ประเทศใดก็ตามที่มี “ทุนมนุษย์” ซึ่งมีศักยภาพพร้อมทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ย่อมมีความได้เปรียบเหนือนานาประเทศ เพราะทุนมนุษย์เหล่านี้เองที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้การพัฒนาประเทศทุกด้านเป็นไปได้ตามที่ภาครัฐวางนโยบายไว้ ด้วยเหตุนี้ การลงทุนเพื่อการศึกษา จึงเป็นภารกิจเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ เพื่อสร้าง มนุษย์ที่มีคุณค่ากับสังคม
ทางเศรษฐศาสตร์ โมเดล Endogenous growth] อธิบายถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวที่เกิดจากปัจจัยภายใน เช่น การพัฒนาทุนมนุษย์ คือ การเพิ่มความรู้และทักษะให้แรงงานซึ่งมีผลดีต่อการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของงานได้มาก จนสามารถหักล้างผลของการลดน้อยถอยลงของผลผลิตหน่วยสุดท้าย และอัตราการเสื่อมของทุนทางกายภาพ เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ และคอมพิวเตอร์ หากประเทศใดยิ่งมีสัดส่วนของทุนมนุษย์ต่อทุนกายภาพสูง ก็จะยิ่งสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงช่วยเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น รวมทั้งการศึกษาที่สูงขึ้นยังช่วยสร้างแรงงานที่สามารถผลิตนวัตกรรมได้เอง ช่วยลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลิตภาพของแรงงานขั้นพื้นฐานได้ด้วย
นอกจากนี้ การศึกษายังมีส่วนช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความเท่าเทียม ทั้งในการออกความเห็นในสังคม การเรียกร้องสิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียมทางเพศ สังเกตได้จากคนรุ่นใหม่ที่กล้าแสดงความคิดเห็นและมีจุดยืนเป็นของตัวเอง
การลงทุนทางการศึกษา เพราะการศึกษา คือ รากฐานสำคัญของชีวิต เมื่อเด็กๆ ได้รับการศึกษาที่ดีตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว ย่อมส่งผลให้ในอนาคตของเขาสามารถพัฒนาตนเองและประเทศชาติได้
ขอบคุณข้อมูล https://www.salika.co/