ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
คู่อันดับ
คู่อันดับประกอบด้วยสมาชิกสองตัว เขียนแทนคู่อันดับในรูป (a,b) โดยที่ a เป็นสมาชิกตัว
หน้า และ b เป็นสมาชิกตัวหลัง
การสลับที่กันของคู่อันดับระหว่างสมาชิกตัวหน้ากับสมาชิกตัวหลัง (a,b) (b,a) จะท าให้
ความหมายของคู่อันดับเกิดการเปลี่ยนทันที ดังนั้น จึงสามารถสรุปหลักการของคู่อันดับได้ ดังนี้
1. ถ้า (a,b) = (b,a) ก็ต่อเมื่อ a=b
2. ถ้า (a,b) = (c,d) ก็ต่อเมื่อ a=c และ b=d
3. ถ้า (a,b) ≠ (c,d) ก็ต่อเมื่อ a≠ c หรือ b≠ d
ผลคูณคาร์ทีเซียน(Cartesian product)
ให้ A และ B เป็นเซตสองเซตใด ๆ ผลคูณคาร์ทีเซียนของ A และ B
เขียนแทนด้วย A×B (อ่านว่า A ครอส B) เป็นเซตของคู่อันดับทั้งหมดที่เป็นไปได้
โดยที่สมาชิกตัวแรกของคู่อันดับเป็นสมาชิกของ A และสมาชิกตัวหลังของคู่อับดับ
เป็นสมาชิกของ B
นั้นคือ A×B = {(a , b) | a A , b B }
ตัวอย่างที่ 2.1
การหาผลคูณคาร์ทีเซียน
กำหนด A = {1,2,3} , B = {a,b}
1. A×B = { (1,a) , (1,b) , (2,a) , (2,b) , (3,a) , (3,b) }
2. B×A = { (a,1) , (a,2) , (a,3) , (b,1) , (b,2) , (b,3) }
3. A×A = { (1,1) , (1,2) , (1,3) , (2,1) , (2,2) , (2,3) , (3,1) , (3,2) , (3,3) }
4. B×B = { (a,a) , (a,b) , (b,a) , (b,b) }
คุณสมบัติของผลคูณคาร์ทีเซียน
ผลคูณคาร์ทีเซียน |
|||||
ผลคูณคาร์ทีเซียนของเซต A และเซต B คือเซตของคู่อันดับ (a,b) ทั้งหมดซึ่ง a เป็นสมาชิกของเซต A และ b เป็นสมาชิกของเซต B และเขียนแทนด้วย A× B | |||||
นั่นคือ A× B = { (a,b) | a ∈ A และ b ∈ B } | |||||
สมบัติของผลคูณคาร์ทีเซียน | |||||
กำหนด A, B และ C เป็นเซตใดๆ แล้ว | |||||
1. | A× B ไม่จำเป็นต้องเท่ากับ B × A | ||||
A× B = B × A ก็ต่อเมื่อ A = B หรือ A = Ø หรือ B = Ø | |||||
A× B ≠ B × A ก็ต่อเมื่อ A ≠ B ≠ Ø | |||||
2. | A × Ø = Ø × A = Ø | ||||
3. | A × ( B ∪ C ) | = (A× B) ∪(A × C) | |||
(A ∪ B) × C | = (A× C) ∪(B × C) | ||||
4. | A × ( B ∩ C ) | = (A× B) ∩ (A × C) | |||
(A ∩ B) × C | = (A× B) ∩ (B × C) | ||||
5. | A × ( B – C ) | = (A× B) – (A × C) | |||
(A – B) × C ) | = (A× C) – (B × C) |
ในระบบแกนมุมฉาก เราสามารถจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง ระหว่างคู่อันดับของจำนวนจริง (x, y) กับพิกัดของจุดบนระนาบ โดยให้ x เป็นพิกัดแรก และ y เป็นพิกัดหลัง จากหลักการดังกล่าวทำให้เราสามารถเขียนกราฟของความสัมพันธ์ได้ดังนี้ | ||
บทนิยาม |
|
ตัวอย่างที่ 1 | จงเขียนกราฟของความสัมพันธ์ |
r = { (x,y) ∈ A × A | x + y = 5} เมื่อกำหนดให้ | |
A = {1, 2, 3, 4} | |
วิธีทำ | r = {(1, 4), (2, 3), (3, 2), (4, 1)} |
ความสัมพันธ์ของผลรวม
เนื่องจากความสัมพันธ์ จาก A ไป B เป็นเซตย่อยของ AX B
ดังนั้นความสัมพันธ์ 2 ความสัมพันธ์ จาก A ไป B สามารถนำมากระทำกันตามการกระทำบนเซตได้
ตัวอย่างที่ 17 ให้ A = {1,2,3} และ B = {1,2,3,4} R1 และ R2 เป็นความสัมพันธ์ จาก A ไป B
กำหนดโดย R1 = {(1,1),(2,2),(3,3)} และ R2 = {(1,1),(1,2),(1,3),(1,4)} จะได้ว่า
R1 ศ R2 = {(1,1),(1,2),(1,3),(1,4),(2,2),(2,3)}
R1 ว R2 = {(1,1)}
R1 – R2 = {(2,2),(3,3)}
R2 – R1 = {(1,2),(1,3),(1,4)}
นิยาม 6 ให้ R เป็นความสัมพันธ์จากเซต A ไปเซต B
S เป็นความสัมพันธ์จากเซต B ไปเซต C
ส่วนประกอบของ R และ S คือ ความสัมพันธ์ ซึ่งประกอบด้วยคู่อันดับ
(a, c) โดยที่ a ฮ A , c ฮ C โดยที่มี b ฮ B ที่ทำให้ (a,b) ฮ R และ (b,c) ฮ S
เขียนแทน ส่วนประกอบของ R และ S ด้วย SoR
ตัวอย่างที่ 18 ให้ A = {1,2,3} , B = {1,2,3,4} และ C = { 0, 1, 2}
R เป็นความสัมพันธ์จากเซต A ไปเซต B กำหนดโดย R = { (1,1) , (1,4), (2,3), (3,1) , (3,4) }
S เป็นความสัมพันธ์จากเซต B ไปเซต C กำหนดโดย S = { (1,0), (2,0) ,(3,1) ,(3,2), (4,1) }จงหา SoR
วิธีทำ
พิจารณา คู่อันดับ (1,1) ใน R จะเห็นได้ว่าสมาชิกในพิกัดที่ 2 คือ 1 คราวนี้ก็ดูว่า
คู่อันดับใน S ที่มีสมาชิกในพิกัดที่ 1 เป็น 1 มีไหม ให้เอามาทั้งหมด
ซึ่งในที่นี้มีเพียงคู่อันดับเดียวคือ (1,0)
ดังนั้น คู่อันดับ (1,0) จึงอยู่ใน SoR
สำหรับคู่อันดับอื่นนั้นก็พิจารณาในแบบเดียวกันจึงได้ว่า
SoR = { (1,0) ,(1,1) ,(2,1) ,(2,2) ,(3,0) ,(3,1) }