คณิตศาสตร์ ม.4
จำนวนจริง
- ระบบจำนวนจริง และสมบัติของระบบจำนวนจริง
- พหุนาม
- การแยกตัวประกอบของพหุนาม
- สมการพหุนาม
- อสมการพหุนาม
- ค่าสัมบูรณ์
ระบบจำนวนจริง
จำนวนจริงคือจำนวนทั้งหมดที่สามารถแสดงบนเส้นจำนวนได้ดังนั้นตัวเลขเช่น -5, – 6/2, 0, 1, 2 หรือ 3.5 จึงถือเป็นของจริงเนื่องจากสามารถสะท้อนให้เห็นในการแทนค่าตัวเลขที่ต่อเนื่องกันในรูปแบบจินตภาพ ไลน์. อักษรตัวใหญ่ R เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงชุดของจำนวนจริง
พิจารณาในรายละเอียดได้ดังนี้
- จำนวนอตรรกยะ คือ จำนวนที่ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม หรือ ทศนิยมซ้ำได้ ยกตัวอย่างเช่น√2, √3,√5 หรือค่า¶ เป็นต้น
- จำนวนตรรกยะ คือ จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม หรือ ทศนิยมซ้ำได้ยกตัวอย่างเช่น 1/2, 1/3, 2/5 เป็นต้น
จากแผนภาพอีกเช่นเคย จะเห็นได้ว่า จำนวนตรรกยะ จะประกอบด้วยสองส่วนคือ จำนวนเต็ม และ จำนวนตรรกยะที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม
- จำนวนเต็ม คือจำนวนที่เป็นตัวเลขเต็มๆ หรือ ตัวเลขที่ไม่มีทศนิยมนั่นเอง นั่นคือ ตัวเลขที่เราใช้นับนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น 1, 2, 3, 4 … ทั้งนี้ทั้งนั้น รวมไปจนถึงค่าที่ติบลบของจำนวนนับนี้และศูนย์ด้วย เช่น 0, -1, -2, -3, -4 ….
- จำนวนตรรกยะที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม ความหมายของจำนวนนี้ก็ตามความหมายของชื่อเลยครับ นั่นคือ ตัวเลขเขียนในรูปของทศนิยมซ้ำได้โดยที่ไม่ได้เป็นเลขจำนวนเต็มนั่นเอง อย่างเช่น 1/2=0.5 หรือ 1/3 = 0.333… (สามซ้ำ)
ยิ่งไปกว่านั้น จำนวนเต็มยังแบ่งย่อยได้อีกสามหมวดคือ จำนวนเต็มลบ จำนวนเต็มบวก และ จำนวนเต็มศูนย์
ดังนั้น x2 + 2x – 15 = (x-3)(x+5)
พหุนาม คือ อะไร
พหุนาม คือ เอกนามหรือจำนวนที่เขียนอยู่ในรูปการบวก ของเอกนาม ตั้งแต่สองเอกนามขึ้นไป
เอกนามในพหุนาม เรียกว่า พจน์
เช่น 5x3 -4x2 + 6 หรือ 5x3 +( -4x2 ) + 6
เป็นพหุนาม
พจน์ที่ 1 คือ 5x3
พจน์ที่ 2 คือ -4x2
พจน์ที่ 3 คือ 6
การแยกตัวประกอบ คือ การเขียนพหุนามในรูปการคูณของพหุนาม ซึ่งตัวประกอบแต่ละวงเล็บต้องมีดีกรีน้อยกว่าพหุนามเดิม โดยที่แต่ละวงเล็บที่ได้ไม่สามารถเขียนได้ไม่สามารถเขียนเป็นรูปการคูณต่อไปได้อีกมีวิธีการแยกตัวประกอบ 8 วิธีคือ
- ดึงตัวร่วมโดยใช้สมบัติการแจกแจง
จงแยกตัวประกอบของพหุนามต่อไปนี้
- 7x + 14x2 2. 7x2y3 + 14x4 y2 3. 7(x+y)2 + 14(x+y)5
วิธีที่ 1 7x + 14x2 = 7x(1+2x)
วิธีที่ 2 7x + 14x2 = (7x)(1) + (7x)(2x)
= 7x(1+2x)
(2) 7x2y3 + 14x4 y2 = 7x2 y2 (y+2x)2
(3) 7(x+y)2 + 14(x+y)5 = 7(x+y)2 (1+2(x+y)3)
- สามพจน์แยกเป็น 2 วงเล็บ
จงแยกตัวประกอบของพหุนามต่อไปนี้
- x2 + 8x + 15 2. x2 -8x +15
3. x2 + 2x – 15 4. x2 – 2x – 15
วิธีทำ
(1) x2 + 8x + 15 = (x+3)(x+5)
(2) x2 -8x +15 = (x-3)(x-5)
(3) x2 + 2x – 15 = (x-3)(x+5)
(4) x2 – 2x – 15 = (x – 5)(x+3)
ข้อสังเกต
จากข้อ 1
x2 + 8x + 15 = (x+ ) (x+ ) ( ดูจาก 15 และ 8 x)
คิดต่อไปว่าจำนวนนับอะไรคูณกันได้ 15 และ และรวมกันได้ 8 จะได้ 3 และ 5
ดังนั้น x2 + 8x + 15 เท่ากับ (x+3)(x+5)
จากข้อ 2
x2 -8x +15 = (x- )(x- )
( ดูจาก 15 และ – 8x ต่อไปว่าจำนวนนับอะไรคูณกันได้ 15 และรวมกันได้ 8 จะได้ 3 และ 5)
ดังนั้น x2 -8x +15 = (x-3)(x-5)
จากข้อ 3
x2 + 2x – 15 = (x- )(x+ ) ( ดูจาก – 15) คิดต่อไปว่าจำนวนนับอะไรคูณกันได้ -15 และต่างกัน 2 จะได้ 3 และ 5 เนื่องจากผลกลางคือ 2x จึงใส่ 5 ไว้ที่บวกและใส่ 3 ไว้ที่ลบ
ดังนั้น x2 + 2x – 15 = (x-3)(x+5)