คณิตศาสตร์ม.1 เลขยกกำลัง
เลขยกกำลัง ฐาน และเลขชี้กำลัง
จำนวนที่สามารถเป็นฐานได้มีหลายรูปแบบ เช่น จำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ เศษส่วน ทศนิยม ยกตัวอย่างเช่น 24 (-2)4 ()2 0.45
ข้อสังเกต: อ่านไม่เหมือนกัน ผลลัพธ์ไม่เท่ากัน
ลบสองทั้งหมดยกกำลังสี่
(-2)4 = (-2)(-2)(-2)(-2) = 16
ลบสองยกกำลังสี่
-24 = – (2 x 2 x 2 x 2) = -16
จะเห็นว่า (-2)4 มีค่าไม่เท่ากับ -24 แค่ใส่วงเล็บ ผลลัพธ์ก็ต่างกันแล้ว ดังนั้นเพื่อน ๆ ต้องระวังการใส่วงเล็บให้ดีนะ เราลองมาดูตัวอย่างอื่น ๆ เพิ่มกันดีกว่า
54 = 5 x 5 x 5 x 5 = 625
(5)4 = (5)(5)(5)(5) = 625
-54 = -(5 x 5 x 5 x 5) = -(625) = -625
(-5)4 = (-5)(-5)(-5)(-5) = (25)(25) = 625
กรณีนี้ เลขชี้กำลังเป็นจำนวนคู่ สำหรับฐานที่เป็นจำนวนลบ จะเห็นว่า (-5)4 เท่ากับ 54 แต่ไม่เท่ากับ -54 อย่าลืมสังเกตให้ดีนะว่าเครื่องหมายลบอยู่ข้างในหรือข้างนอกวงเล็บ
53 = 5 x 5 x 5 = 125
-53 = -(5 x 5 x 5) = -125
(-5)3 = (-5)(-5)(-5) = -125
ตัวอย่าง
จงหาค่าของเลขยกกำลัง 32
32 = 3 x 3 = 9
จงหาค่าของเลขยกกำลัง 42
42 = 4 x 4 = 16
จงหาค่าของเลขยกกำลัง 53
53 = 5 x 5 x 5 = 125
จงหาค่าของเลขยกกำลัง (-5)3
(-5)3 = (-5) x (-5) x (-5) = -125
จงหาค่าของเลขยกกำลัง (-2)5
(-2)5 = (-2) x (-2) x (-2) x (-2) x (-2) = -32
จงหาค่าของเลขยกกำลัง (0.2)4
(0.2)5 = (0.2) x (0.2) x (0.2) x (0.2) = 0.0016
จงหาค่าของเลขยกกำลัง (-2)4
(-2)4 = (-2) x (-2) x (-2) x (-2) = 16
จงหาค่าของเลขยกกำลัง -24
-(24) = -(2 x 2 x 2 x 2) = -(16)
สรุปนี้เป็นเรื่องสมบัติของเลขยกกำลัง เนื้อหาชั้นม.1
ซึ่งจะมีการกล่าวถึงบทนิยามของเลขยกกำลัง รวมถึงสมบัติต่างๆของเลขยกกำลังค่ะ ถ้าเราเข้าใจและจำสมบัติต่างๆได้ ก็จะสามารถนำไปใช้แก้โจทย์ต่างๆได้
รูปปก และสติกเกอร์ตกแต่งต่างๆ ที่นำมาใช้ ใช้เพื่อตกแต่งและเพิ่มความน่าอ่านให้กับสรุปเท่านั้น