาตอบจริงๆให้เติมลบข้างหน้าเลขหก ก็จะได้เป็น -6 ข้อนี้ตอบ -6 คับ ง่ายป่าว ผมว่าง่ายน่ะ
2)(−12)+(−20)=−322)(−12)+(−20)=−32
อธิบายวิธีการทำคือ เอาสิบสองไปบวกกับยี่สิบเลย ไม่ต้องไปสนใจเครื่องหมายลบ คำตอบที่ได้คือสามสิบสอง แต่เวลาตอบจริงๆให้เติมลบข้างหน้าเลขสามสิบสองด้วยก็จะได้คำตอบข้อนี้เป็น -32 คับ
3)(−49)+(−11)=−603)(−49)+(−11)=−60 วิธีการทำเหมือนข้อที่ผ่านมาน่ะครับ
4)(−157)+(−102)=−2594)(−157)+(−102)=−259
คงไม่ต้องยกตัวอย่างเยอะน่ะครับ จับหลักการได้ก็ไม่ยากเลยน่ะครับ
สรุปให้อีกทีน่ะครับ ถ้าเป็นการบวกกันระหว่างจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ ให้นำจำนวนสองจำนวนนั้นบวกกันเลยครับโดยที่ไม่ต้องสนใจเครื่องหมาย แต่เวลาตอบจริงๆให้ใส่เครื่องหมายลบหน้าคำตอบด้วยครับ หลักการก็มีแค่นี้ครับง่ายๆ
กรณีที่ 3 การบวกจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มบวก (ตัวหนึ่งเป็นจำนวนเต็มลบแต่อีกตัวหนึ่งเป็นจำนวนเต็มบวก)
กรณีนี้ผมว่ามันก็ไม่ยากน่ะ สรุปก็คือไม่ยากทั้ง 3 กรณี หลักการของมันมีดังนี้คือ ขั้นแรกเราไม่ต้องไปสนใจเครื่องหมายหน้าตัวเลขมันจะเป็นลบหรือเป็นบวกช่างมันครับ ให้เรานำจำนวนที่มีค่ามากตั้ง ลบออกด้วยจำนวนที่มีค่าน้อยกว่า ที่นี้คำตอบที่ได้มันจะเป็นบวกหรือเป็นลบให้เป็นไปตามตัวที่มีค่ามากกว่า ถ้าตัวมากติดลบคำตอบต้องติดลบ ถ้าตัวมากเป็นบวกคำตอบก็ต้องเป็นบวกด้วยครับ อธิบายมาซะยืดยาว ผมว่าหลายๆคนคงอ่านแล้วงง งั้นไปดูตัวอย่างประกอบครับ
1.จงหาผลบวกต่อไปนี้
1)(−4)+11)(−4)+1
อธิบายวิธีการทำข้อนี้คือ ขั้นแรกเราไม่ต้องสนใจเครื่องหมายหน้าตัวเลขครับว่าจะเป็นลบหรือบวกช่างหัวมันครับ ให้นำจำนวนที่มีค่ามากตั้งแล้วลบออกด้วยจำนวนที่น้อยกว่า ในที่นี้ คือนำ 4-1=3 คำตอบที่ได้คือสาม ยังไม่ใช่คำตอบจริงๆน่ะครับเราต้องมาดูเครื่องหมายหน้าเลขสามอีกว่าจะเป็นบวกหรือเป็นลบ การดูก็คือ พิจารณา 4 กับ 1 ว่าตัวไหนมีค่ามากกว่ากัน
แน่นอน 4 มีค่ามากกว่าอยู่แล้ว คำตอบที่ได้จะต้องมีเครืองหมายเหมือนกับตัวที่มากกว่า ตัวที่มากว่าติดลบ ดังนั้นคำต้องติดลบด้วย ข้อนี้ตอบ -3 คับ จึงได้ว่า
(−4)+1=−3(−4)+1=−3
2)9+(−20)2)9+(−20)
อธิบายวิธีการทำคือ นำ ตัวมากลบตัวน้อยคือ 20-9=11 สิบเอ็ดยังไม่ใช่คำตอบจริงๆครับ ที่นี้ดูว่า 20 กับ 9 อะไรมากกว่ากัน แน่นอน 20 มากกว่าและหน้ายี่สิบมีเครื่องหมายติดลบด้วย ดังนั้นข้อนี้ตอบ -11 คับ จึงได้ว่า
9+(−20)=−119+(−20)=−11
3)13+(−14)3)13+(−14)
อธิบายวิธีการทำคือ เอาจำนวนที่มากตั้งลบด้วยจำนวนที่น้อยกว่าไม่ต้องสนใจเครื่องหมาย นั่นคือ 14-13=1 ดูที่โจทย์ตัวที่มากคือ 14 คำตอบจะมีเครื่องหมายตามตัวที่มาก ดังนั้นข้อนี้ตอบ -1 จึงได้ว่า
13+(−14)=−113+(−14)=−1
4)28+(−18)4)28+(−18)
วิธีการทำก็คือ นำจำนวนมากลบออกด้วยจำนวนที่น้อยกว่า นั้่นคือ 28-18=10 ต่อไปดูว่า 28 กับ 18 อะไรมีค่ามากกว่ากันแน่นอน 28 มากว่า คำตอบจะมีเครืองหมายตามตัวที่มากกว่าตัวมากคือ 28 เป็นบวก คำตอบก็ต้องออกมาเป็นบวกด้วยนั้นตอบ 10 นั่นเอง จึงได้ว่า
28+(−18)=1028+(−18)=10
5)(−49)+125)(−49)+12
วิธีการทำข้อนี้คือ นำจำนวนมากลบออกด้วยจำนวนที่น้อยกว่า นั่นคือ 49-12=37 (ยังไม่ต้องสนใจเครื่องหมายครับ) ต่อไปดูที่โจทย์ว่า 49 กับ 12 อะไรมีค่ามากกว่ากัน แน่นอน 49 มีค่ามากกว่า คำตอบจะมีเครื่องหมายตามตัวที่มากคือ 49 ตัวที่มากมีเครื่องหมายเป็นลบอยู่ข้างหน้า นั่นคือข้อนี้ ตอบ -37 คับ จึงได้ว่า
(−49)+12=−37(−49)+12=−37
6)(−18)+786)(−18)+78
วิธีการทำข้อนี้คือ นำตัวมากลบออกด้วยตัวน้อยนั่นคือ 78-18=60 ต่อไปดูที่โจทย์ว่า 18 กับ 78 อะไรมีค่ามากกว่ากันแน่ะนอน 78 มากกว่า คำตอบจะมีเครืองหมายตามตัวที่มากคือ 78 ตัวที่มากมีเครื่องหมายเป็นบวกดังนั้นคำตอบต้องเป็นบวกด้วย นั้นคือข้อนี้ตอบ 60 จึงได้ว่า
(−18)+78=60(−18)+78=60
นักเรียนคนใดหรือว่าใครก็ตามน่ะครับที่อ่านบทความนี้แล้ว เข้าใจ หรือ ไม่เข้าใจอย่างไรช่วยเขียนคอมเม้นให้หน่อยน่ะครับ รบกวนด้วย จะนำไปปรับปรุงวิธีการเขียนครับ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับน้องๆนักเรียนทุกคนคับ….
จำนวนเต็ม(Integer)
นิยามของจำนวนเต็ม
An integer is a number that can be written without a fractional or decimal component. For example, 21, 4, and −2048 are integers; 9.75, 5½, and √2are not integers. The set of integers is a subset of the real numbers and consists of the natural numbers (0, 1, 2, 3, …) and the negatives of the non-zero natural numbers (−1, −2, −3, …).
เป็นนิยามภาษาฝรั่งเขาน่ะครับ ถ้าแปลเป็นไทย ก็คือ จำนวนเต็ม คือจำนวนที่ไม่อยู่ในรูปของเศษส่วน(fractional) หรือ ทศนิยม(decimal) ตัวอย่างของจำนวนเต็ม เช่น 21, 4, -2048 เป็นต้น จำนวนต่อไปนี้ไม่เป็นจำนวนเต็มเช่น 9.75,512,2–√512,2 เป็นต้น จำนวนเต็มเป็นสับเซต(subset)ของจำนวนจริง(real number) ซึ่งประกอบด้วย จำนวนธรรมชาติ(natural numbers) คือ 0,1,2,3,4,…. และจำนวนลบของจำนวนธรรมชาติที่ไม่ใช่ศูนย์ คือ -1,-2,-3,-4,…
อ่านนิยามภาษาฝรั่งแล้วอาจจะงงน่ะครับ แต่เราก็ควรหัดอ่านไว้น่ะครับ ภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่สำคัญมากน่ะครับ 10 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังรวมตัวเป็นประชาคมเดียวกัน หรือที่ใช้ชื่อเรียกว่า ประชาคมเอเซียน (asian community)เมื่อเรารวมตัวกันได้ทุกอย่างก็จะเป็นหนึ่งเดียว การติดต่อระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนก็จะมากขึ้นน่ะครับ ทุกคนมีเสรีภาพในการเดินทางระหว่างประเทศมากขึ้น ที่นี้การติดต่อสื่อสารจำเป็นต้องมีตัวกลาง ตัวกลางที่สำคัญก็คือภาษานั่นเอง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ทุกคนต้องรู้ เพื่อใช้ในการสื่อสาร ฉนั้นเราต้องหัดไว้บ้างน่ะครับ ผมจะพยายามแทรกคำศัทพ์ภาษาอังกฤษลงไปด้วย เพื่อให้ทุึกคนรู้ว่า อันนี้ภาษาอังกฤษเขาใช้คำว่าอะไร ….
เข้าเรื่องของเราต่อน่ะครับ เดี่ยวจะสรุปให้ฟังน่ะครับ สรูปก็คือ
จำนวนเต็ม มี 3 ชนิด ด้วยกันคือ
- จำนวนเต็มบวก(positive integer) ประกอบไปด้วยสมาชิกคือ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,…
จำนวนเต็มบวกมีสมาชิกนับไม่ถ้วนครับ จำนวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยที่สุดคือ 1 แต่จำนวนเต็มบวกที่มีค่ามากที่สุดไม่มีน่ะครับ เพราะจำนวนเต็มบวกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆครับ
- จำนวนลบ(negative integer) ประกอบด้วยสมาชิกคือ -1,-2,-3,-4,-5,-6,-7,-8,-9,-10,-11,…
จำนวนเต็มลบมาสมาชิกนับไม่ถ้วนน่ะครับ โดยที่จำนวนเต็มลบที่มีค่ามากที่สุดคือ -1 จำนวนเต็มลบที่มีค่าน้อยที่สุดหาไม่ได้ครับเพราะจำนวนเต็มลบลดลงเรื่อยๆครับ
- จำนวนเต็มศูนย์(zero)
จำนวนเต็มศูนย์สำหรับผมแล้วเป็นจำนวนเต็มที่น่าสงสารมากครับ มีสมาชิกอยู่ตัวเดียวไม่มีเพื่อนเลย นั่นก็คือ เลขศูนย์นั่้นเองครับ(0)
ต่อไปเรื่องที่ผมจะเขียนก็คือ
- การบวกจำนวนเต็ม
- การลบจำนวนเต็ม
- การคูณจำนวนเต็ม
- การหารจำนวนเต็ม
คอยติดตามต่อไปน่ะครับ จะหาเวลาว่างเขียนให้ได้เลย เอาไว้ให้นักเรียน ม.1 ทุกคนได้อ่านน่ะครับ สำคัญมากน่ะครับสำหรับเรื่องที่กล่าวไปข้างต้น ต้องเขาใจและทำให้เป็น
การคูณพหุนามด้วยเอกนาม
การคูณพหุนามด้วยเอกนาม เป็นเรื่องที่ไม่ยากค่อนข้างง่ายบอกได้เลยว่าเรื่องนี้ต้องหัดทำแบบฝึกหัดเยอะๆ
ทำโจทย์หลายๆแบบ เริ่มจากโจทย์ง่ายไปหายากน่ะครับไม่ยากเลย น่ะครับ ลองทำความเข้าใจจากตัวอย่างน่ะครับ
อ่าน ลิงค์นี้ก่อน ก็ดีครับ จะช่วยให้เราเข้าใจง่ายขึ้นเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการคูณของเลขยกกำลังครับเพราะต้องนำไปใช้ครับ
จงหาผลคูณต่อไปนี้
1) 2(x+1)2(x+1)
วิธีทำ 2(x+1)2(x+1) นำ 2 คูณเข้าไปในวงเล็บครับ จะได้
x(2)+1(2)x(2)+1(2)
2x+22x+2 เห็นไหมครับไม่ยากเลย ดูข้อต่อไปครับ
2) 5(x2+4)5(x2+4)
วิธีทำ 5(x2+4)5(x2+4) ทำเหมือนข้อ 1 ครับ เอา 5 คูณเข้าไปข้างในครับ
x2(5)+4(5)x2(5)+4(5)
5×2+205×2+20 เสร็จแล้วครับง่ายๆ
3)4x(x+4)4x(x+4)
วิธีทำ 4x(x+4)4x(x+4) ข้อนี้เอา 4x คูณเข้าไปข้างในครับ
(x(4x)+4(4x)(x(4x)+4(4x)
4×2+16x4x2+16x เสร็จแล้ว ง่ายไหม
5)12(x2+12)12(x2+12)
วิธีทำ 12(x2+12)12(x2+12) นำ 1212 คูณเข้าไปในวงเล็บเลยครับ
(x2(12)+12(12)(x2(12)+12(12)
12×2+612×2+6
6)10(5×2+2x+510(5×2+2x+5
วิธีทำ 10(5×2+2x+510(5×2+2x+5 นำ 10 คูณเข้าไปในวงเล็บเลยครับ
5×2(10)+2x(10)+5(10)5×2(10)+2x(10)+5(10)
50×2+20x+5050×2+20x+50
ง่ายจังเสร็จแล้วครับ
7)(−4c)(c+7)(−4c)(c+7)
วิธีทำ (−4c)(c+7)(−4c)(c+7) นำ −4c−4c คูณเข้าไปในวงเล็บเลยครับ
c(−4c)+7(−4c)c(−4c)+7(−4c) เครื่องหมายต่างกันคูณกันได้ลบน่ะครับ เช่น −2(5x)=−10x−2(5x)=−10x แต่ถ้าเครื่องหมายเหมือนกันคูณกันได้บวก เช่น −2(−5x)=10x−2(−5x)=10x
−4c2−28c−4c2−28c
การหารพหุนามด้วยเอกนาม
การหารพหุนามด้วยเอกนาม ใช้หล้ักการเดียวกันกับการหารเอกนามด้วยเอกนามครับ ไม่ยากเลย ถ้าเข้าเรื่องการหาร
เอกนามด้วยเอกนาม เรื่อยนี่ก็ไม่ยากครับผ่านฉลุยเลยครับมาดูตัวอย่างกันเลย บอกได้เลยว่า การเรียนคณิตศาสตร์ให้เก่ง
นั้น สำคัญอยู่ที่การฝึกทำโจทย์ครับ พยายาม ทำด้วยตัวเองพยายามทำด้วยตัวเองก่อน พอทำเสร็จก็มาดูเฉลยครับ
ว่าเราทำถูกไหม แล้วถ้าผิดก็ดูว่าตัวเองผิดตรงไหนผิดเพราะอะไร ความผิดพลาดเนียะแหล่ะ มันจะช่วยให้เราเก่งขึ้นครับ
อันนี้จริงน่ะครับ ความผิดพลาด มันจะทำให้เราจำแม่น เราผิดตรงนี้เราก็กลับไปทำซ้ำตรงที่เราผิด การทำซ้ำๆหลายครั้งทำให้เกิดความชำนาญ และเกิดทัีกษะ ไม่ต้องกลัวผิดน่ะครับทำเลยแล้วค่อยกลับมาดูเฉลย
แต่ผมเรียนมัธยมผมชอบทำโจทย์เอง แล้วก็มาดูเฉลย ว่าเราทำถูกหรือผิดผมทำอย่างนี้เรื่อยๆ ผมชอบอ่านเอง ศึกษาเองมากกว่าเขาไปเรียนในห้อง ไปฟัง concept จากคุณครู แล้วนำ conceptที่ได้ไปขยายต่อ โดยการหัดทำโจทย์ครับ
แบบฝึกหัด 2.6 ข คณิตฯเพิ่มเติม
1. จงหาผลหารต่อไปนี้
1) (4x−8)÷2(4x−8)÷2
วิธีทำ (4x−8)÷2=(4x−8)2(4x−8)÷2=(4x−8)2
=4×2−82=4×2−82
=2x−4=2x−4
2) (−6x+15)÷3(−6x+15)÷3
วิธีทำ (−6x+15)÷3(−6x+15)÷3
=−6×3+153=−6×3+153
=−2x+5=−2x+5
3) (14×2+7)÷7(14×2+7)÷7
วิธีทำ (14×2+7)÷7(14×2+7)÷7
=14×27+77=14×27+77
=2×2+1=2×2+1
4) (−5×2+20)÷−5(−5×2+20)÷−5
วิธีทำ (−5×2+20)÷−5(−5×2+20)÷−5
=−5×2−5+20−5=−5×2−5+20−5
=x2+(−4)=x2+(−4)
=x2−4=x2−4
5) (12×2−20x)÷4(12×2−20x)÷4
วิธีทำ (12×2−20x)÷4(12×2−20x)÷4
=12×24−20×4=12×24−20×4
=3×2−5x=3×2−5x
6) (3×2+8x)∖x(3×2+8x)∖x
วิธีทำ (3×2+8x)∖x(3×2+8x)∖x
=3x2x+8xx=3x2x+8xx
=3x+8=3x+8
2.จงหาผลหารต่อไปนี้
1) 5−3×45−3×4
วิธีทำ 5−3×45−3×4
=54−3×4=54−3×4
2) −18×2−36−9−18×2−36−9
วิธีทำ −18×2−36−9−18×2−36−9
=−18×2+(−36)−9=−18×2+(−36)−9
=(−18×2)(−9)+(−36)(−9)=(−18×2)(−9)+(−36)(−9)
=2×2+4=2×2+4
3)4×2−x5x4x2−x5x
วิธีทำ 4×2−x5x4x2−x5x
=4×2+(−x)5x=4×2+(−x)5x
=4x25x+(−x)5x=4x25x+(−x)5x
=(4×5)+(−15)=(4×5)+(−15)
=(4×5)−(15)