คณิตศาสตร์ ม.1 อัพเดทล่าสุด ตามหลักสูตร สสวท.
คณิตศาสตร์พื้นฐาน เลขยกกำลัง
เลขยกกำลัง
3.1 ความหมายของเลขยกกำลัง
3.2 การคูณและการหารเลขยกกำลัง
3.3 สัญกรณ์วิทยาศาสตร์
ความหมายเลขยกกำลัง
การยกกำลัง (อังกฤษ:Exponentiation) คือ การดำเนินการทางคณิตศาสตร์อย่าง
หนึ่งเขียนอยูู่่ในรูป ซึ่งประกอบด้วยสองจำนวน คือ ฐาน และ เลขชี้กำลัง โดย
พื้นฐานแล้วการยกกำลังจะมีความหมายเหมือนกับการคูณ ซ้ำๆเป็นจำนวน ตัว เมื่อ
เป็นจำนวนเต็มบวก
นิยาม ถ้า a เป็นจำนวนใด ๆ และ n เป็นจำนวนเต็มบวก “ a ยกกำลัง n “ หรือ “ a กำลัง n “
เขียนแทนด้วย aมีความหมายดังนี้ a= aaaaa …..a (a คูณกัน n ตัว)
จากนิยาม จะเรียก aว่าเลขยกกำลัง เรียก a ว่า ฐาน และเรียก n ว่า เลขชี้กำลัง
ตัวอย่าง เช่น
1) 3 = 3333 มี 3 เป็น ฐาน และ มี 4 เป็นเลขชี้กำลัง
2) (-5) = -5-5-5 มี -5 เป็น ฐาน และ มี 3 เป็นเลขชี้กำลัง
การคูณและการหารเลขยกกำลัง
การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก
สมบัติของการคูณเลขยกกำลัง
ถ้า a เป็นจำนวนใดๆ m และ n เป็นจำนวนเต็มบวก แล้ว
1) am x an = am + n (ถ้าเลขยกกำลังฐานเหมือนกันคูณกัน ให้นำเลขชี้กำลังมาบวกกัน)
สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (Scientific Notation)
.สัญกรณ์วิทยาศาสตร์เป็นวิธีการหนึ่งในการเขียนจำนวนในรูป a × 10n เมื่อ a มากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 10 (1 ≤ a < 10) เช่น 63,000 = 6.3 × 10n
สัญกรณ์วิทยาศาสตร์อาจรู้จักกันในชื่อ รูปแบบมาตรฐาน (Standard form) ซึ่่งในการเขียนจำนวนหนึ่งในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ต้องวางจุดทศนิยมระหว่างตัวเลขนัยสำคัญตัวแรกและตัวเลขนัยสำคัญตัวที่สอง
ถ้ามีจำนวนหนึ่งระหว่าง 1 ถึง 10 ขั้นต่อไปหาเลขยกกำลังของ 10 โดยนับจำนวนเลขโดดที่อยู่ต่อไปจากซ้ายไปขวาของจุดทศนิยม ซึ่งจะมีอยู่ในจำนวนใหม่เทียบกับจำนวนเก่า
เช่น 683,000,000 = 6.83 × 108 (ใส่จุดทศนิยมแล้วนับเลขโดด 8 ตัว ไปทางซ้าย)
0.00005842 = 5.842 × 10-5 (ใส่จุดทศนิยมแล้วนับเลขโดด 5 ตัว ไปทางขวา)
สัญกรณ์วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ในการเปรียบเทียบจำนวนที่มีค่ามาก ๆ และจำนวนที่มีค่าน้อยมาก ตัวอย่างเช่น 97430000000 = 9.743 × 1010 และ 785300000 เขียนเป็น 7.853 × 108 โดยการเปรียบเทียบเลขชี้กำลัง จะเห็นว่า 108 น้อยกว่า 1010 ดังนั้น จะทำให้เราทราบความสัมพันธ์ของจำนวนทั้งสอง มวลของดวงจันทร์เป็นจำนวนที่เป็นเลขโดดถึง 23 ตัวของกิโลกรัม อาจจะเขียนให้ง่ายในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์เป็น 7.37 × 1022 กิโลกรัม