การทดลองสุ่ม แซมเปิลสเปซ และเหตุการณ์
1.การทดลองสุ่ม ( Random Experiment )
คือ การทดลองที่เราไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากแต่ละการกระทาจะเป็นอะไร แต่สามารถบอกได้ว่ามีผลลัพธ์อะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นได้ เช่น โยนเหรียญบาท 1 เหรียญ 1 ครั้ง หน้าที่หงายขึ้นอาจออกหัวหรืออกก้อย
ทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง หน้าที่หงายขึ้นอาจเป็นแต้ม 1, 2, 3, 4, 5 หรือ 6 แต่เราไม่รู้ว่าจะเกิดแต้มอะไรแน่นอน
การหยิบลูกปิงปอง 1 ลูก จากกล่อง ซึ่งมี 5 ลูก 5 สี ดังรูป ลูกปิงปองที่หยิบได้อาจจะเป็น ลูกปิงปองสีขาว ฟ้า แดง เขียว หรือส้ม
เมื่อศึกษาหน่วยนี้จบแล้ว
1. นักศึกษาสามารถบอกได้ว่าการทดลองใดเป็นการทดลองสุ่ม
2. เขียนแซมเปิลสเปซของการทดลองสุ่มที่กำหนดให้ได้
3. เขียนเหตุการณ์ที่สนใจซึ่งเป็นสับเซตของแซมเปิลสเปซ
ตัวอย่าง
ตัวอย่างที่ 1 จงหาผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลองต่อไปนี้
1. การโยนเหรียญขึ้นไปในอากาศ
2. การทอดลูกเต๋าลงในถ้วย
3. การนำ 2 ไปบวกกับ 3
4. การเล่นเป่ายิ้งฉุบ
5. การนำจำนวนคู่คูณกับจำนวนคี่
6. การหาผลคูณของจำนวน 2 จำนวน
เฉลย 1. {หัว,ก้อย}
2. {1,2,3,4,5,6}
3. 5
4. {แพ้,ชนะ}
5. จำนวนคู่
6. ไม่ทราบผลลัพธ์
การทดลองสุ่ม คือ การทดลองใดๆที่มีผลลัพธ์ที่เป็นไปได้มากกว่าหนึ่งอย่าง
ทำให้ไม่สามารถบอกผลลัพธ์ที่แน่นอนได้ล่วงหน้า แต่ทราบผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด
ถ้าการทดลองใดๆมีผลลัพธ์เกิดขึ้นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หรือ ไม่ทราบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
เรียกว่า การทดลองที่ไม่ใช่การทดลองสุ่ม
พิจารณาว่าการทดลองในตัวอย่างที่ 1 ข้อใดเป็นการทดลองสุ่ม
1. การโยนเหรียญขึ้นไปในอากาศ เป็นการทดลองสุ่ม เพราะเรารู้ขอบเขตของผลลัพธ์ว่าเป็นอย่างไร
ได้บ้างแต่ยังไม่ทราบว่าเหรียญจะหงายหัวหรือก้อย ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้มากกว่าหนึ่งอย่าง
2. การทอดลูกเต๋าลงในถ้วย เป็นการทดลองสุ่ม เพราะเรารู้ขอบเขตของผลลัพธ์ว่าเป็นอย่างไร
ได้บ้างแต่ยังไม่ทราบว่าลูกเต๋าหงายหน้าอะไร ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้มากกว่าหนึ่งอย่าง
3. การนำ 2 ไปบวกกับ 3 ไม่เป็นการทดลองสุ่ม เพราะผลลัพธ์เท่ากับ 5 เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
4. การเล่นเป่ายิ้งฉุบเป็นการทดลองสุ่ม เพราะเรารู้ขอบเขตของผลลัพธ์ว่าเป็นอย่างไรได้บ้างแต่ยัง
ไม่ทราบว่าจะแพ้หรือชนะ ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้มากกว่าหนึ่งอย่าง
5. การนำจำนวนคู่คูณกับจำนวนคี่ ไม่เป็นการทดลองสุ่ม เพราะผลลัพธ์จะเป็นจำนวนคู่เสมอ
6. การหาผลคูณของจำนวน 2 จำนวน ไม่เป็นการทดลองสุ่ม เพราะเราไม่รู้ว่า 2 จำนวนนั้นคือ
จำนวนใด จึงไม่สามารถหาผลลัพธ์ที่แน่นอนได้
ตัวอย่างที่ 2 จงพิจารณาว่าการทดลองต่อไปนี้เป็นการทดลองสุ่มหรือไม่
1. การสุ่มหยิบไพ่หนึ่งใบจากไพ่สำรับหนึ่ง
2. การวิ่งแข่ง
เฉลย ทั้งสองการทดลองเป็นการทดลองสุ่ม
1. การหยิบไพ่หนึ่งใบจากไพ่สำรับหนึ่ง ถือว่าเป็นการทดลองสุ่ม เพราะเรายังไม่ทราบว่าจะได้ไพ่ใด
2. การวิ่งแข่งขัน ถือว่าเป็นการทดลองสุ่ม เพราะแต่ละคนมีโอกาสชนะแต่เราไม่ทราบว่าเป็นใคร
แซมเปิลสเปซ (Sample Space)
แซมเปิลสเปซ (sample space) คือ เซตที่มีสมาชิกเป็นผลลัพธ์ที่อาจจะเป็นไปได้ทั้งหมดของการทดลองสุ่ม เขียนแทนด้วย s และจำนวนของ แซมเปิลสเปซ เขียนแทนด้วย n(S)
นิยาม 1
คือ เซตของผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งหมดจากการทดลองสุ่ม ใช้ Sแทนเซตของแซมเปิลสเปซ
เช่น การทอดลูกเต๋า1ลูก1ครั้ง
ผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทดลองสุ่ม คือ 1,2,3,4,5,6 ดังนั้น S={1,2,3,4,5,6}
นิยาม 2
คือ ถ้า S เป็นแซมเปิลสเปซและเป็นเซตจำกัดแล้ว จำนวนผลลัพธ์ใน S จะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ n(s)
จากS={1,2,3,4,5,6} จะได้ว่า n(s)=6
**แซมเปิลสเปซจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่สนใจ
ถ้าผลลัพธ์ทุกผลลัพธ์ในแซมเปิลสเปซมีโอกาสเกิดขึ้นเท่าๆกัน จะเรียกผลลัพธ์เหล่านี้ว่า ผลลัพธ์เหมือนเท่ากัน ซึ่งเป็นแซมเปิลสเปซที่ใช้ในการคำนวณหาค่าความน่าจะเป็น เราจะหาจำนวณผลลัพธ์ในแซมเปิลสเปซได้โดย
1. เขียนแผนภาพ 2. ใช้กฎเกณฑ์การนับ
ตัวอย่างที่ 3 ถ้าโยนเหรียญหนึ่งเหรียญ 1 ครั้ง จงหาผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด
ตอบ ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้คือ หัวหรือก้อย
ตัวอย่างที่ 4 การทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง จงหาแต้มที่เกิดขึ้นทั้งหมด
ตอบ แต้มที่เกิดขึ้นทั้งหมดคือ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 และ 6
ผลลัพธ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการทดลองสามารถเขียนในรูปของเซต
โดยเรียกเซตนี้ว่า แซมเปิลสเปซ
แซมเปิลสเปซ (Sample Space) คือ เซตของผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมด
จากการทดลองสุ่ม และเป็นสิ่งที่เราสนใจ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ S
ซึ่งในการทดลองสุ่มเดียวกัน สามารถเขียนแซมเปิลสเปซได้มากกว่าหนึ่งแบบ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่เราสนใจ
จากตัวอย่างที่ 3 จะได้ว่าแซมเปิลสเปซในการโยนเหรียญหนึ่งเหรียญ 1 ครั้ง คือ {หัว,ก้อย}
จากตัวอย่างที่ 4 การทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง
ถ้าผลลัพธ์ที่เราสนใจ คือ แต้มที่ได้ จงเขียนแซมเปิลสเปซ
ให้ S1 แทนแซมเปิลสเปซ จะได้
S1 = { 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 }
แต่ถ้าผลลัพธ์ที่เราสนใจ คือ แต้มของลูกเต๋าที่ได้ เป็นจำนวนคู่
ให้ S2 แทนแซมเปิลสเปซ จะได้
S2 = { 2 , 4 , 6 }
จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นว่า แซมเปิลสเปซที่เขียนได้ไม่เหมือนกัน
ตัวอย่างที่ 5 กล่องใบหนึ่งมีลูกบอลสีแดง 2 ลูก สีขาว 1 ลูก ถ้าสุ่มหยิบลูกบอล 1 ลูก จงหา
1. แซมเปิลสเปซของสีลูกบอลที่หยิบได้
2. แซมเปิลสเปซของลูกบอลที่หยิบได้
วิธีทำ 1. เนื่องจากโจทย์สนใจสีของลูกบอลที่หยิบได้ และสีของลูกบอลมี 2 สี คือ สีแดงและสีขาว
ดังนั้นแซมเปิลสเปซของสีของลูกบอลที่หยิบได้คือ
S = {สีแดง,สีขาว}
2. เนื่องจากโจทย์สนใจลูกบอลที่หยิบได้ และลูกบอลมีทั้งหมด 3 ลูก
สมมติให้เป็น แดง1 แดง2 ขาว1
ดังนั้นแซมเปิลสเปซของลูกบอลที่หยิบได้คือ
S = {แดง1,แดง2, ขาว1}
จากผลลัพธ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้ ถ้าเราสนใจผลลัพธ์เพียงบางตัว เราจะเรียก
เซตของผลลัพธ์บางตัวที่เราสนใจนี้ว่า เหตุการณ์
เหตุการณ์ (Events)
ในการทดลองเรามักจะสนใจเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของเหตุการณ์มากกว่าสนใจในสมาชิกทั้งหมดของแซมเปิลสเปซ เช่น เมื่อทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง เราสนใจในเหตุการณ์ A เมื่อเหตุการณ์ A คือการทอดลูกเต๋าแล้วได้แต้มเป็นจำนวนคู่ เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อผลลัพธ์เป็นสมาชิกของเซต A = {2, 4, 6} ซึ่งเป็นสับเซตของแซมเปิลสเปซ S = { 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 }
เหตุการณ์ คือ สับเซตของแซมเปิลสเปซ นิยมใช้สัญลักษณ์ E แทนเหตุการณ์
จะได้ว่า S และ f ก็เป็นเหตุการณ์ด้วย
ตัวอย่างที่ 6 ในการโยนลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจคือ แต้มที่ได้
จะได้ S = { 1,2,3,4,5,6 }
ถ้าให้ E1 เป็นเหตุการณ์ที่ได้แต้มซึ่งหารด้วย 3 ลงตัว จะได้ E1 = { 3,6 }
E2 เป็นเหตุการณ์ที่ได้แต้มมากกว่า 2 จะได้ E2 = { 3,4,5,6 }
ในกรณีทั่วไปเราจะใช้สัญลักษณ์
n(S) แทนจำนวนสมาชิกในแซมเปิลสเปซ S
n(E) แทนจำนวนสมาชิกในเหตุการณ์ E
จากตัวอย่างที่ 6 จะได้ว่า n(S) = 6 , n(E1) = 2 และ n(E2) = 4
ตัวอย่างที่ 7 โยนเหรียญ 2 เหรียญ 1 ครั้ง ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจ คือ หน้าของเหรียญที่ขึ้น จงหา
ก. เหตุการณ์ที่ได้หัวสองเหรียญ
ข. เหตุการณ์ที่เหรียญขึ้นหน้าเดียวกัน
วิธีทำ จะได้ S = { HH,HT,TH,TT }
ก. เหตุการณ์ที่ได้หัวสองเหรียญ คือ E1 = { HH }
ข. เหตุการณ์ที่เหรียญขึ้นหน้าเดียวกัน คือ E2 = { HH , TT }
ตัวอย่างที่ 8 ทอดลูกเต๋า 2 ลูก 1 ครั้ง ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจ คือ แต้มที่ได้ จงหา
ก. เหตุการณ์ที่ผลรวมของแต้มเป็น 4
ข. เหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้มเหมือนกัน
วิธีทำ จะได้ S = { (1,1),(1,2),(1,3),(1,4),(1,5),(1,6)
(2,1),(2,2),(2,3),(2,4),(2,5),(2,6)
(3,1),(3,2),(3,3),(3,4),(3,5),(3,6)
(4,1),(4,2),(4,3),(4,4),(4,5),(4,6)
(5,1),(5,2),(5,3),(5,4),(5,5),(5,6)
(6,1),(6,2),(6,3),(6,4), (6,5),(6,6) }
เหตุการณ์ที่ผลรวมของแต้มเป็น 4 คือ E1 = { (1,3),(2,2),(3,1) }
เหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้มเหมือนกัน E2 = { (1,1),(2,2),(3,3),(4,4),(5,5),(6,6)}
ตัวอย่างที่ 9 ทอดลูกเต๋า 2 ลูก 1 ครั้ง ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจ คือ ผลรวมของแต้มที่ได้ เป็น 2,3,4,5,6,7,8,9,10,11 และ 12 จงหา
ก. เหตุการณ์ที่ผลรวมแต้มของลูกเต๋าทั้งสองลูกเป็นจำนวนที่หารด้วย 3 ลงตัว
ข. เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมแต้มของลูกเต๋าทั้งสองลูกมากกว่า 12
ค. เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมแต้มของลูกเต๋าทั้งสองเป็นจำนวนเฉพาะ
วิธีทำ จะได้ S = { 2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12 }
เหตุการณ์ที่ผลรวมแต้มของลูกเต๋าทั้งสองลูกเป็นจำนวนที่หารด้วย 3 ลงตัว คือ
E1 = { 3,6,9,12 }
เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมแต้มของลูกเต๋าทั้งสองลูกมากกว่า 12 คือ E2 =
เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมแต้มของลูกเต๋าทั้งสองเป็นจำนวนเฉพาะ คือ E3 = { 2,3,5,7,11}
ข้อสังเกต
1. เพราะว่า f Ì S ดังนั้น f เป็นเหตุการณ์
2. เพราะว่า S Ì S ดังนั้น S เป็นเหตุการณ์
3. เนื่องจาก S เป็นเซตจำกัด ถ้า E เป็นเหตุการณ์แล้ว
3.1 E เป็นเซตจำกัด
3.2 0 n(E) n(S)
3.3 n(E) = 0 ก็ต่อเมื่อ E = f
3.4 n(E) = n(S) ก็ต่อเมื่อ E = S
ตัวอย่าง 10 ในการโยนลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจคือ แต้มที่ได้
จะได้ S = { 1,2,3,4,5,6 }
ถ้าให้ E1 เป็นเหตุการณ์ที่ได้แต้มซึ่งหารด้วย 3 ลงตัว จะได้ E1 = { 3,6 }
E2 เป็นเหตุการณ์ที่ได้แต้มมากกว่า 2 จะได้ E2 = { 3,4,5,6 }
ในกรณีทั่วไปเราจะใช้สัญลักษณ์
n(S) แทนจำนวนสมาชิกในแซมเปิลสเปซ S
n(E) แทนจำนวนสมาชิกในเหตุการณ์ E
จะได้ว่า n(S) = 6 , n(E1) = 2 และ n(E2) = 4
ตัวอย่าง 11 โยนเหรียญ 2 เหรียญ 1 ครั้ง ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจ คือ หน้าของเหรียญที่ขึ้น จงหา ก. เหตุการณ์ที่ได้หัวสองเหรียญ ข. เหตุการณ์ที่เหรียญขึ้นหน้าเดียวกัน
วิธีทำ จะได้ S = { HH,HT,TH,TT }
ก. เหตุการณ์ที่ได้หัวสองเหรียญ คือ E1 = { HH }
ข. เหตุการณ์ที่เหรียญขึ้นหน้าเดียวกัน คือ E2 = { HH , TT }
ตัวอย่าง 12 ทอดลูกเต๋า 2 ลูก 1 ครั้ง ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจ คือ แต้มที่ได้ จงหา ก. เหตุการณ์ที่ผลรวมของแต้มเป็น 4 ข. เหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้มเหมือนกัน
วิธีทำ จะได้ S = { (1,1),(1,2),(1,3),(1,4),(1,5),(1,6)
(2,1),(2,2),(2,3),(2,4),(2,5),(2,6)
(3,1),(3,2),(3,3),(3,4),(3,5),(3,6),
(4,1),(4,2),(4,3),(4,4),(4,5),(4,6),
(5,1),(5,2),(5,3),(5,4),(5,5),(5,6)
(6,1),(6,2),(6,3),(6,4), (6,5),(6,6) }
เหตุการณ์ที่ผลรวมของแต้มเป็น 4 คือ E1 = { (1,3),(2,2),(3,1) }
เหตุการณ์ที่ลูกเต๋าขึ้นแต้มเหมือนกัน E2 = { (1,1),(2,2),(3,3),(4,4),(5,5),(6,6)}
โจทย์
ทอดลูกเต๋า 2 ลูก 1 ครั้ง ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจ คือ ผลรวมของแต้มที่ได้ เป็น 2,3,4,5,6,7,8,9,10,11 และ 12 จงหา
ก. เหตุการณ์ที่ผลรวมแต้มของลูกเต๋าทั้งสองลูกเป็นจำนวนที่หารด้วย 3 ลงตัว
ข. เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมแต้มของลูกเต๋าทั้งสองลูกมากกว่า 12
ค. เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมแต้มของลูกเต๋าทั้งสองเป็นจำนวนเฉพาะ
โจทย์
จากการทอดลูกเต๋า1ลูก1ครั้ง จงเขียนเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
1.ลูกเต๋าขึ้นแต้มคู่
2.ลูกเต๋าขึ้นแต้มน้อยกว่า4
3.ลูกเต๋าขึ้นแต้มไม่เกิน6
4.ลูกเต๋าขึ้นแต้มเป็นเลขคี่และน้อยกว่า4
ตัวอย่างที่ 13 ในการทอดลูกเต๋า 2 ลูก พร้อมกัน 1 ครั้ง จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้
(1) ผลรวมของแต้มบนหน้าลูกเต๋าทั้งสองลูกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6
(2) ผลรวมของแต้มบนหน้าลูกเต๋าทั้งสองลูกหารด้วย 4 ได้ลงตัว
วิธีทำ ทอดลูกเต๋า 2 ลูก พร้อมกัน 1 ครั้ง จะได้
n(S) = 36
(1) หาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ที่ผลรวมของแต้มบนหน้าลูกเต๋าทั้งสองลูก น้อยกว่า หรือเท่ากับ 6
ให้ E1 เป็นเหตุการณ์ที่ ผลรวมแต้มบนหน้าลูกเต๋าทั้งสองลูกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คือ มีผลรวมแต้มเท่ากับ 2, 3, 4, 5 และ 6
ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ที่ผลรวมแต้มบนหน้าลูกเต๋าทั้งสองลูกน้อยกว่า หรือเท่ากับ 6 มีค่าเท่ากับ 5/12
(2) หาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ที่ผลรวมของแต้มบนหน้าลูกเต๋าทั้งสองลูก หารด้วย 4 ได้ลงตัว
ให้ E2 เป็นเหตุการณ์ที่ผลรวมของแต้มบนหน้าลูกเต๋าทั้งสองลูก หารด้วย 4 ได้ลงตัว คือ มีผลรวมแต้มเท่ากับ 4, 8 และ 12
ดังนั้น ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ที่ผลรวมของแต้มบนหน้าลูกเต๋าทั้งสองหารด้วย 4 ได้ลงตัว มีค่าเท่ากับ 1/4